เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
วิถีแห่งเต๋า By เหลาจื่อ แปลและเรียบเรียง พจนา จันทรสันติ
  • รีวิวเว้ย (585) กับหนังสือหลาย ๆ เล่มที่เราซื้อมาอ่าน หลายคนอาจจะอ่านมันเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น เมื่ออ่านจบก็เก็บมันเข้าไปวางบนชั้น บ้างคนก็อนจจะเก็บมันลงกล่อง หรือบางคนก็อาจจะส่งมันต่อให้กับคนอื่น เพราะหนังสอหลายเล่มที่คนเราเลือกอ่านมันเป็นหนังสือที่ไม่ว่าจะอ่านสักกี่ครั้ง "ตอนจบของหนังสือก็เป็นเหมือนเดิม" อาจจะเรียกได้ว่าบนโลกใบนี้ น่าจะมีหนังสือจำนวนน้อยมาก ๆ ที่เมื่อเราหยิบมันขึ้นมาอ่าน ในช่วงเวลาและช่วงวัยที่แตกต่างกันออกไป ความรับรู้ ความเข้าใจ และสิ่งที่ได้จากหนังสือเล่มเดินจะแตกต่างกันออกไปในทุกครั้งที่หยิบมันขึ้นมา "อ่านใหม่" ทำให้ทุกครั้งที่หยิบมันมาเปิดอ่าน สิ่งที่ได้จากหยังสือเล่มนั้น เปรียบเสมือนการอ่านหนังสือเล่มใหม่อยู่ตลอดเวลา สำหรับหนังสือเล่มนี้ก็เช่นกัน เราหยิบมันขึ้นมาอ่านเป็นครั้งที่ 3 ก็ยังได้รับความจากสารที่อ่าน ไม่เคยเหมือนกันสักครั้ง ถ้าถามว่าในชีวิตจะมีหนังสือสักกี่เล่มที่อ่านซ้ำแล้วได้รับความเข้าใจไม่คล้ายเดิม "วิถีแห่งเต๋า" จะเป็นหนึ่งในเล่มที่ทำได้แบบนั้น และเราก็ยังเชื่อว่าในวันข้างหน้าถ้าเราลองหยิบมันมาอ่านเป็นครั้งที่ 4, 5 และ 6 ความเข้าใจและความรับรู้ที่ได้ก็คงจะเปลี่ยนแปลงไปเหมือนกับทุกครั้งที่ผ่านมา
    หนังสือ : วิถีแห่งเต๋า
    โดย : เหลาจื่อ แปลและเรียบเรียง พจนา จันทรสันติ
    จำนวน : 512 หน้า
    ราคา : 550 บาท

    "วิถีแห่งเต๋า" เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของ "เต๋า" ซึ่งการจะอธิบายว่า "เต๋าคือสิ่งใด" นั่นไม่ใช่สิ่งที่พึงกระทำได้เพราะ "สิ่งที่อธิบายได้มิใช่เต๋า" และข้อความบางส่วนในบทที่ 1 ของ "วิถีแห่งเต๋า" ได้อธิบายถึงเต๋าเอาไว้ว่า

    เต๋าที่อธิบายได้มิใช่เต๋าอันอมตะ
    ชื่อที่ตั้งให้กันได้มิใช่ชื่ออันสูงส่ง
    เต่านั้นมิอาจอธิบายและมิอาจตั้งชื่อ
    เมื่อไหร่ชื่อทำฉันใดจักให้ผู้อื่นรู้
    ข้าพเจ้าขอเรียกสิ่งนั้นว่า "เต๋า" ไปพลาง ๆ
    (วิถีแห่งเต๋า, 81)

    จะเห็นได้ว่าการจะอธิบายว่าอะไรคือ "เต๋า" อาจจะไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถทำได้ ได้อย่างง่ายดายนัก เพราะเมื่อใดที่สิ่งหนึ่งถูกตั้งชื่อสิ่งนั้นจะสูญเสียสภาวะของความเป็น "เต๋า"

