รีวิวเว้ย (687) มีคนเคยบอกว่า "แบรนด์ไม่ได้สร้างได้ภายในวันเดียว แต่แบรนด์สามารถพังทลายได้ภายในวันเดียว หรือจากการผิดพลาดเพียงครั้งเดียว" แน่นอนว่าคำพูดดังกล่าวดูจะเป็นจริงอย่างมากในช่วงเวลาปัจจุบัน ที่สื่อออนไลน์กำลังขับเคลื่อนสังคมในฐานะสื่อกระแสหลักที่กำหนดทิศทางต่าง ๆ ของสังคม เช่นนั้นหากมีแบรนด์สินค้าชนิดในชนิดหนึ่งที่สร้างความไม่พอใจให้แก้ผู้ใช้บริการไม่ว่าเรื่องความไม่พอใจนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม สื่อออนไลน์สามารถกำหนดความเป็นอยู่ของแบรนด์นั้น ๆ ได้แทบจะในทันทีหากมีความเห็นจากผู้ใช้บริการกลับมาทางออนไลน์ ตัวอย่างของแบรนด์ที่ไม่นานมานี้ก็ปรากฎปัญหาในลักษณะดังกล่าวก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ที่จะพูดถึงกรณีปัญหาของ DTAC ที่เกิดขึ้นกับระบบในการลงทะเบียนโครงการ "คนละครึ่ง" ทำให้เกิดกระแสของการต่อต้าน DTAC และกระแสของการย้ายค่าไปค่ายอื่น ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าของ DTAC ดูจะเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เรื่องยิ่งบานปลายและอาจจะนำไปสู่สภาวะของ "การตกต่ำ" ลงอีกครั้งของ DTAC ดังที่เคยปรากฎมาแล้วเมื่อหลายสิบปีก่อน ในช่วงที่ตลาดการสื่อสารบ้านเราเริ่มมีการแข่งขันกันของหลายผู้ให้บริการ ในยุคหนึ่งราค่หุ้นของ DTAC เคยตกจากราคาเหรียญสหรัฐต่อหน่วยไปสู่ราคาเซ็นต่อหน่วยมาแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือในช่วงเวลานั้น DTAC สามารถฟื้นกลับมาด้วยกลยุทธ happy ซึ่งทำให้ DTAC กลับมามีที่ยืนให้ตลาดอีกครั้งหนึ่ง แต่น่าสนใจว่าหากในปัจจุบัน DTAC ต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างไม่จบสิ้น น่าสนใจว่าการปรับตัวของ DTAC จะเป็นไปในทิศทางใดกัน
หนังสือ : happy คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน
โดย : ธนา เธียรอัจฉริยะ
จำนวน : 268 หน้า
ราคา : 245 บาท
"happy คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของปฏิบัติการณ์ "โกงความตาย" ของ DTAC เมื่อหลายสิบปีก่อน จากสภาวะของการตกต่ำในตลาดแข่งขันในเรื่องการสื่อสารระดับประเทศในยุคที่การแข่งขันของเจ้าใหญ่ทั้ง 3 กำลังทวีคสามดุเดือดทั้ง 12Call (AIS ในปัจจุบัน), Orange (True ในปัจจุบัน) และ Deprom (DTAC ในปัจจุบัน) ต่อสู้แย่งตลาดของลูกค้าโทรศัพท์ในยุคที่ 3310 คือเครื่องยอดนิยมของตลาด และในการแข่งขันครั้งนั้น DTAC ดูจะเป็นผู้เข้าแข่งที่เสียเปรียบในแทบทุกด้าน ทำให้ราคาหุ้นของบริษัทในช่วงเวลานั้นตกต่ำในระดับที่น่าตกใจ ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวได้มีการบอกเล่าเอาไว้ใน "happy คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน"
นอกจากนั้นแล้ว "happy คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน" ยังบอกเล่าถึงเรื่องราวของการลุกขึ้นอีกครั้งของ DTAC ด้วยการสร้างกลยุทธ happy ที่ใครหลาย ๆ คนน่าจะเติบโตมากับมัน ไม่ว่าจะเป็น happy เบอร์คนโปรด happy ใจดีให้ยืม ฯลฯ ที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้ชื่อของ happy ที่นับเป็นกลไกสำคัญในการกอบกู้ DTAC ขึ้นมาจากเหวในครั้งนั้น
และแน่นอนว่าการกู้วิกฤติของ DTAC ในช่วงเวลาดังกล่าว ก็เป็นหนึ่งในผลงานสำคัญของนักการเงินและนักการตลาดอย่าง "ธนา เธียรอัจฉริยะ" ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บุกเบิกโครงการ happy ที่ทำให้ DTAC กลับมามีลมหายใจและมีฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอีกครั้ง
"happy คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน" นับเป็นบันทึกของธนา ในวันที่เขาสร้าง happy ขึ้นมาจากวันที่ DTAC กำลังเสียสูญ และเรื่องราวใน "happy คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน" คือการแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ในฐานะของผู้ที่เข้าใจตัวเองเป็นอย่างดีว่าการเป็นเบอร์ลองไม่สามารถใช้วิธีการต่อสู้เดียวกันกับที่เบอร์หนึ่งเขาทำได้ เช่นนั้นการหากระบวนท่าของตัวเอง นับเป็นการสร้างเส้นทางและวางแนวทางการต่อสู้ของตัวเองให้ชัดเจน และเมื่อแนวทางชัดการเดินทางให้ถึงเป้าหมายก็จะมีวิธีการที่ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการกลับมาอีกครั้งของ DTAC นับเป็นหนึ่งผลงานสำคัญของธนา และก็ปฏิเสธอีกไม่ได้เช่นกันว่สในช่วงเวลาวิกฤตินั้น DTAC ได้ผู้บริหารระดับสูงที่เชื่อมั่นและทุ่มหมดหน้าตักกับการทำงานของพนักงาน เมื่อย้อนกลับมาในปัจจุบัน ห่วงยามของ DTAC ในวันที่ผู้ใช้งานหลายคนไหลออกและย้ายค่าย DTAC จะทำเช่นไรกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น หรือจะปล่อยให้ใครที่อยากย้ายค่ายออกก็ย้ายไปไม่สนใจ
อย่างไรเสียในเมื่อ DTAC เคยเผชิญปัญหาใหญ่มาแล้วครั้งหนึ่ง และการแก้ปัญหาในครั้งนั้นถูกถอดบทเรียนเอาไว้ในรูปของหนังสือ "happy คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน" ถ้าบทเรียนดังกล่าวไม่ได้ถูกเอากลับมาศึกษาอีกครั้งในปัจจุบัน ก็ไม่แน่ว่าเวลามันอาจจะย้อนกลับไปเหมือนเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่ครั้งนี้ต่างกันตรงที่การต่อสู้ด้วยวิธีแบบเดิม ๆ อาจจะทำไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ดังนั้นให้ลองนึกถึงประโยคเปิดที่ว่า "แบรนด์ไม่ได้สร้างได้ภายในวันเดียว แต่แบรนด์สามารถพังทลายได้ภายในวันเดียว หรือจากการผิดพลาดเพียงครั้งเดียว" แน่นอนว่าหากผิดพลาดในยุคนี้ อาจจะยากที่จะกลับมายื่นได้อีกครั้ง
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in