ปัญหาในเรื่องของ "ครูไม่มีเวลาสอน" เป็นปัญหาใหญ่ที่สะสมมาอย่างช้านานในสังคมไทย และปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายคนมองเห็นแต่ "ไม่ทำอะไร" หรือหลายคนก็ขยับตัวและออกนโยบายที่เหมือนจะทำ แต่ในท้ายที่สุดแล้วมันกลับเป็นการสร้างภาระเกินควรยิ่งกว่าให้กับครูผู้สอน และในเมื่อครูผู้สอนถูกขโมยเวลาออกมาจากห้องเรียน นักเรียนย่อมเป็นผู้ได้รับผลกระทบหลักจากปัญหาดังกล่าว มันจึงปรากฏขึ้นในเวทีประกวดอีกเวทีหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ "ระบบการศึกษา" ที่ผูกโยงอยู่กับ "การเมืองในประเทศ"
ต้องยอมรับว่าเราเองมองครูในระบบการศึกษาของไทยไม่ต่างอะไรกับ "ข้าราชการที่ทำหน้าที่ให้จบไปในวันหนึ่ง ๆ" หรือที่หลายคนเรียกกันว่า "เช้าชามเย็นชาม" จากการที่เราอยู่ในระบบการศึกษาของกระทรวงศึกษามาหลายปี เราพบว่าปัญหาสำคัญข้อหนึ่งของระบบการศึกษาไทยคือ "ครูไม่สอน" อาจจะด้วย (1) ภาระของงานที่มันมากไปกว่าการสแนหนังสือ และเป็นภาระงานที่ไม่จำเป็น และ (2) หรือเพราะครูก็แค่ทำอาชีพของตัวเอง ซึ่งการรับรู้ในเรื่องของข้อ (2) ดูจะเป็นความรับรู้หลักใหญ่ในสังคมนี้เมื่อพูดถึงครูในระบบการศึกษา เพราะภาพของครูในระบบการศึกษาหลายครั้งที่ถูกสะท้อนออกมาคือภาพของครูที่ "ไม่อยากสอน" และ "อำนาจนิยม" ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วภาพของครูในลักษณะนี้อาจจะคิดเป็นร้อยละ 2 ของครูทั้งระบบการศึกษาของประเทศ แต่หากเป็นเช่นนั้นจริง ๆ แล้วอะไรทำให้ภาพจำของ "ครูร้อยละ 2" กลายเป็น "ภาพแทนของครูทั้งระบบ" นี่เป็นโจทย์สำคัญข้อหนึ่งที่กระทรวงศึกษาฯ จำเป็นต้องคิดให้แตกและแก้ปัญหาให้ตรงจุด (แต่อยู่บนเงื่อนไขที่ว่า "ถ้า" กระทรวงฯ คิดได้จริง ๆ)
จนเมื่อไม่นานมานี้เราได้รู้จักกับรุ่นพี่ที่เป็นครูท่านหนึ่งและเรามีโอกาสได้ติดตามผลงานหลาย ๆ กิจกรรมของพี่และเพื่อนของเขาที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาไทย โดยเฉพาะระบบการศึกษาภายใต้กระทรวงศึกษาฯ หลังจากที่ติดตามผลงาน และเข้ามามีส่วนในการศึกษาถึงข้อมูลในเรื่องของครูและระบบการศึกษาไทยมากขึ้น เราพบว่าครูในระบบเองหลาย ๆ คนก็มีใจที่อยากจะเปลี่ยนแปลงระบบ ต่อให้การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเริ่มขึ้นที่ตัวเอง และการเริ่มต้นท้าทายระบบที่มันแข็งแรงแต่ไม่มีเหตุผลมันมักจะมีความท้าทายและข้อขัดแย้งปรากฏขึ้นเสมอ ๆ แต่ครูกลุ่มหนึ่งและคนอีกกลุ่มหนึ่งก็ยังคงขับเคลื่อนสิ่งที่พวกเขาเชื่อมั่นต่อไป และในเวลานี้สิ่งที่พวกเขาเชื่อ กับกลุ่ม "นักเรียนเลว" ที่กำลังตั้งคำถามกับระบบ กำลังจะทำให้ "ความเปลี่ยนแปลงปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม" ครูคนหนึ่งเคยพูดกับเราในหลายวาระและหลาบโอกาสว่า "หากไม่ไหวก็อย่าฝืน" คำนี้อาจจะท้อนทั้งในรูปของปัจเจกที่พยายามต่อสู้กับระบบ หรืออาจจะเป็นคำเตือนต่อระบบว่าอย่าฝืนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการรวมตัวกันของปัจเจกที่วันหนึ่งจะกลายเป็น "สังคม"
