เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
คู่มือแห่งความหวังในโลกสุดเฮงซวย By Mark Manson
  • รีวิวเว้ย (852) หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าการการเกิดมาบนโลกในช่วงเวลาแบบนี้คือช่วงเวลาสุดเฮงซวย ก็อาจจะจริงเพราะทุกวันนี้โลกก็มีบทเรียนอะไรแปลก ๆ มาให้มนุษย์โลกและสิ่งมีชีวิตในโลกใบนี้ได้รับมือกันแทบจะตลอดเวลา ทั้งโลกร้อน โรคระบาด ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การเมืองโลก เศรษฐกิจโลก และอื่น ๆ อีกมากมาย และเมื่อเราลองขยายภาพแผนที่ให้ลึกขึ้นและมองหาประเทศไทย และซูมดูมันใกล้ ๆ เราจะพบว่า ประเทศไทยในเวลานี้โคตรเฮงซวย โดยเฉพาะรัฐบาลและการรับมือกับโรคระบาด ที่นับวันยิ่งดูเข้าใกล้หายนะคล้ายคนที่ขับรถเหยียบคันเร่งเพื่อพาให้รถพุ่งลงเหวด้วยความเร็วสูง (ไม่ใช่แค่ถอยหลัง) เราอาจจะพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า "ซวยฉิบหาย" ที่เกิดเป็นคนไทยในช่วงเวลาที่มีรัฐบาลบริหารประเทศในสภาวะวิกฤติได้ย่อยยับขนาดนี้ แต่ก็นะ ทุกวันนี้ทำห่าไรแทบไม่ได้นอกจากทำงานของตัวเอง เพื่อเอาชีวิตรอดบนการบริหารสุดห่วยแตก หลายครั้งตั้งแต่มีโรคระบาดโควิด-19 เราคิดเสมอว่า ตั้งแต่วันที่เจอการระบาดครั้งแรกกระทั่งวันนี้ "กูได้รับความช่วยเหลืออะไรจากภาครัฐบาล" ลองคิดดูดี ๆ แล้วพบว่า "ไม่มี" ที่กูยังรอดมาได้จนวันนี้กูช่วยตัวเองล้วน ๆ ยืนขึ้นปรบมือให้ตัวเองและพูดกับตัวเองดัง ๆ ว่า "มึงเก่งมาก" 
    หนังสือ : คู่มือแห่งความหวังในโลกสุดเฮงซวย 
    โดย : Mark Manson
    จำนวน : 263 หน้า
    ราคา : 280 บาท 

    "คู่มือแห่งความหวังในโลกสุดเฮงซวย" ไม่รู้ว่สจะเรียกหนังสือเล่มนี้ว่าภาคต่อจากเล่มก่อนหน้าได้หรือเปล่า เพราะคนเขียนเป็นคนเดียวกัน สำนวนการเขียน การเล่าเรื่องก็คือสำนวนเดียวกันกับเล่มก่อนหน้า แต่อาจจะแตกต่างกันตรงที่เล่มก่อนหน้าบอกให้เรา "ช่างแม่ง" และอย่าสำคัญตัวเองผิดคิดว่าตัวเองสำคัญกับโลกใบนี้มากขนาดนั้น ส่วน "คู่มือแห่งความหวังในโลกสุดเฮงซวย" เล่มนี้ กำลังจะบอกกับเราว่า การอยู่บนโลกเฮงซวยใบนี้ให้รอดเราอาจจะต้องอยู่ด้วย "ความหวัง" 

    แต่สำหรับ "คู่มือแห่งความหวังในโลกสุดเฮงซวย" คำว่า "ความหวัง" ไม่ได้เป็นความหวังในแบบของเหล่ามาเวลฮีโร่ หากแต่เป็นความหวังแบบง่าย ๆ เพียงแค่ "มึงต้องรอด" และต้องหาวิธีอยู่กับความเฮงซวยระยำหมาของโลกกลม ๆ ใบนี้ให้ได้ และด้วยเนื้อหาต่าง ๆ ที่ถูกบอกเล่าใน "คู่มือแห่งความหวังในโลกสุดเฮงซวย" มันช่วยเปิดมุมมองให้กับเราในฐานะผู้อ่านว่า มันมีคนที่มี "ความหวัง" ในแบบแปลก ๆ เพื่อให้ตัวเองมีชีวิตรอดแบบนี้ด้วยหรอวะ อย่างเรื่องราวตอนเปิดเล่มของนายทหารโปแลนด์ที่บุกเข้าไปในค่ายกักกันเอาร์ชวิทซ์ในช่วงแรกที่ชาวโปแลนด์โดนจับเข้าค่ายเพื่อหาวิธีช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติ แต่ให้เผอิญว่าแกดันติดอยู่ในนั้นนานไปหน่อย แต่ก็ให้เผอิญไปอีกว่าแกรอดจากค่ายกักกันมาได้ด้วย "ความหวัง" ถึงแม้นว่าสภาพในค่ายในช่วงเวลา 2 ปีที่แกอยู่ในนั้นทำให้แกอาจจะอยากตายทุกเช้า-เย็น แต่ในท้ายที่สุดแกก็รอดออกมาได้เพื่อตายในภายหลังต่อมาโดยที่ก่อนแกตายแกก็ยังพูดติดตลดว่า "เอาร์ชวิซ์เป็นสนามเด็กเล่นไปเลย" เมื่อเทียบกับสิ่งที่แกกำลังเผชิญ 

    นอกจากนั้นใน "คู่มือแห่งความหวังในโลกสุดเฮงซวย" หลายย่อหน้าย้ำเตือนกับเราว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตามแต่สิ่งที่เราควรจะต้องมีอยู่ตลอดก็คือ "ความหวัง" แต่การมีความหวัง การตั้งความหวัง และการสร้างความหวังในบางห้วงเวลาของชีวิตมันอาจจะต้องอาศัยตัวแปรอื่น ๆ เข้ามาเป็นส่วนร่วมที่สำคัญของการสร้างความหวังขึ้นมา และตัวแปรหนึ่งที่สำคัญก็คือการ "มองโลก" ความหวังของเราจะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ล้วนก็ขึ้นอยู่กับการมองโลกของเราว่าเราจะรับมือหรือปรับตัวอย่างไรเพื่อรับมือกับความเฮงซวยต่าง ๆ เหล่านั้น 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in