    เรายอมรับโดยดีว่าเราอ่านหนังสือ "วิถีแห่งเต๋า" ครั้งแรกในฐานะของหนังสือ "บังคับอ่าน" ของวิชาปรัชญาการเมือง ของคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ซึ่งช่วงเวลานั้นไม่ได้มีแค่ "วิถีแห่งเต๋า" ที่เป็นหนังสือบังคับอ่าน หากแต่ยังมีหนังสือปรัชญาอีกมากที่ถูกจัดให้เป็นหนังสือบังคับอ่านเช่นกัน และแน่นอนว่าหลังจากอ่าน "วิถีแห่งเต๋า" จบลงในครั้งแรกเราก็ยังไม่เข้าใจว่าอะไรคือ "เต๋า"

    การอ่านครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่เรียน ปริญญาตรีจบมาสักพักหนึ่ง ซึ่งเป็นการอ่านเพื่อทบทวนถึงเนื้อหาที่เคยเรียนมา และเป็นการทบทวนตัวเองอีกครั้งว่าเราจะเข้าใจ "ความเป็นเต๋า" บ้างหรือยัง (?) ซึ่งแน่นอนว่า "ไม่เลยสักนิด" แต่ความแปลกประหลาดคือ ความเข้าใจในเนื้อหาของเนื้อความในหนังสือทั้ง 81 บท แตกต้างออกไปจากการอ่านครั้งแรกเป็นอย่างมาก ซึ่งเราก็ไม่อาจอธิบายได้ว่าเพราะอะไร

    และการอ่านครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการอ่านที่นำมาสู่การเขียนรีวิวนี้ขึ้นมา ก็ไม่ต่างจากการอ่านครั้งที่ 2 เพราะสิ่งที่เราได้รับจากการอ่าน "วิถีแห่งเต๋า" มันเปลี่ยนแปลงไปจากครั้งที่ 1 และ 2 อย่างน่าประหลาดใจ หลายบทใน "วิถีแห่งเต๋า" ที่เราเคยไม่เข้าใจหรือเข้าใจไปในบริบทอื่น ๆ มันเปลี่ยนแปลงไปในการอ่านครั้งที่ 3 ซึ่งน่าแปลกที่จะหาหนังสือสักเล่มที่เปลี่ยนแปลงความรับรู้และความเข้าใจของเราได้ โดยที่ตัวหนังสือในหนังสือยังคงเดิมในทุกประการ

    สำหรับ "วิถีแห่งเต๋า" เล่นนี้เป็นเล่มจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ มรการปรับรูปเล่มให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งเนื้อหาภายในยังคงประกอลไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ (1) ส่วนนำที่พาเราไปทำความเข้าใจในเรื่องของการ้เกิดขึ้นของหนังสือ "วิถีแห่งเต๋า" (2) ส่วนที่เป็นบทตอนจริง ๆ ของหนังสือ "วิถีแห่งเต๋า" ที่ประกอบไปด้วยเนื้อความทั้งสิ้น 81 บท ซึ่งสร้างความรับรู้ที่แตกต่างออกไปได้ในแทบทุกครั้งที่เปิดอ่าน และ (3) ส่วนของภาคผนวกที่หยิบเอาคำอธิบายถึงความสัมพันธ์ของเต๋ากับแนวคิดสำคัญ ๆ อื่น ๆ ที่สอดรับกัน ขัดแย้งกัน มาสะท้อนให้เราเห็นและได้ทำความเข้าใจผ่านบทงิเคราะห์อีกชั้นหนึ่ง

    แต่ก็อย่างที่บอกไปว่า "วิถีแห่งเต๋า" คือหนังสือที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองไป ตามความรับรู้ของผู้อ่าน หากมีใครถามว่าถ้าให้แนะนำหนังสือได้สักเล่มหนึ่งที่น่าจะหามาลองอ่านดู "วิถีแห่งเต๋า" เป็นหนึ่งในเล่มที่ควรจะลองหามาอ่าน และจะสนุกกว่านั้นเมื่อลองอ่านแล้ว และลองแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่น ๆ ดู เราจะพบว่า "วิถีแห่งเต๋า" สร้างวิถีที่แตกต่างกันในเรื่องของความรับรู้และความเข้าใจออกมาได้อย่างมากมายนัก

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in