เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เรื่องใต้บรรทัด By พิริยะดิศ มานิตย์
  • รีวิวเว้ย (791) "ซีคมุนท์ ฟร็อยท์" แพทย์ชาวออสเตรียผู้เป็นเจ้าของ "ทฤษฎีจิตวิเคราะห์" ที่ว่าด้วยเรื่องของการศึกษาในเรื่องของจิตใจ ผ่านการศึกษาทั้งเรื่องของแนวทางจิตวิเคราะห์ ความฝัน จิตไร้สำนัก ลิบิโด้ (ความต้องการทางเพศ) อิด อัตตา และอภิอัตา ซึ่งแนวคิดต่าง ๆ ของฟร็อยท์ล้วนถูกจัดกลุ่มเรียกเอาไว้ในนามของ "ทฤษฎีจิตวิเคราะห์" หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในการวิเคราะห์ตัวตนของบุคคลที่เหนือขึ้นไปกว่าการวิเคราะห์และวินิจฉัยทางการแพทย์แบบปกติ ด้วยการอาศัยการวิเคราะห์สภาวะของจิตใจของบุคคล ผ่านภูมิหลัง เหตุการณ์ ความทรงจำ สิ่งที่เคยเผชิญ และอื่น ๆ ประกอบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาและการรักษา ในห้องเรียนวิชารัฐศาสตร์ ที่ธรรมศาสตร์ สมัยที่เราเรียนปริญญาตรี "ทฤษฎีจิตวิเคราะห์" ของฟร็อยท์ถูกนำมาใช้อยู่บ่อยครั้งในการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวิเคราะห์งานเขียน อ่านความหมายระหว่างบรรทัดของผู้เขียน หรือกระทั่งเพื่อใช้ศึกษาผู้นำหรือบุคคลทางการเมือง และนอกเหนือไปจากห้องเรียนของวิชารัฐศาสตร์แล้ว "ทฤษฎีจิตวิเคราะห์" ของฟร็อยท์ยังปรากฎอยู่ใยอีกหลายที่ หลากการศึกษา ถึงแม้ว่าในยุคหลัง "ทฤษฎีจิตวิเคราะห์" จะถูกท้าทายทางความคิดจากทฤษฎีใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น แต่ในบางครั้ง "ทฤษฎีจิตวิเคราะห์" ก็ยังสามารถหยิบมาใช้ในการอธิบายปรากฎการณ์บางอย่างได้อยู่ และเมื่อใช้ประกอบกับทฤษฎีใหม่ ๆ ด้วยแล้ว มันยิ่งช่วยให้เรามองเห็นเรื่องที่เรากำลังมองมันผ่ายทฤษฎีจากหลายมุม หลากมิติการมองมากยิ่งขึ้น
    หนังสือ : เรื่องใต้บรรทัด
    โดย : พิริยะดิศ มานิตย์
    จำนวน : 264 หน้า
    ราคา : 300 บาท

    "เรื่องใต้บรรทัด" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการตีความ "ศิลปะ" และ"วรรณกรรม" ฝรั่งเศสผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์ ที่นำมาใช้เป็นแนวคิดหลักของการอ่านงานศิลปะและวรรณกรรมที่ถูกหยิบเลือกขึ้นมาในหนังสือเล่มนี้ เพื่อใช้ในการมองต่อชิ้นงานทั้งงานศิลปะ วรรณกรรม จากมุมมองที่ให้มิติมากกว่าการอ่านตัวบท หรือเสพงานศิลป์แบบดูด้วยตาและอ่านด้วยตา

    การอ่านงานวรรณกรรม และเสพงานศิลป์ผ่านมุมมองของแนวคิดจิตวิเคราะห์ของ "เรื่องใต้บรรทัด" ช่วยให้เรามองเห็นบางมิติที่เราเองไม่เคยคาดคิดมาก่อน อาทิ การมองวรรณกรรมอย่าง Puss in Boots ผ่านมิติทางเพศทั้งเรื่องของภาพแทนของความเป็นหญิง ความเป็นชาย และความสำเร็จของเพศชายผ่านการกระทำบางอย่างของแมวและลูกชายคนสุดท้ายในวรรณกรรมดังกล่าว

    ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วด้วยความที่เราในฐานะของคนที่อ่านวรรณกรรมในระดับน้อย ถึงน้อยมาก ทำให้หลายเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใน "เรื่องใต้บรรทัด" เพื่อใช้อธิบายผ่านแนวคิดจิตวิเคราะห์นั้น เราเองอาจจะไม่ได้เข้าใจมันมาตั้งแต่ต้น หากแต่ถ้าเรามีพื้นความรู้ในเรื่องของวรรณกรรมที่ถูกกล่าวถึงใน "เรื่องใต้บรรทัด" มาบ้างก็อาจจะช่วยให้เราอ่านบางบทของหนังสือได้สนุกยิ่งขึ้น เพราะดูได้จากในบทไหนที่เราคุ้นเคย หรือเคยอ่านผลงานชิ้นนั้น ๆ มาบ้าง เราจะเข้าใจมันได้ดีมากขึ้นในระดับหนึ่ง และมันยิ่งช่วยให้เรามองเห็นมิติที่แตกต่างออกไปจากมุมมองเดิมที่เราเคยมองและเคยอ่านมันในครั้งแรก

    หากในแนะนำสำหรับใครที่จะลองหา "เรื่องใต้บรรทัด" มาอ่าน อาจจะต้องลองหาวรรณกรรมและผลงานบางชิ้นที่ปรากฎอยู่ในหนังสือเล่มนี้มาอ่านควบคู่ไปพร้อมกันด้วย มันอาจจะช่วยให้การอ่าน "เรื่องใต้บรรทัด" สนุกและมีมิติมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in