รีวิวเว้ย (705) ในฐานะของอดีตนักศึกษาสาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท วิชาหนึ่งที่เป็นที่สนใจอย่างมากสำหรับเราคือวิชา PO222 การเมืองการปกครองท้องถิ่น เพราะสำหรับเราแล้ววิชานี้นับเป็นวิชา "เปิดโลก" ที่ทำให้เราได้ทำความเข้าใจและรับรู้ถึงบทบาท หน้าที่ ของกลไกการปกครองที่ใกล้ชิเกับประชาชนมากที่สุดอย่าง "องค์กรปกครองส่วนท้งถิ่น" ซึ่งก่อนหน้าการเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย (54) เราแทบไม่รู้เลยว่าบทบาทของถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญเช่นไรต่อระบอบการปกครองในสังคมไทย กระทั่งได้เรียนและได้อ่านหนังสือหลาย ๆ เล่มที่เกี่ยวข้องกับเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั่นจึงทำให้เราเข้าใจว่สท้องถิ่นมี "เสน่ห์" และมีความสามารถอย่างมากต่อสังคมไทย หากแต่สัดส่วนของอำนาจท้องถิ่นและความรับรู้ในเรื่องของท้องถิ่นในสังคมนี้นั้น อาจจะยังไม่ถูกให้การยอมรับ หรืออาจจะยังไม่รับรู้ถึงความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการปกครองท้องถิ่น อาจจะด้วยเพราะระบบการปกครองที่รัฐส่วนกลางถือครองอำนาจเอาไว้มาก แต่ในความเป็นจริงแล้วท้องถิ่นมีความสามารถในการจัดทำบริการสาธารณะในหลากรูปแบบในหลายครั้งอาจจะดีกว่ารัฐส่วนกลางด้วยซ้ำไป เมื่อเป็นเช่นนั้นการเรียนรู้และทำความเข้าใจท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งมิใช่เฉพาะกับผู้เรียนในวิชารัฐศาสตร์หรือนิติศาสตร์ หากแต่การเรียนรู้และทำความเข้าใจใน "การปกครองท้องถิ่น" พึงเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทำ เพราะการปกครองท้องถิ่นคือหน่วยของการปกครองที่อยู่ "ใกล้ชิด" กับพวกเราทุกคนมากที่สุด และมันคือสนามของการเรียนรู้และทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของเราในฐานะของประชาชนที่อยู่ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
หนังสือ : การปกครองท้องถิ่น: มุมมองจากประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และไทย
โดย : ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์
จำนวน : 400 หน้า
ราคา : 380 บาท
หนังสือ "การปกครองท้องถิ่น: มุมมองจากประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และไทย" สำหรับเราแล้วอาจจะเรียกว่าหนังสือเล่มนี้นับเป็นหนังสือที่จะช่วย "ปูพื้นฐาน" ของความรู้ในเรื่องของ "การปกครองท้องถิ่น" ได้ดีที่สุดหากนับจากบรรดาหนังสือหลาย ๆ เล่มที่เราได้เคยอ่านมา เพราะด้วยตัวของหนังสือ "การปกครองท้องถิ่น: มุมมองจากประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และไทย" ถูกแบ่งออกเป็นส่วนหลัก 2 ส่วน อันได้แก่
ส่วนที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของ "ความรู้พื้นฐาน" ที่เกี่ยวโนงกับทฤษฎีและองค์ความรู้ในเรื่องของการปกครองท้องถิ่นที่ถูกย่อยและเรียบเรียงให้กลายมาเป็นส่วนของความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกัลการปกครองท้องถิ่นท่าที่มีการศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้นแล้วในส่วนนี้ยังมุ่งเน้นไปที่เรื่องของชุดความรู้อย่าง การปกครองท้องถิ่น การกระจายอำนาจ และเรื่องของความสัมพันธ์ของท้องถิ่นกับรัฐบาลส่วนกลาง และรวมไปถึงเรื่องของรูปแบบของการจัดโครงสร้างขององค์ดรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่วนที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของ "รูปแบบและตัวอย่าง" ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ อย่าง ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และไทย ที่ถูกหยิบยกมาบอกเล่าในฐานะของตัวอย่างของประเทศที่มีการปกครองท้ งถิ่นที่น่าสนใจ โดยในแต่ละประเทศที่ถูกเขียนถึงใน "การปกครองท้องถิ่น: มุมมองจากประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และไทย" จะมีการบอกเล่าถึงรูปแบบของพื้นฐานการปกครอง และรูปแบบของการปกครองท้องถิ่นของแต่ละประเทศนั้น ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นถึงภาพของรูปแบบการปกครองและภูมิหลังของระบอบการปกครองของแต่ละประเทศ
อาจจะเรียกได้ว่า สำหรับเราแล้ว "การปกครองท้องถิ่น: มุมมองจากประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และไทย" เป็นหนังสือความรู้เบื้องแรกเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นที่ดีที่สุดเท่าที่เราเคยอ่านมา อีกทั้งด้วยการยกตัวอย่างรายประเทศทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจในการปกครองท้องถิ่นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภาพของการเปรียบเทียบการปกครองท้องถิ่นในประเทศต่าง ๆ ที่ถูกบอกเล่าเอาไว้ในหนังสือเล่มนี้
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in