รีวิวเว้ย (253) "การปกครองท้องถิ่น" ถือได้ว่าเป็นรูปแบบของระบบการบริหารจัดการพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง อีกทั้งการปกครองท้องถิ่น ยังทำหน้าที่เป็นคู่มือและเครื่องมือ ให้กับกระบวนการเรียนรู้ของประชาชน ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร กลไกอำนาจรัฐ หนือแม้กระทั่งให้ปรัชาชนได้เรียนรู้ถึงความเป็นประชาธิปไตย ที่สามารถขับเคลื่อนระบอบประชาธิปไตยได้โดยพลเมือง
หนังสือ : ฐานรากการปกครองท้องถิ่น
โดย : อลงกรณ์ อรรคแสง
จำนวน : 291 หน้า
ราคา : 230 บาท
หลายครั้งหลายหน เรามักจะได้ยินใครต่อใครพูดถึงการปกครอง ท้องถิ่น ท้องที่ ด้วยถ้อยคำแกมเหน็บแนมว่า หน่วยงานเหล่านี้ คือ หน่วยงานของผู้แสวงหาผลประโยชน์เข้าตนเอง จนตัวย่ออย่าง อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) ,อบจ. (องค์การบริหารส่วนจังหวัด) ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นคำย่อ ของคำที่มีความหมายสอดรับกับแนวความคิดของคนกลุ่มนั้น ๆ อย่าง อบต. ถูกเปลี่ยนความหมายไปเป็น "อมทุกบาททุกสตางค์" ,อบจ. ถูกเปลี่ยนไปเป็น "อาจบาดเจ็บถึงตาย" คำและความเหล่านี้ล้วนเป็นการสะท้อนทัศนคติที่คนกลุ่มนี้มีต่อรูปแบบของการบริหารและการปกครองโดยท้องถิ่น
นอกจากทัศนคติของความและคำ ดังที่กล่าวไปก่อนหน้าแล้ว ทัศนคติในเรื่องของผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเบือกตั้งโดยตรง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่คนไทยได้รู้จักกับการเลือกตั้งท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ เราได้มีโอกาสเห็นทัศนคติของการหวงแหนอำนาจ และการเหยียดบุคคลอื่น ผ่านมุมมองและแนวคิดของคนหลายกลุ่มในสังคมที่ผูกโยงอยู่กับแนวคิดของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เช่น เมื่อหล่ยปีก่อนที่มีข่าวเรื่องของการจะโอนย้ายโรงเรียน ให้อยู่ภายใต้สังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อต่อสู่หนึ่งที่ครูใรหลายโรงเรียนหยิบยกขึ้นมาใช้ในการต่อสู่คือ "พวกเขาจะไม่ยอมย้ายไปอยู่ใต้สังกัดของผู้นำท้องถิ่นที่ไม่มีความรู้ (ไม่จบปริญญา)" และยังมีอีกหลายทัศนคติและหลากวิธีคิดที่ทั้งคนและหน่วยงานของรัฐส่วนกลางมองว่าท้องถิ่น คือ "ส่วนเกินของระบบการปกครอง" อย่างกรณีของการโอนย้ายสุขศาลาหรืออนามัยให้เป็นของท้องถิ่น ก็เป็นอีกหนึ่งกรณีตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของหลายคนที่มอง "ท้องถิ่น"
เอาเข้าจริงปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ น่าจะเกิดขึ้นมาจากปัจจัยสนับสนุนไม่กี่อย่างที่อาจจะเป็นไปได้ คือ (1) หน่วยงานเจ้าของอำนาจเดินหวงอำนาจไม่อยากกระจากอำนาจของตนมห้ท้องถิ่น (2) หน่วยงานเจ้าของอำนาจเดิมกลัวว่าท้องถิ่นจะไม่มีศักยภาพมากพอที่จะจัดทำบริการ หรือดำเนินโครงการต่าง ๆ ได้ และ (3) หลายคนยังขาดองค์ความรู้และความเข้าใจในเรื่องของกลไกท้องถิ่น รวมไปถึงขาดการมองเห็นความสำคัญของการกระจากอำนาจสู่ท้องถิ่น
ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ก็ต้องค่อย ๆ แก้ไขกันต่อไปเพื่อส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ในอนาคตท้องถิ่นสามารถดำเนินโครงการต่าง ๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ กลไกสำคัญประการหนึ่งที่จะผลักดันให้ท้องถิ่นสามารถดำเนินงานได้อย่างเข้มแข็งและสามารถลบทัศนคติที่หลายคนมีต่อท้องถิ่นได้ น่าจะต้องมุ่งเน้นการเริ่มต้นไปที่เรื่องของการสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ให้หลาย ๆ คนเข้าใจในท้องถิ่น และสร้างพื้นฐานทางความรู้เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนคตอันใกล้
หนังสือ "ฐานรากการปกครองท้องถิ่น" ของ ผศ.ดร. อลงกรณ์ อรรคแสง จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม น่าจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือและคู่มือสำหรับการสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจให้กับผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
"ฐานรากการปกครองท้องถิ่น" ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการสร้างฐานรากของความรู้ในเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หนังสือ "ฐานรากการปกครองท้องถิ่น" นอกจากจะพูดถึงเรื่องของกลไกท้องถิ่นแล้วหนังสือเล่มนี้ยังชักชวนให้เราตั้งคำถามถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเคยพบเจอและต้องพบเจอ รวมถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับท้องถิ่นในอนาคต
หนังสือ "ฐานรากการปกครองท้องถิ่น" นอกจากจะพูดถึงองค์ความรู้และเรื่องต่าง ๆ ของท้องถิ่นได้อย่างทรงประสิทธิภาพ ตามชื่อของหนังสือที่มุ่งเน้นไปที่การศึกษา "ฐานราก" แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ "ฐานรากการปกครองท้องถิ่น" เน้นย้ำให้เราเข้าใจ คือ เรื่องขององค์ความรู้ หากเราจะทำความเข้าและเรียนรู้ถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว เราควรเข้าใจเรื่องนั้นจากฐานรากที่มั่นคง ก็คล้ายกับอาคารที่เมื่อฐานรากมั่นคง เราจะสร้างอาคารให้สูงจรดฟ้าสักกี่ชั้นก็มิใช่ปัญหา
ดังนั้นหากเราอยากเข้าใจท้องถิ่น ในบริบทที่ครอบคลุมและกว้างขวางแล้วนั้น ฐานรากของการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ หนังสือ "ฐานรากการปกครองท้องถิ่น" จึงควรค่าแก่การศึกษาของผู้สนใจท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in