เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย By ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
  • รีวิวเว้ย (726) ในห้องเรียนวิชารัฐศาสตร์ วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของ "ความคิดทางการเมือง" โดยส่วนใหญ่เนื้อหาและนักคิดที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ในรายวิชา จะเป็นนักคิดจากตะวันตกเสียมาก ตะวันออกจะมีอยู่บ้างแต่ก็น้อย ซึ่งในหลายครั้งเวลานั่งเรียนในห้องเรามักจะมองไม่เห็นบริบทของคสามคิดทางการเมืองที่มันจะสา ารถหยิบเอามาเชื่อมโยงกับการเมืองไทยได้ และถ้าเชื่อมโยงได้ก็จะต้องอาศักการต่อจุดจากหลาย ๆ มุมหลายด้านเข้าหากันเพื่อเชื่อมโยงมันกลับเข้ามาหาความคิดทางการเมืองของไทย ในหลายครั้งบริบทบางแบบที่เกิดในสังคมไทย มันก็อาจจะไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนมากนัก หรือถ้าจะให้เห็นภาพชัดก็อาจจะต้องิาศัยการทำความเข้าใจและตกผลักแนวความคิดต่าง ๆ เหล่านั้นพอสมควร แน่นอนว่าในหลายครั้งมันเกิดจากการที่ตัวผู้เขียนขาดความเข้าใจในบางบริบทที่สำคัญ ที่อาจจะส่งผลโดยตรงต่อการทำความเข้าใจความคิดทางการเมืองดังกล่าวได้
    หนังสือ : ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย
    โดย : ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
    จำนวน : 504 หน้า
    ราคา : 450 บาท

    หนังสือ "ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย" คือความพยายามในการอ่านและตีความแนวคิดของบุคคลที่ส่งผลสำคัญต่อเมืองไทยและการเมืองไทยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจากสังคมสยามเก่า สู่ไทยใหม่ โดยการหยิบยกเอาแนวความคิดของนักคิด นักเขียน ปัญญาชน จากสยามถึงไทย มากางออกและทำความเข้าใจความคิดและแนวคิดของบุคคลเหล่านั้นว่ามันมีความเป็นมา และมีความเป็นไปอย่างใด

    ซึ่งในหลายช่วงเวลาที่ผ่านมาของประวัติศาสตร์จากสยามถึงไทย มันได้แสดงให้เห็นแล้วว่า "ความคิดทางการเมืองไทย" มีพลวัตรที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง และเบื้องหลังของพลวัตรของความคิดทางการเมืองเหล่านั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นักคิด นักเขียน ปัญญาชา ชนชั้นนำ เข้ามามีส่วนเกี่ยวโยงในการสร้างหรือกำกับความคิดทางการเมืองเหล่านั้นอยู่เสมอ

    ในการนี้เอง "ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย" พาเรากลับไปย้อนทำความเข้าใจเหล่านักคิด นักเขียน ปัญญาชน คนชั้นนำอีกครั้งหนึ่ง ว่าในท้ายที่สุดแล้วครเหล่านี้ทิ้งมรดกของความคิดทางการเมืองไทยเอาไว้แบบใด และความคิดเหล่านั้นยังคงปรากฎอยู่ในความคิดทางการเมืองไทยของคนไทยในปัจจุบันหรือไม่ (?) และถ้าอยู่มันอยู่อย่างไรในทุกวันนี้ (?)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in