เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ราชอาณาจักรกัมพูชา By พินสุดา วงศ์อนันต์
  • รีวิวเว้ย (676) เวลาที่เราพูดถึงประเทศเพื่อนบ้าน ในแถบบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยนั้น "กัมพูชา" จะเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกพูดถึงอย่างมาก ทั้งในฐานะของเพื่อนรักและเพื่อนแค้นของประเทศไทย อันเป็นผลมาจากมรดกทางด้านประวัติศาสตร์ในแบบเรียนไทย ที่สร้างคสามแตกแยกแบ่งพวกออกเป็นเขาและเรา ซึ่งมรดกเหล่านี้ยังคงปรากฎให้เห็นอยู่บ้างในประเทศไทย โดยมักจะอยู่ในรูปของคำพูด "หยอกล้อ" ที่หลายคนก็ลืมมันไปว่านั่นคือการลดทอนคุณค่าความเป๋นคนของบุคคลอื่นเช่นกัน หรือบางครั้งมันปรากฎอยู่ในฐานะของการกดทับคนให้ต่ำกว่าโดยเฉพาะแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่ใครหลายคนมองว่าเขาด้อยค่ากว่า และกดขี่ต่าง ๆ นา ๆ ทั้งในฐานะของนายจ้าและในฐายะของ "คนไทย" ที่ได้รับมรดกจากระบบการศึกษาแบบชาตินิยมของสยาม-ไทย หากแต่ถ้าเราคิดถึงภาพของประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาในฐานะประเทศหนึ่งประเทศ ที่เท่าเทียมกับเราในฐานะของประเทศที่มีอธิปไตยและคนในประเทศทุกคนก็ต่างมีสถานะของความเป็นคนอย่างเท่าเทียมกับเรา เราจะพบว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา มีอะไรที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องของประวัติศาสตร์ ทรัพยากร และวัฒนธรรมของชาติที่ปรากฎรากฐานมาอย่างยาวนาน กระทั่งส่งออกแนวคิดและวัฒนธรรมต่าง ๆ สู่เพื่อนบ้านในแถบใกล้เคียงกัน 
    หนังสือ : ราชอาณาจักรกัมพูชา
    โดย : พินสุดา วงศ์อนันต์
    จำนวน : 130 หน้า
    ราคา : 70 บาท

    หนังสือ "ราชอาณาจักรกัมพูชา" อยู่ในชุดหนังสือเรื่อง "ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน" ในลำดับที่ 2 ที่บอกเล่าเรื่องราวของประเทศกัมพูชา ที่มุ่งเน้นไปที่มิติของการปกครองท้องถิ่นของประเทศเป็นสำคัญ แต่ก็ไม่ละเลยที่จะบอกเล่าถึงข้อมูลและลักษณะพื้นฐานของประเทศนี้ได้อย่างน่าสนใจ ทั้งบริบททางประวัติศาสตร์ที่ก่อรูปและนำพาไปสู่การกำหนดรูปแบบของการปกครองและการปกครองท้องถิ่นในเวลาต่อมา

    การปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศกัมพูชา เกิดขึ้นจากการวางรากฐานโดยประเทศเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสที่ได้กำหนดรูปแบบและวางรากฐานของระบบที่เรียกกันว่า "สภาตำบล (Commune/Khum)" ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการปกครองในระดับหมู่บ้านหรือตำบลในประเทศไทย โดยที่ผู้นำของสภาตำบลนั้นมีที่มาจากการเลือกตั้งโดนตรงของประชาชนมนพื้นที่ โดยที่ "ผู้ใหญ่บ้านและกำนัน" คือสมาชิกคนสำคัญของสภาตำบล สภาตำบลของกัมพูชานั้นจะถูกควบคุม ตรวจสอบ และกำกับดูแลโดยตัวแทนของหน่วยงานจากภูมิภาคที่มาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกล่างอีกต่อหนึ่ง โดยรูปแบบของการกำกับดูแลนั้นจะเป็นไปอย่างเข้มงวดจากส่วนกลาง และความน่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ ในช่วงเวลาของการเลือกตั้งสภาตำบลนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 ที่มีการดำเนินการในการเลือกตั้งมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง ปรากฎว่าพรรคซีพีพี (CPP) สามารถผูกขาดชัยชนะในการเลือกตั้งสภาตำบลได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำให้เกิดการตั้งข้อสังเกตุว่าในการเลือกตั้งสภาตำบลนั้นได้มีการกำหนดให้ผู้ลงสมัครต้องลงในนาม "สังกัดพรรคการเมือง" และการลงในนามพรรคการเมืองนี้เองที่สร้างการผูกขาดการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นของกัมพูชามาตลอดนับจากการเลือกตั้งสภาตำบลภายหลังจากการแก้ปัญหาความรุนแรงในประเทศได้

    นอกจากนี้ในหนังสือยังได้บอกเล่าถึงพลวัตร พัฒนาการของการเกิดขึ้นของระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศกัมพูชา และยังได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทและหน้าที่ของสภาตำบลในการจัดทำ "บริการสาธารณะ" ขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสะอาด ระบบสาธารณูปโภค รวมถึงเรื่องของความปลอดภัยของชุมชนท้องถิ่น อาจจะเรียกได้ว่าระบบของสภาตำบลนั้นนับเป็นหนึ่งในกลไกระดับท้องถิ่นของประเทศกัมพูชา ที่ใกล้ชิดและให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ











เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in