รีวิวเว้ย (805) การถูกครูเรียกให้ออกไปพูดหนเาชั้นเรียน มันอาจจะสร้างคนออกมาได้ 2 แบบ แบบแรก คือ คนที่ค้นพบกว่า "ก็พูดได้นิหว่า" และหลังจากนั้นเขาก็ทำให้เรื่องของการพูดในที่สาธารณะกลายมาเป็นเรื่องง่ายของตัวเอง ฝึกฝน ตั้งใจ และเก็บเกี่ยวเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อเอาไว้บอกเล่าต่อในที่สาธารณะและตามแต่โอกาสที่พวกเขาจะได้รับ แต่แน่นอนว่าในปฏิเสธไม่ได้ว่าการออกไปพูดหน้าห้องเรียน มันก็อาจจะสร้าง "บาดแผล" ในความทรงจองของเด็กหรือของใครอีกหลายคน โดยเฉพาะเมื่อการออกไปพูดหน้าห้องครั้งแรก ถูกต้อนรับและตอบรับด้วยเสียงหัวเราะและคำเย้ยหยัน ซึ่งตอนนั้นคนที่หัวเราะเขาอาจจะไม่รู้หรอกว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่ดีและไม่สมควร แต่หลายครั้งครูก็ผสมโรงหัวเราะและเย้ยหยันนักเรียนของตัวเองด้วยเช่นกัน (น่าเอาไม้ฟาดปากจริง ๆ) เมื่อเป็นเช่นนั้น "การพูดในที่สาธารณะ" สำหรับบางคนอาจจะเป็นเรื่องง่าย และสำหรับบางคนมันอาจจะยากเสียยิ่งกว่าการให้คำนวนหาวงโคจรของดาวเสาร์ในคาบโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก โดยเฉพาะเมื่อความทจำในการพูดครั้งแรกถูกตอบรับด้วยเสียหัวเราะและการเยาะเย้ย (อาจจะด้วยความไม่ตั้งใจ)
หนังสือ : คู่มือการพูดในที่สาธารณะสำหรับคนรุ่นใหม่
โดย : แปล พิริยะ กุลกาญจนาชีวิน
จำนวน : 176 หน้า
ราคา : 240 บาท
"คู่มือการพูดในที่สาธารณะสำหรับคนรุ่นใหม่" หนังสือแปลที่ว่าด้วยเรื่องราวของ "การพูดในที่สาธารณะ" ที่เขียนขึ้นโดยหลุ่มคนที่อาจจะเรียกได้ว่า "พูดในที่สาธารณะมาแล้วทั่วโลก" ผ่านเวทีสาธารณะอย่าง TED Talk และเนื้อหาใน "คู่มือการพูดในที่สาธารณะสำหรับคนรุ่นใหม่" ก็คือการรวบรวมเอาเทคนิควิธีเพื่อใช้ในการส่งเสริมและสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเนื้อหา วิธีการ ลำดับขั้นตอน ที่เกี่ยวข้องกับการพูดในที่สาธารณะจากเหล่าบรรดาบุคคลที่เคยผ่านเวทีของ TED Talk มารวบรวมเอาไว้ให้ผู้อ่านได้ลองทำความเข้าใจ และเก็บเอาเทคนิคเหล่านั้นไปฝึกฝนและพัฒนาทักษะการพูดของตัวเองต่อไปในภายหน้า
"คู่มือการพูดในที่สาธารณะสำหรับคนรุ่นใหม่" แสดงให้เราเห็นความจริงข้อหนึ่งว่า "การพูด" คือ "ทักษ" เมื่อเราเข้าใจในประเด็นเรื่องของการเป็นทักษะของการพูดแล้ว เราจะยิ่งเข้าความจริงอีดข้อหนึ่งว่า "ทักษะ" สามารถ "ฝึกฝน" ให้มันมีประสิทธิภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ในอนาคต อาจจะผ่านการใช้งานบ่อย ๆ สะสมเรื่องรางเยอะ ๆ หรือแม้กระทั่งผ่านการบอกเล่าในชีวิตประจำวัน หากแต่เมื่อลองเอาเทคนิคต่างใน "คู่มือการพูดในที่สาธารณะสำหรับคนรุ่นใหม่" มาจับเข้ากับการกระทำในชีวิตประจำวัน บางครั้งมันอาจจะเป็นการฝึกฝนทักษะการพูดในที่สาธารณะให้กับผู้พูดได้เป็นอย่างดี บางครั้งอาจจะดีเสียจนเราไม่รู้ตัวว่าเราก็พูดในที่สาธารณะได้เหมือนกัน และมันไม่ใช่เรื่องของ "พรสวรรค์" หากแต่เป็นการฝึกฝนให้ชำนาญ และสะสมคลังข้อมูลให้มากขึ้นเพื่อการเตรียมพร้อมในการหยิบเอาข้อมูลชุดต่าง ๆ มาสร้างบทสนทนาที่ลื่นไหลและน่าสนใจให้คนฟังได้ติดตาม
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in