บนปกหลังของหนังสือเล่มนี้เขียนเอาไว้ว่า "ผมทำงานบนความเชื่อที่ว่า...ครูธรรมดาคนหนึ่ง เปลี่ยนการศึกษาได้" นี่เป็นการสะท้อนให้เราเห็นถึง "ความหวัง" ของ "ความเปลี่ยนแปลง" ที่กำลังเกิดขึ้นในระบบการศึกษาของประเทศไทย
หนังสือ : ครบเครื่องเรื่องครู
โดย : ร่มเกล้า ช้างน้อย
จำนวน : 150 หน้า
ราคา : ใจล้วน ๆ
หนังสือ "ครบเครื่องเรื่องครู" เป็นหนังสือทำมือและทำเองขนาดเล็ก ๆ ที่ทำด้วยใจของครูร่วมเกล้า ที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ในการประกอบการประเมินครูชำนาญการที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของระบบการศึกษาไทยที่กำหนดไว้ให้ครูทุกคนเมื่อถึงกำหนดเวลาต้องมีการดำเนินการในการประเมินตำแหน่งครูชำนาญการ และการประเมินตำแหน่งครูชำนาญการนี้เอง ที่เรามองว่ามันคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญของสิ่งที่ "ดึงครูออกจากห้องเรียน"
"ครบเครื่องเรื่องครู" ด้วยความที่หนังสือเล่มนี้ถูกออกแบบขึ้นในฐานะของหนังสือที่ใช้สำหรัลการประเมินหารเลื่อนตำแหน่ง ทำให้เนื้อหาต่าง ๆ ในหนังสือเล่มนี้คือการ "บอกเล่า" เรื่องร่าวต่าง ๆ ใน "การทำหน้าที่ของครู" ที่ถูก "กระทรวงกำหนด" ว่า "ให้ทำ" และ "ต้องทำ" ความแหวกแนวของหนังสือเล่มนี้คือการที่มันถูกทำขึ้นมาในรูปของ "หนังสือ" เพียงหนึ่งเล่มที่ใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวการทำหน้าที่ของครูคนหนึ่งที่ต้อง "สอนหนังสือให้ดี" ตามที่ตัวครูมุ่งหวัง และต้องทำงานตามที่ "กระทรวงฯ คาดหวัง" แค่เริ่มต้นการประเมิณด้วยการทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ เพียงหนึ่งเล่มก็เป็นการ "ท้าทาย" สิ่งที่ระบบเคยทำกันมาอย่างช้านานที่ต้องมีสื่อการสอนจำลอง กระดาษ กระดาษ บอร์ด ฯลฯ ที่ทำให่การประเมินต้องดูยิ่งใหญ่และเยอะอย่างเข้าไว้ แต่กลับครูร่มเกล้าสิ่งที่เคยทำมาตลอดนั้นต้องเปลี่ยนแปลงได้และ "ครบเครื่องเรื่องครู" คือหนึ่งความเปลี่ยนแปลงและหนึ่งความ "ท้าทาย" ที่ครูร่มเกล้าแสดงให้เราได้เห็นว่าระบบถูกท้าทาย ตั้งคำถาม ตีความใหม่ถึงความเหมาะสมได้ ไม่ใช่สักแต่ "ทำตาม ๆ กันมา"
อีกข้อหนึ่งคือ "ครบเครื่องเรื่องครู" แสดงให้เราเห็นว่าภาระงานของครูหลายอย่างมันก็ดูมากจนเกินควรไปหว่าการทำหน้าที่ในการสอนหนังสือของครูเป็นอย่างมาก เมื่ออ่านหนังสือ "ครบเครื่องเรื่องครู" จบลง เราเองไม่แปลกใจที่ทำไมน้อง ๆ กลุ่มนักเรียนเลว ถึงได้ออกมาเรียกร้องให้ลดภาระงานของครูในลางเรื่องที่ไม่จำเป็นลงไป และทำไมน้อง ๆ จึงบอกว่า "ถ้าทำไม่ได้ก็ออกไป" เพราะข้อเรียกร้องของน้อง ๆ เหล่านั้นมันถูกต้องที่สุดแล้ว ในเมื่อระบบที่อยู่มาเป็น 100 ปีอย่างกระทรวงศึกษา กำลังถูกท้าทาย ตั้งคำถามและแสดงให้เห็นว่า "ความเปลี่ยนแปลงเกินขึ้นได้" เพราะมีกลุ่มครูและกลุ่มคนลงมือทำให้เห็นแล้ว และรัฐมนตรียังทำอะไรไม่ได้ก็ควร "ลาออกไป" เพราะการผลักดันสิ่งที่มันมีแรงสนับสนุนอยู่แล้วหากยังทำไม่ได้อีก เราอยากจะแนะนำให้รัฐมนตรีกลับไปนอนกอดนกหวีดให้แน่น ๆ อยู่บ้านดีกว่า เพราะมานั่งบริหารอยู่แบบนี้ก็เป็นภาระที่ทำลายอนาคตของเยาวชนทั้งประเทศ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in