รีวิวเว้ย (743) สแกนดิเนเวียดินแเนในฝันของใครหลาย ๆ คน เพราะเมื่อพูดถึงคำว่า "สแกนดิเนเวีย" ทุกคนจะคิดถึงกลุ่มของประเทศที่ผู้คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตดีสูงติดอันดับโลก คิดถึงประเทศที่อากาศดี เมืองน่าอยู่และออกแบบมาเพื่อทุกคน ระบบการบริหารจัดการที่ดีและเป็นระบบ สังคมที่เป็นประชาธิปไตย และเรื่องที่สำคัญที่สุกที่หลาบคนมักจะคิดถึงเมื่อพูดถึงสแกนดิเนเวียคือเรื่องของ "รัฐสวัสดิการ" ที่นับเป็นกลไกเชิงสังคมรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนในกลุ่มประเทศดังกล่าวสามารถมีชีวิตที่ดีในช่วงที่อายุเยอะขึ้นในภายภาคหน้า เมื่อพูดถึงประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียมันจะประกอบไปด้วย 3 ประเทศ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน และหลายครั้งเราก็นับรวมประเทศในกลุ่มนอร์ดิกเข้ามาเป็นประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียด้วยในบางครั้งและในบางคน
หนังสือ : ประวัติศาสตร์สแกนดิเนเวีย
โดย : ปรีดี หงษ์สต้น
จำนวน : 296 หน้า
ราคา : 275 บาท
"ประวัติศาสตร์สแกนดิเนเวีย" หนังสือที่จะพาเราไปทำความรู้จักกับสแกนดิเนเวีนผ่านประวัติศาสตร์ ที่เริ่มตั้งแต่ช่วงยุคไวกิ้ง (ค.ศ. 500) กระทั่งถึงโลกในยุคปัจจุบันของประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1980 กระทั่งปัจจุบัน
โดยที่การบอกเล่าของหนังสือ "ประวัติศาสตร์สแกนดิเนเวีย" คือการบอกเล่าเรื่องราวของสแกนดิเนเวียผ่านช่วงเวลาของยุคสมัยและความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย โดยที่ประเทศหลัก ๆ ที่จะถูกพูดถึงบ่อยครั้งใน "ประวัติศาสตร์สแกนดิเนเวีย" ก็คือประเทศเดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดน หรือก็คือ 3 ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียนั่นเอง และใน "ประวัติศาสตร์สแกนดิเนเวีย" ก็ยังคงมีการพูดถึงประเทศในกลุ่มนอร์ดิกด้วยเช่นกัน เพราะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ตั้งแต่ครั้งอดีตมา มันส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มต่าง ๆ กระทั่งก่อนการพัฒนามาเป็นประเทศเสียอีก
ภายหลังจากอ่าน "ประวัติศาสตร์สแกนดิเนเวีย" มันช่วยให้เราเข้าใจคำว่า "สแกนดิเนเวีย" มากขึ้นไปอีก ไม่ใช่เพียงคิดถึงเรื่องของดัชนีความสุข รัฐสวัสดิการ ระบบการศึกษา และอื่น ๆ ที่ดีที่สุดในโลก หากแต่ "ประวัติศาสตร์สแกนดิเนเวีย" ช่วยให้เรามองเห็นภาพบางภาพที่อาจจะขาดหายไปจากความรับรู้ของเราเมื่อพูดถึงสแกนดิเนเวีย โดยเฉพาะภาพของความสัมพันธ์แบบ Love–hate relationship ที่หลายครั้งเราเองก็อาจจะไม่คาดคิดว่ากลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียและรวมไปถึงกลุ่มประเทศนอร์ดิก จะมีฐานของความสัมพันธ์ในบางด้านวางตัวอยู่บนความสัมพันธ์แบบ Love–hate relationship
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in