เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ตามรอยอาทิตย์อุทัย: แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร By ณัฐพล ใจจริง
  • รีวิวเว้ย (576) ปัจจุบันนี้ "ญี่ปุ่น" เป็นประเทศอันดับหนึ่งในด้วงใจของคนไทยหลาย ๆ คน เราเองมีเพื่อนใน Facebook หลายคนที่เรามักจะเห็นเขาขึ้นสถานะบ่อยครั้งว่า "อยู่ญี่ปุ่น" บาวคนบ่อยเหลือเกิน บ่อเสียจนเราเผลอคิดไปว่าเขาคงทำงานสายการบินแล้วบินเส้นทางระหว่างประเทศระหว่างญี่ปุ่นกับไทยอยู่บ่อย ๆ หรือหลายครั้งเราก็คิดไปว่าหรือเพื่อนเราคนนี้ซื้อบ้านอยู่ที่ญี่ปุ่นวะ (?) เห็นแทบทุก 1-2 เดือนจะต้องไปโผล่ที่ญี่ปุ่นสักครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่นเปิดฟรีวีซ่าท่งเที่ยวให้กับชาวไทย เราจะได้เห็นว่าคนไทยนิยมไปญี่ปุ่นอย่างมาก มากเสียจนปีใหม่หรือวันสงกรานต์ในบางปีที่ประเทศญี่ปุ่นอัดแน่นไปด้วยคนไทย นอกจากนี้หนังสือเกี่ยวกับเรื่องของญี่ปุ่นปรากฎขึ้นเยอะมากถึงมากที่สุดบนแผนหนังสือของไทย รวมถึงหนังสือแต่ละเล่มก็บอกเล่าเรื่องราวของญี่ปุ่นไปแตกต่างกันในแต่ละด้าน จนเราเผลอคิดไปว่ามันไม่น่าจะมีใครเขียนหนังสือเกี่ยวกับญี่ปุ่นขึ้นมาได้โดยที่ข้อมูลบางเรื่องจะไม่ไปซ้ำกับหนังสือที่วางแผงอยู่ในร้านหนังสือ แต่เอาเข้าจริงแล้วความนิยมญี่ปุ่นของไทยไม่ได้เพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อญี่ปุ่นเปิดฟรีวีซ่าท่องเที่ยวให้กับคนไทย แต่แท้จริงแล้วความนิยมญี่ปุ่นของไทยเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ยุคที่ประเทศยังชื่อ "สยาม" อยู่เลยด้วยซ้ำไป
    หนังสือ : ตามรอยอาทิตย์อุทัย: แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร
    โดย : ณัฐพล ใจจริง
    จำนวน : 352 หน้า
    ราคา : 390 บาท

    "ตามรอยอาทิตย์อุทัย: แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร" ว่าด้วยเรื่องของกระแสความนิยมญี่ปุ่นของสยามในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ที่รัฐบาลใหม่ที่เป็นรัฐบาลของพลเรือนที่อยู่ภายใต้คณะของบุคคลที่มีชื่อเรียกว่า "คณะราษฎร" ทำหน้าที่ในการบริหารประเทศอยู่ในช่วงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าว โดยที่ความนิยมญี่ปุ่นของกลุ่มคณะราษฎรนั้นเกิดขึ้นมาจาก การที่คณะราษฎรมองเห็นสภานะของมหาอำนาจใหม่ของญี่ปุ่นที่กำลังก่อตัวขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ภายหลังจากการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่บทบาทของญี่ปุ่นในเวทีโลก และในฐานะของประเทศในทวีปเอเชียเพียงประเทศเดียว ที่เริ่มขยับตัวเองขึ้นมามีบทบาทอย่างมากในเวทีโลก

