เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
จุดจบความขัดแย้ง By นพพร โพธิรังสิยากร
  • รีวิวเว้ย (745) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ × วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า

    ความรุนแรงโดยส่วนใหญ่ของทั้งสังคมไทยเอง หรือในสังคมอื่น ๆ ก็ดีล้วนเดิดขึ้นจากจุดเริ่มต้นอย่าง "ความขัดแย้ง" ระหว่างบุคคลต่อบุคคล กลุ่มคนต่อกลุ่มคน หรือประเทศต่อประเทศ ซึ่งปัญหาของความขัดแย้งเหล่านั้นในท้ายที่สุดได้บานปลายจนก้าวข้ามขอบเขตของคำว่าความขัดแย้งไปสู่การใช้กำลังและความรุนแรง ที่ในท้ายที่สุดอาจจะนำพาไปสู่ "สงคราม" ระหว่างกัน ที่ทั้งหมดทั้งมวลนับเป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งที่ในบางครั้งมันสามารถยุติลงได้ด้วยการเจรจาพูดคุย และสร้างข้อตกลงร่สมกันในการหาทางออกจากปัญหาคสามขัดแย้งดังกล่าว แต่ก็อีกนั้นแหละเมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายในสมการของความขัดแย้งไม่ยอมพูดคุยเจรจา หรือไม่ยอมที่จะเห็นอกเห็นใจระหว่างกันในท้ายที่สุดความขัดแย้งจะนำพาไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายอย่าง "ความรุนแรง" เสมอ แต่จะไม่เป็นการดีกว่าหรือที่ความขัดแย้งต่าง ๆ สามารถถูกจัดการได้ตั้งแต่ในขั้นต้น ที่อยู่ในขั้นตอนของการเจรจา
    หนังสือ : จุดจบความขัดแย้ง: คู่มือไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำหรับผู้นำท้องถิ่น
    โดย : นพพร โพธิรังสิยากร
    จำนวน : 216 หน้า
    ราคา : 75 บาท

    หนังสือ "จุดจบความขัดแย้ง: คู่มือไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำหรับผู้นำท้องถิ่น" ถูกเขียนขึ้นในฐานะของคู่มือในการจัดการความขัดแย้งในชุมชนท้องถิ่น ที่อาศัยเนื้อหา วิธีการ และรูปแบบกิจกรรมของการจัดการความขัดแย้งจาก "พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2562" โดยที่มีการนำเอานิยาม ความหมาย และเนื้อหาของการจัดการความขัดแย้งผ่านรูปแบบของการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ที่มีการออกแบบให้ผู้นำท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นตัวแสดงหลักในการจัดการข้อขัดแย้งในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตน

    โดยที่เนื้อหาใน "จุดจบความขัดแย้ง: คู่มือไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำหรับผู้นำท้องถิ่น" จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของผู้ไกล่กลี่ยความขัดแย้ง และรูปแบบขั้นตอนของการดำเนินการในการจัดการความขัดแย้งในท้องถิ่นผ่านวิธีการไกล่เกลี่ย เพื่อยุติปัญหาหรือทำให้ความรุนแรงของปัญหานั้น ๆ ทุเลาลง และสามารถหาทางออกของปัญหาได้ร่วมกันในขั้นตอนสุดท้ายของการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งต่าง ๆ ในชุมชนท้องถิ่น


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in