เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร (พิมพ์ 2) By ชาตรี ประกิตนนทการ
  • รีวิวเว้ย (587) ถ้าย้อนกลับไปพูดถึงเรื่องของ "คณะราษฎร" น่าจะมีน้อยคนที่รู้จัก คุ้นชิน หรือเคยได้ยินชื่อของคนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะเมื่อย่อนไปในช่วง พ.ศ. 2520-2548 ชื่อของคณะราษฎรอาจจะไม่ได้ปรากฎออกมาในวงกว้าง ที่จะกว้างพอให้เกิดการรับรู้ในกลุ่มคนที่ไม่ได้สนใจหรือติดตามเรื่องราวของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ในช่วงเวลาดังกล่าวชื่อที่เราอาจจะเคยได้ยินผ่านหู ได้เห็นภาพผ่านตามาบ้าง ก็อาจจะมีชื่อของ จอมพล ป., ปรีดี พนมยงค์ และพระยาพหล ช่วงเวลาดังกล่าวเราอาจจะได้ยินชื่อของบุคคลเหล่านี้แบบแยกขาดออกจากกัน ทั้งในฐานะของ "อดีตนายก" หรืออดีตผู้นำที่มีบทบาททางประวัติศาสตร์บ้างผ่านหนังสือเรียน แต่เมื่อภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 กระแสของการย้อนกลับไปหา "คณะราษฎร" กลับเริ่มขึ้นมามีบทบาทและมีการพูดถึงในสังคมไทยในช่วงเวลานั้นขึ้นมาบ้าง ชื่อของคณะราษฎรกลับเข้ามาอยู่ในความรับรู้ หรือกลับเข้ามาอยู่บนหน้าประวัติศาสตร์ชองเหตุการณ์ทางการเมืองอีกครั้งหนึ่งภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ซึ่งภายหลังการกลับมาของคณะราษฎรในครั้งนั้น ก็ได้มีกระแสในเรื่องของคณะราษฎรติดตามมาอีกพอควร โดยเฉพาะเมื่อกระแสของการทุบทำลายอาคารศาลฎีกา เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2550 ทำให้มีการกลับมาพูดถึงคณะราษฎร พร้อมกับกระแสของการทุบทำลายอาคารศาลฎีกาดังกล่าว แต่ความรับรู้ในเรื่องนี้ยังไม่ปรากฎเป็นกระแสทางในทางสังคมเท่าไหร่นัก กระทั่งภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ที่การกลับมาของคณะราษฎรมีปรากฎขึ้นอย่างชัดเจน โดยการหยิบยืนเอาอุดมการณ์ของคณะราษฎรมาใช้ในการล้อเลียนและต่อต้ายการรัฐประหาร และยิ่งเมื่อเกิดกระแสของการทุบทำลายความทรงจำของคณะราษฎรอีกครั้งตั้งแต่เรื่อง "หมุดคณะราษฎรหาย" ได้ "หมุดไพร่ฟ้าหน้าใส่" มาแทนที่ในช่วง พ.ศ. 2560 และหลังจากนั้นกระแสของการทุบทำลายมรดกทางด้านศิลปะ สถาปัตยกรรมที่มีความเกี่ยวโยงกับคณะราษฎรเกิดขึ้นอย่างครื้นเครงทุกหย่อมหญ้า ตั้งแต่การยกอนุสาวรีย์ปรากบฎหายไปและได้ตอหม้อสะพานมาแทนที่, เปลี่ยนชื่อค่ายพิบูลยสงครามและค่ายพหลโยธิน, ย้ายรูปจอมพล ป. และพระยาพหล อีกทั้งในหลายพื้นที่ในประเทศได้เกิดกิจกรรมทำลายความทรงจำของคณะราษฎร "แบบครบวงจร" ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการกระทำ "อาชญากรรมต่อความทรงจำ" โดยรัฐหรืออาจจะเหนือรัฐ (ผู้ลงมือ) ก็เป็นได้ แต่การลงมือกระทำดังกล่าว นอกจากจะทำให้ศิลปะและสถาปัตยกรรมของคณะราษฎรบางส่วนหายไปได้แล้ว มันกลับสร้างกระแสของการเรียกร้องความทรงจำและการทำจำลองแบบของ "ของที่หายไป" ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะหมุดก่อกำเนิดประชาธิปไตยหรือหมุดคณะราษฎร