รีวิวเว้ย (635) เวลาที่เรียนในชั้นเรียนวิชาสังคมศาสตร์ เรามักจะได้ยินคำคำหนึ่งอยู่บ่อย ๆ เมื่ออาจารย์พูดถึงเรื่องของอะไรบางสิ่งบางอย่างที่มันมากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไปและต้องมาอยู่รวมกัน อาทิ สังคมมนุษย์ ครอบครัว ความสัมพันธ์ ทึกสิ่งที่กล่าวมานั้นล้วนผูกโยงกันอยู่ด้วยคำหนึ่งคำนั่นคือคำว่า "ประกอบสร้าง" เมื่อพิจารณาจากแค่คสามหมายในรูปของคำเราก็จะพบว่าคำดังกล่าวประกอบไปด้วยคำว่า (1) ประกอบ (ก.) เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมเข้าด้วยกันให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการ, ประสมหรือปรุงให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และคำว่า (2) สร้าง (ก.) เนรมิต หรือบันดาลให้มีให้เป็นด้วย อำนาจวิเศษ, ทำให้มีขึ้น เกิดขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ, ก่อขึ้น, ใช้ทั้งทางรูปธรรม และนามธรรม ซึ่งเมื่อพิจารณาคสามหมายจากรูปของคำที่ยกมาเราจะพบว่า "ประกอบสร้าง" ก็คือการเอาอะไรสักอย่างมารวมเข้าด้วยกันจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันหรือกลายเป็นสิ่งใหม่ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น รัฐไทยประกอบสร้างขึ้นมาจากคนหลายเชื้อชาติ หรือครอบครัวหนึ่งประกอบสร้างขึ้นมาผ่ายความสัมพันธ์ของคนสองคนแต่เมื่อร่วมกันเป็นครอบครัวอาจจะผ่านการแต่งงานหรือกลไกใด ๆ ก็ตามแต่เมื่อนั้นมันคือการประกอบสร้างครอบครัวสองครอบครัว (หรือมากกว่า) ร่วมกันเข้าเป็นหนึ่งเดียว หากให้เราลองสรุปง่าย ๆ อาจจะสรุปออกมาได้ว่า การประกอบสร้างคือการรวมบางอย่างเข้ามาอยู่ด้วยกันเพื่อสร้างสิ่งอีกสิ่งหนึ่งในปรากฏขึ้น และเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อมีการรวมเข้ามา "การแตกออก" จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ตามมาด้วยในฐานะของชุดความจริงคู่ขนาน เพราะเราต้องไม่ลืมความจริงข้อหนึ่งที่ว่า "เมื่อรวมได้ก็แยกได้ เมื่อเป็นหนึ่งได้ก็แบ่งออกเป็นอื่นได้" และคำพูดดังกล่าวดูจะเป็นจริงยิ่งขึ้นเมื่อจับเอามันมาสวมลงในบริบทของความสัมพันธ์ของคน โดยเฉพาะในบริบทของ "คนรักกัน" เราจะเห็นว่าการรวมเข้าและการแตกออกในบริบทของความสัมพันธ์นั้นเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และบางครั้งมันบ่อยเสียจนเรามิอาจคาดเดาใด ๆ ในบริบทของความสัมพันธ์ได้เลย โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของคนรักไม่ว่าในรูปแบบของแฟนหรือรูปแบบของสามีภรรยา ที่ไม่ว่าจะเป็นเพศใด ๆ ก็ตามแต่ ความแตกแยกมักเกิดขึ้นได้เสมอและตลอดเวลาหากเร่เก็บรักษามันดีจนเกินไป หรือปล่อยและละเลยมันจนเกินไป
หนังสือ : แตกเป็นแตก
โดย : อุรุดา โควินท์
จำนวน : 120 หน้า
ราคา : 150 บาท
"แตกเป็นแตก" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของความสัมพันธ์ในลักษณะของเรื่องเล่าที่กึ่งยาวกึ่งสั่น ทั้งของตัวเรื่องเล่าและตัวความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่อง โดยที่เนื้อหาใน "แตกเป็นแตก" นั้นได้จำลองรูปแบบของรูปแบบความสัมพันธ์ที่แตกหักและผันแปรที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของช่วงเวลาและสังคมที่ทุกอย่างดำเนินไปแทบจะตลอดเวลา และแน่นอนว่าความสัมพันธ์ของชีวิตมนุษย์ต่างก็ดำเนินไปบนแนวทางดังกล่าวเช่นเดียวกัน
นอกจากนั้นแล้ว "แตกเป็นแตก" ยังช่วยให้เราเข้าใจรูปแบบของความสัมพันธ์ของคนแต่ละแบบในสังคมได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงความจริงที่ว่าบนโลกกลม ๆ ใบนี้ไม่มีใครไม่เคยต้องแตกสลาย และไม่มีใครที่จะหลีกหนีมันได้พ้น ไม่วันใดก็วันหนึ่งมันคงเดินทางมาถึงเราเป็นแน่
ดังคำพูดของ ชวน หลีกภัย ในรัฐสภาที่บอก ส.ส.วิโรจน์ และ ส.ว. (สวะ) ที่ชื่อตรงข้ามกับความเป็นทาสแต่ทำตัวเป็นทาสตรงข้ามกับชื่อที่ตั้งมาว่า "พวกเราทุกคนนั่นแหละครับ รวมถึงผมด้วย"
หมายเหตุ: อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ทฤษฎีประกอบสร้างนิยมได้ที่ https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_600153#:~:text=%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%20(Constructivism)%20%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88,%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in