รีวิวเว้ย (621) หลังจากที่รีวิวยิทานล้านบรรทัดเล่มที่ 1 และ 2 ไปแล้วทำให้เราต้องกลับมานั่งคิดอีกครั้งว่าจะเขียนบทเกริ่นของหนังสือเล่มที่ 3 ในชุดนี้อย่างไรดี (?) เอาเข้าจริงพอเราลองมอง "นิทาน" ให้ดี ๆ อีกครั้งหนึ่งเราจะพบว่าหลายครั้งนิทานหลายเรื่องถูกใช้ในฐานะของ "เครื่องมือ" เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างของผู้เล่ามาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนิทานสอนใจ นิทานสอนหญิง วรรณคดีไทย หรือแม้กระทั่งนิทานของนักเล่านิทานระดับตำนานอย่างคนย้านกริมและพ่อหนุ่มอีสป ล้วนแต่ใช้นิทานเพื่อเป็นเครื่องมือในการผลักดันเป้าหมายบางอย่างแทบทั้งนั้น และเมื่อเราลองย้อนมอง "นิทานของรัฐไทย" เราก็พบว่าเรื่องราวและเรื่องเล่าหลาย ๆ เรื่องที่รัฐสร้างขึ้น มันนับเป็นนิทานที่อยู่ในฐานะเครื่องมือของรัฐ โดยเฉพาะการทำงานของเครื่องมือชิ้นดังกล่าวคือการผลิตซ้ำค่านิยมโดยรัฐที่ตัดโอกาสในการตั้งคำถามของเราออกไป ซึ่งนอกเหนือไปจากแบบเรียนโดยรัฐแล้ว นิทานหรือเรื่องเล่าในฐานะของตำนานพื้นถิ่นที่ถูกกำกับโดยรัฐ มันก็นับเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการควบคุมตรวจสอบความรู้สึกนึกคิดของคนในรัฐเช่นเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วการเลือกฟังนิทาน หรือเลือกที่จะเล่านิทานสักเรื่องที่ถูกสร้างภายใต้แนวคิดของรัฐไทยให้ลูกหลานของเราในอนาคตฟัง เราอาจจะต้องคิดให้ดีว่า "นิทาน" มันก็คงเป็นแค่นิทาน และคนในนิทานจะถูกเติมแต่งอย่างไรก็ได้ เพื่อให้ดูเป็นคนที่เหนือกว่าคนทั่วไปและมีความชอบธรรมมากพอที่จะปกครองคนอื่นในฐานะของ "ผู้ใต้ปกครอง" ซึ่งมันอาจจะไม่ได้เป็นความจริงดังที่นิทานอยากให้เรา "เชื่อ" แบบ "ไม่ตั้งคำถาม"
หนังสือ : นิทานล้านบรรทัด 3
โดย : ประภาส ชลสรานนท์
จำนวน : 184 หน้า
ราคา : 215 บาท
"นิทานล้านบรรทัด 3" ส่วนนี้ขอให้ทุกครกลับไปอ่านที่ "นิทานล้านบรรทัด 1" ขอบคุณครับ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in