และมันยังปลุกกระแสของการกลับมาของ "ประกาศคณะราษฎร" อีกครั้งหนึ่ง ที่ถ้าใครลองไปหาอ่ายดูก็จะพบว่าคำในประกาศคณะราษฎรฉบับที่หนึ่งนั้นสามารถเอามาต่อยอดหากินด้วยการเอาโค้ตคำมาทำสินค้าเพื่อระลึกถึงคณะราษฎรได้อีกมาก และแน่นอนหนังสือเล่มนี้ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการตีกลับของกระแสความพยายามในการทำลายความทรงจำของ "คณะราษฎร" ที่ไม่เพียงแต่ทำในหนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์อีกครั้ง หากแต่ยังช่วยให้หนังสือเล่มนี้ปรับรูปแบบจาก "หนังสือ" มาสู่ "ของสะสม" ที่มีคุณค่าและความรู้ในทางวิชาการ ที่เกี่ยวโยงกับเรื่องราวและความทรงจำของ "คณะราษฎร" 
    หนังสือ : ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร (พิมพ์ 2)
    โดย : ชาตรี ประกิตนนทการ
    จำนวน : 392 หน้า
    ราคา : 480 บาท

    "ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร (พิมพ์ 2)" ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 นี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของหนังสือจากครั้งก่อนไปอย่างมาก โดยที่การออกแบบเล่มในครั้งนี้ น่าขะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของการยกระดับให้หนังสือสามารถเก็บสะสมได้ พร้อม ๆ กับการเป็นหนักสือวิชาการที่ว่าด้วยเรื่องของศิลปะ และสถาปัตยกรรมของคณะราษฎรเล่มแรก ๆ ที่พูดถึงแนวคิดในเรื่องของ "คณะราษฎร" ที่ไปผูกโยงอยู่กับ "ศิลปะและสถาปัตยกรรม" ทำให้รูปเล่มของการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 นี้ถูกออกแบบมาให้เป็นรูปเล่มแบบปกแข็งและออกแบบรูปเล่มใหม่ทั้งหมด 
    นอกจากการออกแบบรูปเล่มใหม่แล้ว "ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร (พิมพ์ 2)" ยังได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาเข้ามาอีก 4 บทความ ที่ถูกนำมาปรับและจัดลำดับก่อนหลังเพื่อให้สอดรับกับจังหวะของการอ่าน ของหนังสือ รวมทั้งบทคสามเดิมในเล่มพิมพ์ครั้งแรก ได้มีการปรับแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลมากยิ่งขึ้น ตามที่หลักฐานของงานศึกษาทางวิชาการปรากฎขึ้น

    หากจะให้นิยาม "ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร (พิมพ์ 2)" อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนังสือวิชาการที่มีบทชาทสำคัญ ต่อการทำความเข้าใจ และสร้างความรับรู้ให้กับผู้อ่านต่อเหตุการณ์ของการทุบทำลาบความทรงจำของคณะราษฎร ที่ถือว่าเป็นความทรงจำอีกชุดหนึ่งที่สำคัญของประเทศไทย เราเองต้องไม่ลืมว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คุณค่าของมันอยู่ที่ "ความเสมอหน้าอย่างเท่าเทียมของคนทุกคน" หนังสือเล่มนี้กำลังย้ำเตือนกับเราว่า "จงอย่าลืม" หัวใจสำคัญดังกล่าว และหนังสือยังชี้ชวนให้เรามองถึงกลุ่มของคนที่พยายามจะสถาปนาอำนาจของตนที่เหนือขึ้นไปว่าคนอื่น ๆ ในประเทศ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in