เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ไม่สู้ก็อยู่อย่างครู By กั๊ก ปิ่นเกล้า
  • รีวิวเว้ย (803) การศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะระบบการศึกษาในโรงเรียนไทย ถูกออกแบบมาให้สอนให้ผู้เรียน "เชื่อง" มากกว่าที่จะสอนให้พวกเขาคิดเป็น หากเรามองจากมุมมองนี้และอาศัยการเทียบเคียง มันอาจจะแปลความออกมาจากอีกมุมหนึ่งได้ว่า "หรือเพราะว่าผู้สอน (ครู) เองก็เชื่อง" ต่อระบบ ระเบียบ และการบริหารงาน ที่กลายมาเป็นกรอบ ข้อบังคับ ขีดจำกัด กฎเกณฑ์ ที่ในท้ายที่สุดแล้วมันก็ทำให้ครู "ต้องเชื่อ" และเชื่อต่อระบบ ทำตามโดยไม่ตั้งคำถาม ใครที่ตั้งคำถามคือตัวประหลาด แปลกแยก และกลายเป็นส่วนเกินของสังคมแห่งความเชื่องเชื่อแห่งนั้นไปในท้ายที่สุด แน่นอนว่าในเมื่อเริ่มต้นจากการที่คูร "เชื่องต่อระบบ" เสียแล้วตั้งแต่ต้น คำพูดที่เรายกมาเป็นบทเปิดว่า "ระบบการศึกษาไทยสอนให้คนเชื่อง" ก็คงไม่แปลก และไม่ผิดแต่ประการใด ก็ในเมื่อผู้สอนเองยังเชื่องต่อระบบและไม่กล้าแม้แต่จะเริ่มตั้งคำถาม ผลรวมสุดท้ายเราก็จะได้ผลผลิตของความ "เชื่อง" เหมือน ๆ กันไปทั้งสังคม ไม่ต่างอะไรจากการซื้อของเหมาโหลจากโรงที่ให้บังเอิญว่าโรงงานนั้นมาตรฐานดันเป็น "มาตรฐานแบบไทย ๆ"
    หนังสือ : ไม่สู้ก็อยู่อย่างครู
    โดย : กั๊ก ปิ่นเกล้า
    จำนวน : 228 หน้า
    ราคา : 235 บาท

    "ไม่สู้ก็อยู่อย่างครู" หนังสือของ "ครู" ที่ไม่ยอมเชื่อง และเชื่อให้กับระบบการศึกษาของรัฐไทย ทั้งที่จริง ๆ แล้วระบบนี้สืบทอดกันมาหลายร้อยปี อาจจะเรียกว่าตั้งแต่แรกตั้งกระทรวง "ธรรมการ" ก่อนจะยกฐานะมาเป็นกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันก็คงจะได้ "ไม่สู้ก็อยู่อย่างครู" คือหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของการ "ต่อสู้" ของครูธรรมดา ๆ คนหนึ่งที่กล้าลุกขึ้นมาท้าทายความ "ปกติ" ของสังคมการศึกษาของรัฐไทย ที่หลายครั้งอะไรหลาย ๆ อย่างมันดูผิดรูปมาเนิ่นนาน แต่ก็ไม่มีใครกล้าลุกขึ้นมาตั้งคำถาม

    "ไม่สู้ก็อยู่อย่างครู" บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของ "ครู" ผู้หาญกล้าท้าทายต่อความปกติของระบบการศึกษาของรัฐไทยต้องเผชิญ ว่าการเลือกเดินบนถนนของการเป็นครูที่ท้าทายความปกติสุขนั้น หลายครั้งความสุขในชีวิตและในที่ทำงานก็ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องยาก หรือสิ่งหายากหากสถานที่แห่งนั้นเทิดทูลความปกติแบบ "ความสงบ" เพราะคนที่ทำให้สังคมที่เคยปกติและสงบ ถูกท้าทายและตั้งคำถามโดยส่วนมากมักจะต้องเผชิญโชคชะตาที่อาจจะเรียกเป็นภาษาปากได้ว่า "จบไม่ค่อยดีนัก" ซึ่งตัวอย่างในลักษณะนี้ แปลกที่ในรัฐไทยมีเยอะแยะมากมายเต็มไปหมด อาทิ สืบ นาคะเสถียร, บุญสนอง บุญโยทยาน หรืออย่าง วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ คนเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับผู้เขียนที่หาญกล้าท้าทายต่อความปกติและความสงบ (จอมปลอม) ของรัฐไทย แต่เราก็หมายใจว่าในทุกวันนี้คนที่ออกมาตั้งคำถามพึงมีสิทธิที่จะกระทำ และหากมันท้าทายเพื่อเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น สิ่งนั้นก็พึงกระทำและได้รับการส่งเสริม

    "ไม่สู้ก็อยู่อย่างครู" คือหนังสือที่เดินมาตบบ่าของเราในวันที่อาจจะกำลังท้อกับระบบ หรือสิ้นหวังกับประเทศนี้และบอกเราว่า "เห้ยมึงอย่ายอมแพ้ดิ มันเปลี่ยนแปลงได้จริง ๆ" และ "กุ๊กกั๊ก ปิ่นเกล่า" ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วจากบางด้านบางมุมของระบบการศึกษาของรัฐไทยว่า "มันเปลี่ยนแปลงได้" และมัมมีวิธีการของการเปลี่ยนแปลงด้วย หากแต่มันอาจจะต้องอาศัยทั้งกำลังใจ และกำลังกายในการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง อาจจะต้องใช้เวลาไปบ้างแต่แน่นอนว่าในวันหนึ่งข้างหน้ามันจะมาถึง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in