เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การเดินทางในระยะห่างของดวงตา By ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  • รีวิวเว้ย (634) การรับรู้คือสภาวะหนึ่งที่สร้างรูปแบบของความเข้าใจผ่ายกลไกของการตีความผ่านประสบการณ์ของผู้รับสาร นี่น่าจะเป็นหนึ่งในแนวคิดหลักของการสื่อสารระหว่ากลุ่มคน เพื่อให้ผู้รับสารได้เข้าใจและเข้าถึงเนื้อความของสารที่ผู้ส่งสารต้องการจะสื่อสารถึง โดยเฉพาะการรับสารผ่านรูปแบบของการมองเห็นและตีคสามผ่านประสบการณ์ส่วนบุคคล หรือบางพื้นที่ก็มุ่งเน้นการส่งสารเพื่อให้เกิดการรับรู้และการตีคสามร่วมกันระหว่างประสบการณ์ของคนทั้งสังคม แต่ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการส่งสารเพื่อให้เกิดการตีความร่วมของคนทั้งสังคมนั้น ในยุคปัจจุบัน (2020) คงเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะเมื่อสารหรือเนื้อความนั่นคือความต้องการของรัฐหรือผู้กุมอำนาจที่ประสงค์จะกำหนดทิศทางของ ความคิด ความรู้และความทรงจำร่วมของคนทั้งสังคมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างที่รัฐไทยยังคงดึงดันที่จะกระทำการดังกล่าว ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ารูปแบบหรือการกระทำของรัฐไทยนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น อาจจะเรียกได้ว่ามีผลต่อกลุ่มของคนสูงอายุ หรือมีผลต่อกลุ่มของคนชั้นนำที่เชื่อมั่นว่าตัวเองคือคนไม่กี่เปอร์เซ็นของประเทศนี้ และมีผลต่อคนโง่ที่ดวงตามืดบอดที่การกระทำของรัฐไทยยังคงได้ผลกับคนกลุ่มนี้อย่างมาก ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนกลุ่มนี้ยังคงเชื่อมันต่อสิ่งที่รัฐบาลคนโง่หลอกลวงคงเป็นเพราะความทรงจำและประสบการณ์บางอย่างที่พวกเขายึดมันเอาไว้เป็นสรณะและไม่กล้าแม้กระทั่งจะสั่งคลอนความเชื่อของตนเองและตั้งคำถามว่า "จริงหรือเปล่า" เพราะความขี้ขลาดที่ซ่อนตัวอยู่ในประสบการณ์และความทรงจำที่ถ้าท้าทายแล้วอาจจะสร้างความไม่มั่นคงให้ต่อมัน สิ่งเหล่านี้ทำให้กลุ่มผู้เชื่อมั่นแห่งรัฐไทยยังคงเหนียวแน่นและเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อและแชร์คือความถูกต้อง ยุติธรรม และเป็นความจริงอันเป็นอนันที่ไม่อาจจะถูกสั่นคลอน ถึงแม้นว่าสิ่งที่แชร์ออกมานั้นคือการทดลองที่ว่า "เฉ่าก๊วยห้ามเลือดได้ และรักษามะเร็งได้ในทุกระยะ" ทั้งหมดที่กล่าวมาคือการแสดงให้เห็นถึงสภาวะของความมั่นคงในประสบการณ์และความจริงบางชุดของคนบางกลุ่มในสังคม 
    หนังสือ : การเดินทางในระยะห่างของดวงตา
    โดย : ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
    จำนวน : 263 หน้า
    ราคา : 295 บาท

    "การเดินทางในระยะห่างของดวงตา" คือหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวและประสบการณ์ของผู้เขียน โดยยึดเอาแนวคิดในเรื่องของนักคิดทางด้านจิตวิเคราะห์เป็นตัวดำเนินเรื่องหลัก โดยในเนื้อหาแต่ละบทตอนของ "การเดินทางในระยะห่างของดวงตา" จะบอกเล่าเรื่องราวความคิด ความรู้สึก ความทรงจำของผู้เขียนผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียนและกลุ่มนักคิดหลาย ๆ คน โดยใช้แนวคิด วิธีการของนักคิดหรือตัวแสดงต่าง ๆ ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใยเล่มมาใช้เป็นแกนหลักของการดำเนินเรื่องราวในแต่ละบทแต่ละตน

    ในฐานะของนักเรียนที่เรียนมาทางด้านสังคมศาสตร์ เราไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมีคนที่หยิบเอาแนวคิดสำคัญของหนักคิดแต่ละคนอย่าง โรล็องด์ บาร์ตส์, ฌาคส์ ลากอง, ฌาคส์ ร็องซีแยร์, สลาวอย ชิเช่ค, คาร์ล กุสทัฟ ยุง, มิเชล ฟูโกต์ และซิกมันด์ ฟรอยด์ มารวมไว้ในหนังสือเล่มเล็ก ๆ เล่มเดียวกัน โดยใช้แนวคิดสำคัญ ๆ ของนักคิดเหล่านี้ดำเนินเรื่องผ่านเรื่องราวของประสบการณ์ ความคิด และความทรงจำของผู้เขียนในการดำเนินเรื่อง

    อาจจะเรียกได้ว่า "การเดินทางในระยะห่างของดวงตา" คือการพาเรากลับมาอ่านโลกผ่านสายตาและผ่านการรับรู้ โดยการหยิบเอาแนวคิดของนักคิดคนสำคัญต่าง ๆ มาอ่านเรื่องราวปกติธรรมดาของชีวิตในสังคมหนึ่ง ๆ ที่ซึ่งจริง ๆ แล้วความปกติธรรมดาเหล่านั้นมันอาจจะไม่มีอยู่จริง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in