รีวิวเว้ย (776) สมัยเรียนปริญญาตรีที่คณะรัฐศาสตร์ อาจารย์ท่านหนึ่งได้พูดถึงเรื่องของนักคิดที่ชื่อว่า "โรลองด์ บาร์ธส์ (Roland Barthes) และพูดถึงเรื่องแนวคิดหนึ่งของเขานั่นก็คือแนวคิดเรื่อง "มรณกรรมของผู้แต่ง" ภายใต้แนวคิดเรื่องของมรณกรรมของผู้แต่งและการนั่งเรียนวิชานี้ในสมัยปริญญาตรี หลังเรียนจบเราเกือบจะพบว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดของนักคิดอีกคนอย่าง Socrates ที่มีคำพูดติดปากของนักเรียนรัฐศาสตร์ที่เรียนวิชาแนวคิดทางการเมืองว่า "I know that I know nothing" ซึ่งเราก็อาศัยแนวคิดนี้ในการอธิบายเนื้อหาของวิชาเรียนอีกหลาย ๆ วิชาที่เรียนผ่านมา
การที่เราจะหาญกล้าอธิบายในสิ่งที่เราไม่เข้าใจมันก็ดูจะเป็นเรื่องที่แปลกจนเกินไป โดยเฉพาะเมื่อต้อวมาอธิบายแนวคิดเรื่องของ "มรณกรรมของผู้แต่ง" ยิ่งแล้วเข้าไปใหญ่ แต่เราคิดว่าแนวคิดดังกล่าวน่าจะนำมาใช้อธิบายงายเขียนทั้งที่เป็นตักอักษร หรือไม่เป็นตัวอักษรได้อย่างดี โดยเฉพาะเรื่องของการเปิดกว้างและตัดขาดบริบทของตัวผู้แต่งออกจากชิ้นงาน ยิ่งสร้างประเด็นให้ผู้อ่านหรือผู้เสพงาน (ไม่ใช่เสพแป้ง) ได้ขบคิดกับงายชิ้นต่าง ๆ ยิ่งขึ้นผ่านภูมิหลังที่ตัวผู้อ่านถือครอง เราอยากจะยกเอาท่อนหนึ่งของข้อเขียน หากใครอยากรู้เรื่องแนวคิด "มรณกรรมของผู้แต่ง" เพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ https://www.sm-thaipublishing.com/content/7577/roland-barthes-death-of-author
หนังสือ : PASSING THROUGH MY MIND
โดย : คัจฉกุล แก้วเกต
จำนวน : 144 หน้า
ราคา : 195 บาท
"PASSING THROUGH MY MIND" เราจะเรียกหนังสือเล่มนี้ว่าอะไรดี หนังสือภาพ หนังสือการ์ตูน หนังสือรวมภาพ และอื่น ๆ เราอาจจะไม่สามารถนิยามหนังสือเล่มนี้ได้ว่าจะเรียกมันว่าอะไร เพราะเอาเข้าจริงสำหรับแต่ละคนที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ก็อาจจะเรียกหรือกำหนดนิยามของมันแตกต่างกันออกไปแล้วแต่บุคคล
"PASSING THROUGH MY MIND" บอกเล่าสารบางอย่างผ่านข้อความและภาพวาด โดยที่เนื้อหาต่าง ๆ ในแต่ละหน้าของหนังสือเปิดโอกาสให้กับผู้อ่านสามารถขบคิด ตีความ และถือครองความคิดบางประการของผู้อ่านเองได้ และภาพแต่ละภาพ หรือข้อความในแต่ละหน้าก็จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้อ่านได้ไม่เท่ากัน บางภาพอาจจะส่งผลกับบางคน แต่ภาพเดียวกันก็อาจจะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อใครอีกคนเลย ไม่น่าแปลกใจที่ในหน้าของคำนำสำนักพิมพ์จะมีข้อความท่อนหนึ่งเขียนเอาไว้คล้ายว่า "บางเรื่องในหนังสือเล่มนี้ เมื่อภึงเวลาเราอาจจะเข้าใจมันได้มากขึ้น" ย้ำว่า "เมื่อถึงเวลา" เราอาจจะเข้าใจบางเรื่องได้มากขึ้นกว่าเดิม แต่ในขณะเดียวกันบางครั้งเมื่อถึงเวลานั้นเราอาจจะเข้าใจบางเรื่องเปลี่ยนไปแล้วก็ได้ ใครจะรู้เพราะอย่างไรเสียมันก็ "PASSING THROUGH MY MIND" นิเนอะ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in