เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ By ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์
  • รีวิวเว้ย (655) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

    กระบวนการในการกระจายอำนาจ ปรากฎขึ้นอย่างจริงจังในสังคมไทยก็น่าจะย้อนกลับไปได้เมื่อมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่กระบวนการกระจายอำนาจและการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นเป็นกระบวนการที่ปรากฎชัดในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว และกระบวนการกระจายอำนาจในประเทศไทยยิ่งปรากฎชัดมากขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ที่มีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ" ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้กลายเป็นกลไกสำคัญและเป็นหมุดหมายของกระบวนการในการกระจายอำนาจในประเทศไทย แต่จากวันนั้น (2542) จนถึงวันนี้ (2563) ลองนับนิ้วเล่น ๆ ก็ผ่าามากว่า 21 ปีแล้ว แล้วทำไมกันเวลากว่า 21 ปี กระบวนการในการกระจายอำนาจของประเทศไทยกับเดินหน้าและถอยหลัง ถอยหลังและเดินหน้า ไป ๆ มา ๆ เหมือนกระบวนการกระจายอำนาจติดอยู่ตรงที่เดิมคล้ายไม่มีพลวัตรในกระบวนการเท่าไหร่นัก แต้ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกระบวนการกระจายอำนาจในไทยมีพลวัตรอย่างมากนับจากการปรากฎขึ้นของรัฐธรรมนูญ 2540 แต่อาจจะไม่ใช่การพัฒนาไปในระยะเวลาหรือทิศทางอย่างที่ควรจะเป็นและควรจะทำได้ แล้วอะไรกัรเป็นเหตุให้กระบวนการดังกล่าวถึงเคลื่อนที่ไปด้วยความล่าช้าคล้ายกับการจับเต่ามาคลานบนเสื่อน้ำมัน โจทย์ดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องถูกตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบเพื่อพัฒนากระบวนการในการกระจายอำนาจของไทยให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
    หนังสือ : การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ: ศึกษาผ่านบทบาทของ นักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมืองและประชาชน
    โดย : ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์
    จำนวน : 324 หน้า
    ราคา : 350 บาท

    "การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ: ศึกษาผ่านบทบาทของ นักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมืองและประชาชน" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการศึกษาถึงพลวัตรของการกระจายอำนาจในประเทศไทยผ่านตัวแสดงหลักต่าง ๆ ทั้ง นักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมืองและประชาชน ในมิติที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ความสัมพันธ์และบทบาทของตัวแสดงต่าง ๆ ในประเด็นเรื่องของก่รกระจายอำนาจ ทั้งมิติเรื่องของการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าว การหยิบเอาประเด็นของการกระจายอำนาจไปปฏิบัติใช้ และรวมไปถึงการเรียกร้องให้เกิดการกระจายอำนาจผ่านกลไกของภาควิชาการ ภาคประชาชนและภาคประชาสังคม 

    หนังสือ "การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ: ศึกษาผ่านบทบาทของ นักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมืองและประชาชน" เป็นหนึ่งในเครื่องมือของการตอบคำถามในเรื่องของ "พลวัตรของการกระจายอำนาจในสังคมไทย" ว่าเพราะเหตุใดช่วงเวลากว่า 20 ปีหลังจากการมีพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ประเด็นในเรื่องของการกระจายอำนาจดูจะไม่ค่อยมีแรงขยับและขับเคลื่อนไปข้งหน้าเท่าไหร่นัก โดยที่ "การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ: ศึกษาผ่านบทบาทของ นักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมืองและประชาชน" แสดงให้เห็นถึงช่องว่างของปัญหาดังกล่าว อีกทั้งยังได้ทำการทวนภาพของการกระจายอำนาจในช่วงเงลาที่ผ่านมาให้เราในฐานะของคนอ่านได้ทำความเข้าใจว่า เพราะอะไรที่ทำให้การกระจายอำนาจในสังคมไทยถึงยังเดินไปไม่ไกลในมิติของระยะทางและทิศทางหากเทียบกับระยะเวลากว่า 20 ปีที่เรื่องของการกระจายอำนาจปรากฎขึ้นและถูกพลักดันอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในกฎหมายระดับรองและในรัฐธรรมนูญ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in