เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ปรัชญากัมปนาท (Diapsalmata) By Søren Kierkegaard แปล พยงศักดิ์ เตรียรณสกุล
  • รีวิวเว้ย (849) ในฐานะของนักเรียนรัฐศาสตร์ วิชาที่เราขยาดมากที่สุดในชั้นเรียนสมัยเรียนปริญญาตรี ก็คือวิชาในกลุ่มของ "วิชาปรัชญา" ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาการเมือง ความคิดทางการเมือง ประวัติความคิดทางการเมือง หรืออื่น ๆ ที่มีปรัชญาเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งถ้านับจากจำนวนวิชาที่เจอก็เรียกได้ว่าเกือบทุกวิชามีหลักคิดทางปรัชญาและนักปรัชญาเข้ามาข้อเกี่ยวด้วยเกือบทั้งนั้น ทุกวันนี้ก็ไม่แน่ใจตัวเองว่าเนียนรอดมาได้อย่างไร เพราะสำหรับเราแล้ววิชาปรัชญา เป็นวิชาที่ "ไม่ง่าย" ต่อการทำความเข้าใจ ไม่ง่ายที่จะเรียนรู้และอธิบาย ซึ่งวิชาปรัชญาเองก็เป็นวิชาที่ "ไม่ยาก" ต่อการทำความเข้าใจและไม่ยากที่จะเรียนรู้ ด้วยสภาวะ "ก้ำกึ่ง" ที่ต่อสู้กันภายในตัวของผู้เรียนเองทำให้เราเองก็แทบจะตอบไม่ได้ว่าวิชาปรัชญายากหรือง่าย เข้าใจหรือไม่เข้าใจ และการอธิบายปรัชญานั้น ๆ ออกมาอย่างที่เราอธิบายถ่ายทอดมันใช่หรือไม่ใช่ อาจจะเพราะสภาวะความ "ก้ำกึ่ง" ของวิชาปรัชญาที่มักจะส่งผลไม่ทางใดก็ทางหนึ่งต่อผู้เรียน ทำให้สำหรับเราวิชาปรัชญาเป็นสิ่งที่เราพยายามหลีกเลี่ยงมาตลอด เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าใจหรือไม่เข้าใจ รู้หรือไม่รู้
    หนังสือ : ปรัชญากัมปนาท (Diapsalmata)
    โดย : Søren Kierkegaard แปล พยงศักดิ์ เตรียรณสกุล
    จำนวน : 132 หน้า
    ราคา : 170 บาท

    "ปรัชญากัมปนาท (Diapsalmata)" หนังสือแปลภาษาไทยขนาดสั้นผลงานของ "โซเรน เคียร์เคกอร์ด" นักเขียนและนักปรัชญาชาว เดนมาร์ก ที่ถูกนับให้เป็นต้นสายของงานปรัชญาแบบ "อัตถิภาวนิยมอัตถิภาวนิยม (existentialism)" มาถึงตรงนี้ก็ยากจะอธิบายว่า "อัตถิภาวนิยม" จะหมายถึงอะไร เอาไปว่าขอลอกข้อความที่น่าจะพอขยายความแนวคิดดังกล่าวของ เคียร์เคกอร์ด ที่ว่าไว้ดังนี้ "ปรัชญาเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน ดังนั้นทุกคนจึงควรสร้างปรัชญาของตนเองจากประสบการณ์  ไม่มีความจริงนิรันดร์ให้ยึดเหนี่ยวเป็นสรณะตัวตาย ความจริงที่แท้คือสภาพของมนุษย์ (Human condition)" หากให้สรุปอย่างหยาบที่สุดคงได้ว่า "ประสบการณ์ของปัจเจกแต่ละคน คือจุดเริ่มต้นของบุคคลหนึ่ง"

    "ปรัชญากัมปนาท" นับเป็นงานที่ฉายให้เห็นแนวคิดบางประการผ่านข้อเขียน โดยมีตัวของผู้เขียนเป็นแกนกลางของการบอกเล่าและการศึกษา ทั้งเรื่องของมุมมอง ประสบการณ์ ความเห็น ความคิด และความรู้สึก ข้อเขียนแต่ละส่วนที่ปรากฎใน "ปรัชญากัมปนาท" คล้ายกับเป็นการสะท้อนให้เราเห็นภาพความคิดบางประการของผู้เขียน หรือความคิดบางประการของสังคม/ชุมชน ที่ผู้เสียสังกัดอยู่หรือเคยผ่านพบมาในช่วงชีวิตหนึ่ง อาจจะเรียกได้ว่า "ปรัชญากัมปนาท" เป็นหนึ่งในหนังสือที่ยากลำบางต่อการรีวิวมากที่สุดเล่มหนึ่งจากหนังสือ 800 กว่าเล่มที่เคยรีวิวมาก่อนหน้า ถึงขั้นที่ต้องแนบบทความในวารสารวิชาการที่เขียนถึง Søren Kierkegaard มาสำหรับให้ผู้อ่านอ่านประกอบ ไม่ใช่แค่อ่านประกอบการอ่านรีวิว หากแต่เมื่ออ่าน "ปรัชญากัมปนาท" จบลง การอ่านบทความ "Søren Aabye Kierkegaard’s Concept of Subjectivity" ต่อกันกับหนังสือ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/148243/109203 อาจจะช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพร่างบางประการของ "ปรัชญากัมปนาท" ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in