    อีกทั้งในช่วงเวลานั้นญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการทหารที่ญี่ปุ่นสามารถรบชนะรัสเซีย ยึดแมนจูเรีย และยึดเกาหลี ให้เป็นประเทศภายมต้การปกครองของกองทัพญี่ปุ่นได้ นั่นยิ่งทำให้ญี่ปุ่นทวีความวำคัญมากขึ้นในสายตาของสยามประเทศ เพราะนอกจากช่วงเวลาของการเปิดประเทศของญี่ปุ่นและสยามจะใกล้เคียงกันแล้ว แต่ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาขึ้นมายืนอยู่ในฐานะประเทศแถวหน้าของโลกในช่วงเวลานั้นได้ ทำให้สยามสนใจญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และทำให้รัฐบาลของคณะราษฎรในช่วงเวลานั้นดำเนินความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นในฐานะของพันธมิตรอันดีระหว่างกัน

    หนังสือ "ตามรอยอาทิตย์อุทัย: แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร" เขียนขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงมิติความสัมพันธ์ของสยามและญี่ปุ่น ผ่านหลักฐานและบันทึกทางประวัติศาสตร์ ทั้งของญี่ปุ่นและของไทย ที่ช่วยแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาตั้งแต่หลัง 2475 เป็นต้นมารัฐบาลคณะราษฎรให้ความสนใจกับญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการยึดเอาญี่ปุ่ยเป็นต้นแบบในการพัฒนาประเทศ และพัฒนาโครงสร้างต่าง ๆ ภายในประเทศสยาม เพื่อให้มีความเจริญรุดหน้ากว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

    วงการวิชาการบ้านเราเคยเชื่อว่าช่วงเวลาสำคัญของการพัฒนาประเทศของสยาม-ไทย มีอยู่ด้วยกัน 2 ช่วง คือ (1) ช่วงสมัยที่สยามเจริญความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกในช่วงสมัยของรัชกาลที่ 4-5 โดยการยึดเอารูปแบบการพัฒนาของชาติตะวันตกเป็นตัวแบบ ทั้งการเดินทางไปตะวันตกและเดินทางไปในประเทศอาณานิคมของตะวันตกเพื่อศึกษาและคัดเลือกรูปแบบของการพัฒนาประเทศในช่วงเวลานั้น และ (2) ช่วงสมัยของสงครามเย็น ในช่วงของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ที่ไทยเริ่มกระบวนการของการใช้แผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (2504) โดยที่มีสหรัฐเป็นตัวแบบและหลักยึดสำคัญของการพัฒนาของประเทศไทยในช่วงเวลานั้น

    แต่จริง ๆ ช่วงเวลาในการอธิบายการพัฒนาของประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน กลับหายไปจากการศึกษาและถูดพูดถึงน้อยถึงถ้อยมาก จะมีก็แต่การพูดถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อย ๆ จนกระทั่งภาพของพัฒนาการของสยาม-ไทย ใยช่วงเวลาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองขาดหายไปพอสมควร

    "ตามรอยอาทิตย์อุทัย: แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร" คือการเติมต่อช่วงเวลาของการพัฒนาของสยาม-ไทย ที่ขาดหายไป โดยแสดงให้เห็นถึงยุคสมัยของการพัฒนาของสยาม-ไทย ภายใต้การยึดญี่ปุ่นเป็นหลักแบบของการพัฒนาในหลากหลายด้าน นอกจากนั้นแล้ว "ตามรอยอาทิตย์อุทัย: แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร" ยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของญี่ปุ่นที่มีต่อสยาม-ไทย จากครั้งอดีตที่ยังส่งผลมาถึงยุคปัจจุบันในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะในเรื่องของการวางรากฐานของระบบการศึกษา และการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นไปตาม "หลักหกประการของคณะราษฎร"

    จากปัจจุบันเมื่อมองย้อนกลับไปยังอดีตในช่วงเวลาภายหลังการเปลี่ยนแปลง 2475 เราจะพบว่าแท้จริงแล้วความนิยมญี่ปุ่นของไทยนั้น แทบจะไม่ต่างอะไรกับความนิยมญี่ปุ่นในช่วงเวลาของสยาม-ไทย ในครั้งอดีตที่ผ่านมา ซึ่งแน่นอนว่าในบริบทของสิ่งของที่จับต้องได้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ภายใต้หลักคิดของความนิยมในญี่ปุ่นของไทย หลายอย่างยังเป็นสิ่งที่ส่งทอดมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลของคณะราษฎร

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in