รีวิวเว้ย (627) เมื่อพูดถึงความไม่ปกติในปี ค.ศ. 2020 คงหนี้ไม่พ้นที่จะต้องพูดถึงเรื่องของ "ความปกติใหม่" ที่มันเกิดขึ้นมาจากความไม่ปกติของปีดังกล่าว ตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 กระทั่งในเวลานี้ (กันยายน 2020) ความไม่ปกติของปีดังกล่าวยังคงดำเนินต่อมากระทั่งถึงวันนี้ หากให้ตั้งต้นในการเล่าเรื่องของความไม่ปกติของช่วงเวชาที่ผ่านมา มันคงมีจุดเริ่มต้นได้จากหลายเหตุปัจจัยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไฟป่าออสเตเลีย ทหารโคราช ชิงทองลพบุรี และยังมีอีกหลาย ๆ เหตุการณ์ที่มันดูไม่ปกติเอาเสียเลยหากนับเป็นเหตุการณ์ในการเริ่มต้นปี หลายคนก็คงคิดแล้วว่าปีนี้คงเป็นปีที่หน่วงหนักน่าดูชม กระทั่งการระบาดของ COVID-19 แพร่กระจายออกไปทุกประเทศทั่วโลกนั่นคงเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 2020 ที่นำพาโลกไปสู่สภาวะของความไม่ปกติ ที่จะกลายมาเป็น "ความปกติใหม่" ในท้ายที่สุด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่าง ๆ นานานั้นสร้างความประหลาดใจเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิตของเราในปี 2020 กระทั่งเหตุการณ์ในประเทศไทยเองก็เกิดเรื่องที่เราอาจจะเรียกว่ามันจะกลายมาเป็น "ความปกติใหม่" ของสังคมไทยได้เช่นกัน อย่างการพูดถึงบทบาทและความสำคัญของ "สถาบันพระมหากษัตริย์" ที่เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ "การชุมนุมเสกคาถาผู้พิทักษ์ต่อต้านเผด็จการ" และ "การชุมนุมของธรรมศาสตร์เพื่อการชุมนุม" ที่เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของความปกติใหม่ขึ้นในสังคมไทย และหลังจากนั้นในอีกหลายวาระความปกติใหม่ของการชุมนุมเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ดำเนินไปอย่างคึกคักยิ่งในสังคมไทย การเกิดขึ้นของความ "ปกติใหม่" ใน "สถาน ณ กาลไม่ปกติ" จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับสังคมไทย โดยเฉพาะในเรื่องของการทำในสิ่งที่พึงกระทำได้มาตั้งนานแล้ว ทั้ง ๆ ที่มันเป็นความปกติในหลายพื้นที่ทั่วโลกแต่กลับประเทศไทยแล้วความเป็น "ปกติ" กลับเป็นความ "ผิดปกติ" ซะงั้น ทั้ง ๆ ที่ความปกติของสังคมไทยมันคือความผิดปกติของ "สังคมโลก" น่าเศร้าใจที่คนบางกลุ่มยังคงเข้าใจว่า สิ่งผิดปกติในสังคมไทยคือความปกติที่เป็น "สากล" เอาจริง ๆ เราอยากจะพูดออกมาดัง ๆ ให้กับคนที่มองสภาวะบิดเบี้ยวแบบนี้ได้ยินว่า "ถ้าสังคมนี้มันปกติจริง ๆ ก็ตลกละไอ้สัส" แต่ไม่พูดดีกว่าแค่ "คิดในใจก็พอแล้ว"
หนังสือ : สถาน ณ กาลไม่ปกติ
โดย : a day volume 21, issue 241
จำนวน : 270 หน้า
ราคา : 150 บาท
"สถาน ณ กาลไม่ปกติ" ก็นับเป็นสิ่งผิดปกติของนิตยสาร a day ที่ในครั้งนี้มีการเปบี่ยนโฉมหน้า รูปแบบ รูปเล่ม เนื้อหาที่นำเสนอให้แตกต่างออกไปจาก "ฉบับปกติ" เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะใครจะไปเชื่อว่า a day ฉบับที่ 241 จะเปลี่ยนแปลงขนาดรูปเล่มให้มีขนาดเท่ากับหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คทั่วไป และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ สำหรับ a day เล่มนี้นั้น "ไม่มีคนสันปก" ซึ่งมันก็จะดูแปลก ๆ ไปสำหรับ a day
แต่ด้วยความตั้งใจของกองบรรณาธิการของนิตยสารที่มีคสามมุ่งมันจะแสดงให้เห็นถึงสภาวะของความ "ไม่ปกติ" ในช่วงของ "สถาน ณ กาลไม่ปกติ" ทำให้เล่มนี้มีการเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้สอดรับกับสภาวะดังกล่าว โดยที่ทีมหลักของเล่ม "สถาน ณ กาลไม่ปกติ" ตั้งใจที่จะพูดถึงความไม่ปกติ ผ่าน "เรื่องสั้นทั้ง 15" ที่ถูกเขียนขึ้นโดยทั้งนักเขียนและนักวาด 15 คน ที่หยิบยกเอาเรื่องราวของสภาวะของความ "ไม่ปกติ" ของปี ค.ศ. 2020 มาตีความผ่านตัวอักษรและผ่านการสร้างงานในแต่ละรูปแบบตามที่ผู้สร้างงานมีความถนัด
ซึ่งการตั้งคำถามและการท้าทายสภาวะของความไม่ปกติในเล่ม "สถาน ณ กาลไม่ปกติ" ทำให้เราได้เห็นถึงมุมมองใหม่ ๆ ผ่านบันทึกและการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านผลงานทั้ง 15 ชิ้น ที่นอกจากจะตั้งคำถามถึงสภาวะของการระบาดของ COVOD-19 แล้ว เรื่องราวที่บิดเบี้ยวและผิดรูปร่างของสังคมนี้ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาบอกเล่า เขียนถึงและตั้งคำถาม ถึงสภาวะของความ "ไม่ปกติ" ที่เป็น "ปกติ" ของสังคมไทยไปพร้อม ๆ กันด้วย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in