เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
IN CONVERSATION By ใบพัด นบน้อม
  • รีวิวเว้ย (600) การพูดคุยทำความเข้าใจ แลกเปลี่ยน เพื่อที่จะเรียนรู้น่าจะเป็นรูปแบบของการสื่อสารยุคแรก ๆ ของมนุษย์ทั้งโลกที่เกิดขึ้นก่อนการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ ไม่ว่าจะด้วยละกษณะของภาษาแบบใดก็ตามแต่ นั่นทำการการพูดคุยเงเป็นสิ่งที่ทรงพลัง และมีความเท่าเทียมในตัวเองในฐานะของภาษาของการสื่อสารที่เกือบทุกคนเข้าถึงได้ เมื่อคนคนหนึ่งเป็นสมาชิกของชุมชนหนึ่ง ๆ ที่ใช้ภาษาในแบบเดียวกัน แต่ลักษณะของการใช้ภาษานี้เอง ก็เป็นหนึ่งในรูปแบบของการแบ่งแยกและกีดกันที่สำคัญอีกประการหนึ่ง อาทิ ในครั้งอดีตเกาะอังกฤษถูกแบ่งแยกด้วยภาษาใน 2 ลักษณะ นั่นคือภาษาของชนชั้นปกครอง (ภาษาฝรั่งเศส) และภาษาของคนชั้นล่างที่เป็นชาวนา (อังกฤษ) กระทั่งเมื่อการแพร่ระบาดของ "ความตายสีดำ" มาถึง มันได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมและโครงสร้างของการใช้ภาษาในสังคมอังกฤษไปเสียอย่างสิ้นเชิง เพราะกลุ่มชนชั้นนำได้มลายหายไปเกือบหมดสิ้น ซึ่งส่งผลให้ภาษาอะงกฤษกลายมาเป็นภาษาหลังของเกาะอังกฤษอย่างในปัจจุบัน (ภาษาอังกฤษกับโรคห่า ความรอดของภาษาหนึ่ง ไมเคิล ไรท์, ใน ห่าลงจากจีนถึงไทยตายทั้งโลก: ศิริพนจ์ เหล่ามานะเจริญ) นั่นเป็นการแวดงให้เห็นว่าในท้ายที่สุดแล้วภาษาเองก็ถูกทำให้กลายเป็นเครื่องมือระหว่างชนชั้นได้ไม่อยากนักเมื่อมาอยู่ในมือของคนแต่ละสังคม และลักษณะของการใช้ภาษาเพื่อแบ่งแยกพื้นที่และชนชั้นยังปรากฎขึ้นในอีกหลายสังคม อาทิ สังคมไทย ที่โครงสร้างของภาษามีความชัดเจนมากในเรื่องของการแบ่งแยกชนชั้นในสังคม น่าแปลกในที่ภาษาจากสิ่งที่เป็นสากลในการสื่อสารของทุกคนสังคม (ถ้าคนพูดคนฟังเข้าใจกัน) ที่เกือบทุกคนสามารถเข้าถึงและพูดคุยกันได้ กลับกลายมาเป็นเครื่องมือของการแบ่งแยกที่ชัดเจน นอกจากนั้นแล้วสังคมหนึ่ง ๆ ยังสร้างเรื่องที่ "ห้ามพูดถึง" ขึ้นมาเป็นกรอบอีกชั้นหนึ่งของเงื่อนไขในการใช้ภาษาของสังคมนั้นด้วยซ้ำไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ความจริง ประชาธิปไตย หรือแม้แต่เรื่องของกษัตริย์ผู้ปกครองในรัฐนั้น ๆ ก็ตามที่
    หนังสือ : IN CONVERSATION
    โดย : ใบพัด นบน้อม
    จำนวน : 700 หน้า
    ราคา : 550 บาท

    "IN CONVERSATION" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของ "บทสนทนา" ที่น่าจะเป็นหนังสือบันทึกบทสนทนา "ขนาดยาวที่สุด" เท่าที่เราเคยอ่านมา เพราะมีความยาวของคำนวนหน้ามากถึง 700 หน้า และมีผู้ถูกสัมภาษาณ์และบันทึกบทสนทนาลงในหนังสือเล่มนี้มากกว่า 10 คน (ในค่าประมาณเพราะมันเยอะจนขี้เกียจนับ) โดยที่บันทึกการสนทนาในหนังสือเล่มนี้ของผู้ถูกสัมภาษณ์บางคนก็เคยปรากฎมาแล้วในที่อื่น และของบางคนก็ปรากฎขึ้นในหนังสือเล่มนี้เป็นครั้งแรก

    อาจจะเรียกได้ว่าบททนทนาที่ปรากฎขึ้นใน "IN CONVERSATION" นั้นพากเราเข้าไปทำความรู้จักบางด้านของผู้ถูกสัมภาษณ์ที่เราเองอาจจะคาดไม่ทันถึงว่าบุคคลที่เราเจอหน้าผ่านสื่ออยู่บ่อยครั้ง จะมีรูปแบบของชีวิต หรือมีความลับบางประการที่เก็บซ่อนเอาไว้ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นช่วยให้เราเข้าใจและเห็นภาพในมิติที่ต่างออกไปของคนคนนั้นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะมิติที่ทำให้เรารับรู้ได้ว่าพวกเขาก็เป็นคนคนหนึ่งของสังคมนี้เช่นกัน

    "IN CONVERSATION" ตั้งคำถาม แสวงหาคำตอบผ่านบทสนทนาและบทสัมภาษณ์ที่ของหลายคนเมื่อเราอ่านแล้วเราพบว่า เรื่องที่ถูกสัมภาษณ์นั้นหลายครั้งมันถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ "เรื่องลับ" ที่มีค่อยมีใครอยากพูดถึง และไม่ควรที่จะพูดถึงในสังคมไทย สังคมที่มีผู้ทรงศิลธรรมอยู่ในทุกหัวมุมถนน อาจจะเรียกได้ว่า "IN CONVERSATION" ได้พาให้เรากลับไปตั้งคำถามถึงความเป็น "สามัญ" ของการพูดคุย และทำให้เราเห็นว่า "ความลับ" บางอย่างที่คววรจะเป็นเรื่องลับและเรื่องต้องห้ามของสังคมไทย มันไม่ได้เป็นเรื่องลับหรือต้องห้ามอะไรเลยสักน้อย มีเพียงแค่สังคม "ประสาทแดก" แห่งนี้เท่านั้นเองที่ทำให้พวกมันกลายเป็น "เรื่องลับ" ที่ "ห้ามพูดถึง"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in