เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น By ทวิดา กมลเวชช
  • รีวิวเว้ย (686) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    อาจารย์ท่านหนึ่ง (ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้นี่แหละ) เคยพูดเอาไว้บ่อยครั้ง ให้กับทั้งนักศึกษา ผู้ช่วย และใครก็ตามที่โคจรริบอาจารย์ต้องตระหนักถึงเรื่องของ "ความปลอดภัย" เป็นอันดับแรก โดยเฉพาะเมื่อเกิด "ภัยพิบัติ" ขึ้น ซึ่งคำพูดที่ติดหูของผู้ฟังอย่างเราคือเรื่องของ "การต้องเอาตัวเองให้รอดให้ได้ก่อนในเบื้องตน ก่อนที่จะรอให้ความช่วยเหลือเข้ามาถึง" เพราะถ้าเราไม่รอดตั้งแต่แรกความช่วยเหลือที่จะเข้ามา ย่อมไม่ใช่การช่วยเหลือมนลักษณะของการค้นหาผู้รอดชีวิตเป็นแน่ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วในหลากครั้งของการสนทนากับอาจารย์ในเรื่องของ "ภัยพิบัติ" หลักใหญ่ใจความของบทสนทนาจะมีเรื่องของ "การเอาตัวเองให้รอดก่อน" ผสมเข้ามาเกือบในทุกครั้งที่มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าว
    หนังสือ : คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น
    โดย : ทวิดา กมลเวชช
    จำนวน : 130 หน้า
    ราคา : 95 บาท

    หนังสือ "คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น" เล่มนี้ว่าด้วยเรื่องของ "การรับมือ" กับภัยพิบัติที่มุ่งเน้นไปที่เรื่องของบทบาทของท้องถิ่น หรือในชื่อยาว ๆ แบบวงการวิชาการเรียกกันก็คือ "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" โดยที่หน่วยงานหลักที่ถูกพูดถึงในหนังสือเล่มนี้อย่างท้องถิ่น เหตุที่ท้องถิ่นถูกพูดถึงและให้ความสำคัญใน "คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น" เนื่องด้วยท้องถิ่นเป็นหน่วยงาน "หน้างาน" ที่อยู่ "ในพื้นที่" และมีโอกาส "ใกล้ชิด" กับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในพิ้นที่ต่าง ๆ ได้ก่อนหน่วยงานใด ๆ

    ในการนี้หากหน่วยงานหน้างาน สามารถรับมือหรือจัดการกับภับพิบัติได้ก่อนอย่างเป็นระบบ และทันต่อระยะการขยายตัวของภัยพิบัติชนิดต่าง ๆ แล้ว ผลร้าย ความเสียหาย และผลกระทบที่จะตามมาจากการเกิดภัยพอบัตินั้น ๆ จะลดลงอย่างมาก และจะถูกรับมือและจัดการอย่างเป็นระบบ เมื่อมีการรวมดำเนินการกับหน่วยงานอื่นในระดับต่อไป จะยิ่งทำให้การทำงานเพื่อจัดการกับภัยพิบัติ สามารถดำเนินการได้ง่ายขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพขึ้นมากตามไปด้วย

    โดยที่เนื้อหาของ "คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น" ได้มีการยกตัวอย่างของภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นมนประเทศไทยจำนวน 10 ภัย ให้ผู้อ่านได้เห็นเป็นตัวอย่างของชนิดของภัยพิบัติและผลกระทบที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศ รวมถึงวิธีการในการรับทือและจัดการภัยพิบัติดังกล่าวในเบื้องต้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องราวของภัยพิบัติแต่ละประเภทนั้นมิใช่หลักใหญ่ใจความหลักของหนังสือเล่มนี้

    หากแต่ความสำคัญของ "คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น" คือการฉายให้เราได้เห็นภาพถึงบทบาท หน้าที่ และการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะค้องทำหน้าที่เป็นหนึ่งงานแรกประทะกับปัญหาในเรื่องของภัยพิบัติ บทบาทและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีการดำเนินการอย่างไร การออกแบบแผนการดำเนินงานในพื้นที่ทั้ง ก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังเกิดภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นจะต้องดำเนินการเช่นไร

    อาจจะเรียกได้ว่า "คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น" ถึงจะไม่ใช่หนังสือที่นำเสนอวิธีในการรับมือกับภัยพิบัติในระดับปัจเจกบุคคล หากแต่ปัจเจกบุคคลสามารอ่านเนื้อหาของ "คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น" และนำไปออกแบบมาตรการในการรับมือและเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะมาถึงตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งย้อนกลับไปที่ข้อความท่อนเริ่มของรีวิวชิ้นนี้ หากเราไม่รอดชีวิตในเบื้องแรกเสียแล้ว การเข้ามาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเวลาต่อมา ย่อมไม่ใช่ภาระกิจช่วยชีวิตแต่ประการใด

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in