เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
บทสำรวจวาทกรรมชนบทและบ้านนอกในความเป็นไทย By สามชาย ศรีสันต์
  • รีวิวเว้ย (711) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    รายการ "เหตุเกิดที่ท้องถิ่นพอดแคส" ของสำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของชีวิต คน เมืองชนบท ท้องถิ่น และคสามเปลี่ยนแปลงของเมืองต่าง ๆ โดยการอาศัยการบอกเล่าผ่านการทบทวนถึงเรื่องราวของเมือง ชุมชน ผู้คน และวิถีชีวิตนับแต่ครั้งอดีตกระทั่งปัจจุบัน โดย "คำสำคัญ" ของรายการคือคำว่า "เซาะกราว" ที่หมายถึง บ้านนอก, ชนบท, การเป็นคนบ้านนอก (ใช้โดย โน้ตอุดม แต้พานิช ในการแสดงเดี่ยว ไมโครโฟน ในลักษณะเสียดสีทำนองเย้ยหยันว่ามาจากชนบท หรือ บ้านนอก แผลงมาจากภาษาเขมร) ซึ่งรายการเหตุเกิดที่ท้องถิ่นได้เล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่อื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากเมืองใหญ่หรือจังหวัดใหญ่ ๆ ที่ในพื้นที่แต่ละแห่งกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าสนใจและน่าติดตาม โดยเฉพาะหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคอีสานที่เปลี่ยนแปลงไปในอัตราเร่งและหลายครั้งการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ มิใช่การเปลี่ยนแปลงทั้งหใดโดยภาพรวมหากแต่ยังคงมีบางพื้นที่ บางแห่งที่ยังคงมีลักษณะของความเป็นชนบทภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น
    หนังสือ : บทสำรวจวาทกรรมชนบทและบ้านนอกในความเป็นไทย: รื้อ-สร้าง-ทบทวน สำนึกและมายาคติต่อความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำของชนบทกับเมือง ตั้งแต่ไพร่ ชาวนา คนเสื้อแดง ถึงชนชั้นกลางใหม่
    โดย : สามชาย ศรีสันต์
    จำนวน : 288 หน้า
    ราคา : 300 บาท

    ในการนี้หนังสือเรื่อง "บทสำรวจวาทกรรมชนบทและบ้านนอกในความเป็นไทย: รื้อ-สร้าง-ทบทวน สำนึกและมายาคติต่อความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำของชนบทกับเมือง ตั้งแต่ไพร่ ชาวนา คนเสื้อแดง ถึงชนชั้นกลางใหม่" (ชื่อหนังสือชุดนี้ของสำนักพิมพ์สมติช่างยาวเหลือเกิน) จึงเป็นหนึ่งในหนังสือที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเพราะเนื้อหาของหนังสือได้ทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวของคำว่า "ชนบท" ทั้งในรูปของการศึกษาวาทกรรม และในรูปของการศึกษาพลวัตรการเปลี่ยนแปลงความหมายของวาทกรรมชนบท โดยมีจุดตั้งต้นของการทบทวนถึงที่มาที่ไปของคำว่า "ชนบท" ที่ย้อนกลับไปได้ไกลถึงช่วงสมัยของการปกครองที่ยังคงมีระบบของไพร่-ทาสอยู่

    เนื้อหาของหนังสือ "บทสำรวจวาทกรรมชนบทและบ้านนอกในความเป็นไทย: รื้อ-สร้าง-ทบทวน สำนึกและมายาคติต่อความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำของชนบทกับเมือง ตั้งแต่ไพร่ ชาวนา คนเสื้อแดง ถึงชนชั้นกลางใหม่" ได้บอกเล่าถึงราวของความเปลี่ยนแปลงของวาทกรรมชนบทที่มีพลวัตร ผ่านการช่วงชิงและฉวยใช้จากตัวแสดงหลายกลุ่ม ในหลายช่วงเวลาที่ผ่านมาของประวัติศาสตร์นับจากสยามถึงไทย

    รวมถึง "บทสำรวจวาทกรรมชนบทและบ้านนอกในความเป็นไทย: รื้อ-สร้าง-ทบทวน สำนึกและมายาคติต่อความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำของชนบทกับเมือง ตั้งแต่ไพร่ ชาวนา คนเสื้อแดง ถึงชนชั้นกลางใหม่" ยังบอกเล่าและทบทวนถึงวาทกรรมชนบทในยุคปัจจุบัน ผ่านการต่อสู้กันของการเมืองสีเสื้อ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทย โดยดูจากงานวิชาการหลายชิ้นที่ว่าด้วยเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสถานะ (ยกสถานะ) ของคนชนบทและพื้นที่ชนบท อีกทั้งการต่อสู้กันของความเป็นชนบทของคนหลายกลุ่มผ่านคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่ได้กลายมาเป็นคำสำคัญในการกำหนดคุณค่าของความเป็น "ชนบท" ในสังคมไทยที่ทรงอิทธิพลอย่างมากในช่วงเวลาหนึ่ง

    นอกจากนั้นในบทท้ายของหนังสือ "บทสำรวจวาทกรรมชนบทและบ้านนอกในความเป็นไทย: รื้อ-สร้าง-ทบทวน สำนึกและมายาคติต่อความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำของชนบทกับเมือง ตั้งแต่ไพร่ ชาวนา คนเสื้อแดง ถึงชนชั้นกลางใหม่" ยังได้มีการชักชวยให้ผู้อ่านได้ลองตั้งคำถามถึงนูปแบบและความเปลี่ยนแปลงของคำว่า "ชนบท" ในปัจจุบัน ที่นอกเหนือไปจากเมืองหรือพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญแล้ว กลไกใหม่ ๆ เชิงพื้นที่อย่าง "เขตเศรษฐกิจพิเศษ" จะถูกนับหรือถูกใช้ในการอธิบายถึงรูปแบบของความเป็นชนบทในยุคสมัยใหม่ได้อย่างไร และเราจะสามารถเรียกเขตเศรษฐกิจพิเศษเหล่านั้นว่าเป็นพื้นที่ปะทะกันกับความเป็น "ชนบทสมัยใหม่" ได้หรือไม่ (?) และอย่างไร (?)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in