เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม By ปิยดา ชลวร
  • รีวิวเว้ย (677) ประวัติศาสตร์ของรัฐ นับเป็นผลผลิตหนึ่งที่ถูกใช้ในฐานะของเครื่องมือในการสร้างชาตินับตั้งแต่ครั้งที่เป็นชาติสยามกระทั่งพัฒนามาเป็นชาติไทย กระทั่งเป็นไทยในปัจจุบัน (2563) กลไกของการสร้างชาติยังปรากฎชัดผ่านการผลิตซ้ำวาทกรรมต่าง ๆ อาทิ ชังชาติ พวก...กลับชาติมาเกิด และพวก "ไม่รักดี" ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงใช้ได้ดีในสังคมไทย โดยเฉพาะมันกลายเป็นเครื่องมือของคนที่อายุเกินกว่า 40 ปีขึ้นไปยังคงหยิบใช้มันอยู่ย่อยครั้ง บางครั้งบ่อยเสียจนเราได้แต่มองด้วยสายตาสังเวชและคิดว่า เมื่อไหร่คนพวกนี้จะลองมองโลกให้มันกว้างขึ้น อ่านหนังสือให้มันเยอะขึ้นและเข้าใจเสียที่ว่าโลกนี้ "มันกลม" ไม่ได้แบน และโลกหมุนรอบด้วยอาทิตย์ไม่ได้หมุนรอบตัวเอง รวมถึง "มะนาวโซดา" กินแล้วไม่ได้รักษา "มะเร็ง" 
    หนังสือ : ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในยุคเจ็ดหัวเมือง
    โดย : ปิยดา ชลวร
    จำนวน : 191 หน้า
    ราคา : 160 บาท

    "ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในยุคเจ็ดหัวเมือง" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของประวัติศาสตร์ของหัวเมืองทางใต้ของสยามที่ในปัจจุบันหลายคนยังเชื่อว่ามันมีดินแดนบางส่วนในพื้นที่บริเวณนี้ที่เราเสียมห้กับต่างประเทศไป เพราะถูกบังคับขู่เข็ญให้ยอมสละดินแดนบางส่วนเพื่อรักษาอธิปไตยของประเทศเอาไว้ ซึ่งมีหนังสทอหลายเล่มที่พูดถึงเรื่องของการเสียพื้นที่ของหัวเมืองทางใต้ว่าแท้จริงแล้วมันอาจจะไม่ได้เป็นไปต่มแบบที่แบบเรียนชาตินิยมของกระทรงศึกษาบอกเอาไว้ก็ได้ หรือที่กระทรวงบอกไว้ก็อาจจะบอกไม่หมดในบางเรื่องที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฎชัด

    ในส่วนของหนังสือ "ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในยุคเจ็ดหัวเมือง" คือการหยิบเอาเรื่องราวของเจ็ดหัวเมืองมาขยายให้เห็นภาพและบริบทของการเปลี่ยนแปลงในเชิงพื้นที่ ตั้งแต่ยุคก่อนการเข้าไปมีบทบาทของสยามโดยเฉพาะบทบาทในช่วงการเข้าไปในสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีการเข้าไปเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิถีบางอย่างของพื้นที่ ไล่มากระทั่งสมัยการปฏิรูปประเทศที่มีการวางระบบมณฑล ที่นับเป็นสร้างข้อขัดแย้งบางประการที่สำคัญในพื้นที่

    ที่นอกเหนือไปจากเรื่องราวของความเป็นมาแล้ว ในหนังสือ "ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในยุคเจ็ดหัวเมือง" ยังได้พูดถึงเรื่องของการประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรมในพื้นที่ ที่หลายครั้งมันนำพามาสู่การวางโครงสร้างของสังคมในพื้นที่อีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากความรับรู้ในเรื่องของพื้นที่ตามที่ปรากฎในแบบเรียนหรือในเอกสารของทางราชการ ทั้งเรื่องของการทำเหมือง คนจีนในพื้นที่ และการสร้างกฎเกณฑ์ กฎหมายที่มีกลไกและการบังคับใช้ที่แตกต่างกันไปในพื้นที่เจ็ดหัวเมือง

    อีกทั้ง "ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในยุคเจ็ดหัวเมือง" ยังช่วยให้เราเข้าใจภาพอดีตของความขัดแย้งบางประการของพื้นที่ ที่อาจจะเรียกได้ว่ามันคือ "มรดก" ของความไม่พอใจต่อรัฐบาลกลางอย่างสยาม-ไทย ที่เคยได้สร้างความทรงจำ ความขัดแย้ง และปัญหาทางประวัติศาสตร์ในบางมิติทิ้งเอาไว้ในพื้นที่ และในปัจจุบันหลายครั้งก็ยังเป็นรัฐเสียเองอีกนั้นแหละที่เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของชวนปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ที่มิติทางประวัติศาสตร์ซ้อนทับอยู่กับหัวเมืองทั้งเจ็ดในครั้งอดีต

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in