รีวิวเว้ย (554) "ความตาย" คือรูปแบบสูงสุดของความกลัวของมนุษย์ เพราะเบื้อหลังของความตาย มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ว่ากลไกเบื้อหลังของมันจะนำพาเราไปสู่พื้นที่แบบใด และด้วยความลับอันดำมืดของคสามตายนี้เอง ที่ช่วยสร้างและเป็นแรงขับดันให้กับอะไรหลาย ๆ อย่าง ทั้งเรื่องของความกลัวที่มีต่อความตาย หรือแม้กระทั่งการขึ้นมาของศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะศาสนาเป็นตัวเลือกที่ดีของการอธิบายโลกหลังความตายโดยอาศัยความเชื่อเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวบางประหารของผู้คน และก็เป็นความตายอีกนั่นแหละที่ขับดันให้เกิดกระบวนการพัฒนา การต่อสู้และการรับมือกับคสามตายผ่านนวัตกรรมของแต่ละห่วงเวลาในประวัติศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่าสาเหตุของการตายหนึ่งที่สำคัญและขับดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากความกลัวตาย ก็คือการตายด้วยโรค เชื้อโรค โรคระบาด ที่อยู่คู่กับโลกกลม ๆ ใบนี้มาเนิ่นนาน และทุกครั้งหลังจากที่โรคระบาดต่าง ๆ จบลง มันมักจะสร้างนวัตกรรมหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ขึ้นมาเสมอ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีให้เห็นอยู่ตลอดในห้วงเวลาทางประวัติศาสตร์ของโลกใบนี้ และแน่นอนว่าในช่วงเวลาของการระบาดของ Covid-19 ภายหลังจากการระบาดจบลง ตัวโรคเองจะต้องทิ้งความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ไว้ให้กับโลกใบนี้อย่างแน่นอน
หนังสือ : จากปีศาจสู่เชื้อโรค: ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย
โดย : ชาติชาย มุกสง
จำนวน : 248 หน้า
ราคา : 220 บาท
"จากปีศาจสู่เชื้อโรค: ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย" ว่าด้วยเรื่องราวของพัฒนาการทางการแพทย์และการสาธารณะสุขในประเทศไทย นับตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนชื่อประเทศมาเป็นไทย โดยถอยไปได้ไกลถึงช่วยเวลาของการระบาดของโรคระบาดร้ายแรงในสมัยก่อนอาณาจักรอยุธยา โดยที่หนังสือเล่มนี้ได้บอกเล่าถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไทยที่มีจุดยึดโยงที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคต่าง ๆ อาทิ กาฬโรค อหิวาตกโรค มาลาเลีย ที่ในครั้งอดีตโรคเหล่านี้จัดเป็นกลุ่มของโรคร้ายแรงที่ฆ่าชีวิตของคนไทยในช่วงเวลานั้นอย่างมาก
"จากปีศาจสู่เชื้อโรค: ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย" ฉายให้เห็นถึงมิติของการระบาดของโรคในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ ว่าแท้จริงแล้วการระบาดของโรคระบาดหลาย ๆ ชนืดเกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสถานที่ เพราะโรคหลายชนิดก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนาการเดินทาง ทั้งทางด้านการค้า และกิจกรรมอื่น ๆ โรคระบาดร้ายแรงเหล่านั้นเคยเป็นโรคประจำถิ่นที่ไม่ได้ร้ายแรงมากมาก่อน แต่ด้วยการพัฒนาของการเดินทาง การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของโรคทำให้โรคประจำถิ่นมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวเองกระทั่งกลายมาเป็นโรคระบาดร้ายแรง ดังที่ปรากฎขึ้นหลายครั้งในห้วงเวลาของประวัติศาสตร์ของโรคใบนี้
โดยที่ "จากปีศาจสู่เชื้อโรค: ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย" บอกเล่าเรื่องราวของการระบาดของโรค การเปงี่ยนแปลงในเรื่องของกลไกการรับมือ รวมถึงคติความเชื่อของคนในพื้นที่โดยเฉพาะในไทย ต่อเรื่องราวของการรับมือโรคระบาด ตั้งแต่ครั้งที่ความเชื่อว่าโรครับาดเกิดขึ้นมาจากการกระทำของผี หรืออำนาจเหนือการควบคุมของมนุษย์ ทำให้เกิดกลไกการค่อสู่กับโรคร้ายด้สยพิธีกรรมทางศาสนา อาทิ การสวดมนต์ การประกอบพิธีอาพาธพินาศ ที่เป็นคติความเชื่อมาแต่ครั้งโบราณกาลก่อน
รวมถึง "จากปีศาจสู่เชื้อโรค: ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย" ยังได้บอกเล่าถึงพัฒนาการทางการแพทย์และระบบสาธารณะสุขของไทยในเรื่องของการรับมือการระบาดของโรคต่าง ๆ ตลอดช่วงระยะเวลาทางประวัติศาสตร์ เท่าที่เอกสารจะเอื้ออำนวย ทำให้เราได้เห็นภาพถึงพัฒนาการทางการแพทย์ของสยามจนถึงไทย และแนวทางของการหยิบใช้กระบวนการของ "การแพทย์แบบป้องกัน" ที่ใช้กันมาเป็นเวลากว่าร้อยปีของระบบสาธารณะสุขของไทย ทำให้เป็นที่เชื่อถือได้ว่าการแพทย์แนวป้องกันของเราไม่น้อยหน้าใครในโลก เพราะเราใช้แนวทางนี้มาตั้งแต่การเริ่มกระบวนการของระบบสาธารณะสุขของประเทศ
นอกจากนี้ "จากปีศาจสู่เชื้อโรค: ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย" ยังบอกเล่าเรื่องราวของกระบวนการในการรับมือ จัดการและป้องกันโรคระบาดสำคัญ ๆ ของสยามถึงไทยตั้งแต่ช่วงสทัย ร.4 กระทั่งถึงปัจจุบัน รวมไปถึงกระบวนการในการกักกันที่เราใช้กันมาเนินนานที่ปรากฎหลักฐานชัดเจนก็ในช่วงสมัย ร.5 ที่มีการกักกันเรือจากจีนเป็นเวลา 9 วันเพื่อป้องกันการระบาดของโรคระบาดที่กำลังเกิดขึ้นในจีนในช่วงเวลานั้น ซึ่งแน่นอนว่าในสมัยนั้นมันก็มีพวกแหกด่านกักกันโรคเช่นเดียวกันกับสมัยปัจจุบัน
อาจจะเรียกได้ว่า "จากปีศาจสู่เชื้อโรค: ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย" ช่วยทำให้เราเข้าใจภาพมุมกว้างและลึกของระบบการแพทย์และสาธาณระสุขของไทยผ่านมิติทางด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งช่วยตอบคำถามเราในบางเรื่องต่อกระบวนการในการรับมือกับโรคห่า Covid-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในยุคปัจจุบัน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in