เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ต้นสายปลายจวัก By กฤช เหลือลมัย
  • รีวิวเว้ย (530) อาหารน่าจะเป็นหนึ่งในข้อุกเถียงที่ถูกหยิบมาพูดคุย ในฐานะของเครื่องมือของความ "อนุรักษ์นิยม" ซึ่งหลายครั้งบทสนทนาในเรื่องของรสชาติก็นำพาไปสู่ข้อถกเถียงในเรื่องของความเป็น "ชาตินิยม" โดยเฉพาะกลไกของความเป็นชาตินิยมและความเป็นอนุรักษ์นิยมทางรสชาติ อาจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา เคยพูดเอาไว้หลายครั้งทั้งในชั่วโมงเรียนและบนโต๊ะกินข้าวว่า "ลิ้นคืออวัยวะที่มีความอนุรักษ์นิยมมากที่สุดของคนทุกคน" เพราะลิ้นเป็นอวัยวะที่รับรสชาติ และประทับรับเอาความคุ้นชินในเรื่องของรสชาติที่เราแต่ละคนเคยลิ้มชิมรสตั้งแต่เด็ก ๆ ทำให้คำว่า "รสมือแม่" เป็นคำที่แสดงถึงความชัดเจนของคสามคุ้นชินและความประทับรสชาติลงในจิตสำนึกของใครหลายคน ในหลาย ๆ ครั้งอาหารกลายเป็นปัญหาที่ถูกพูดถึงอย่างมาก อีกทั้งกลายเป็นประเด็กถกเถียงขนานใหญ่ ที่ขับเคลื่อนสังคมอยู่บ่อนครั้ง อย่างกรณีของการทวงคืนผัดกระเพรา "ที่แท้จริง" ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่มีใครรู้ว่ารสชาติและหน้าตาที่แท้จริงของผัดกระเพราเป็นเช่นไร บทสนทนาทวงถามหาความแท้จริงของอาหารบนฐานของความอนุรักษ์นิยม ยังคงดำเนินไปอยู่เสมอในแทบทุกสังคม และก็พัฒนาจนกลายไปเป็นดราม่าอยู่บ่อยครั้งในสังคม
    หนังสือ : ต้นสายปลายจวัก
    โดย : กฤช เหลือลมัย
    จำนวน : 272 หน้า
    ราคา : 350 บาท

    "ต้นสายปลายจวัก" พาเรามาย้อนทบทวนถึง "อาหารไทย" ในนิยามของสำรับอาหารที่คนไทยกินอยู่เป็นประจำในหลายหลายภูมิภาคและพื้นที่ของประเทศไทย โดยที่อาหารแต่ละชนิดชื่อชั้นของอาหารก็บ่งบอกอยู่บ้างแล้วในทีว่าตัวมันนั้นมืใช่อาหารไทยแท้ หรืออาจจะเรียกได้ว่าตัวของมันนั้นเป็นอาหารที่ถูกนำเข้ามา และพัฒนารสชาติให้ถูกปากคนไทย จนในท้ายที่สุกมันได้กลายมาเป็นอาหารไทย หรืออีกนัยหนึ่งคืออาหารประจำชาติของไทยนั่นเอง

    "ต้นสายปลายจวัก" พาเรากลับไปย้อนความหาที่มาของอาหารหลาย ๆ สำรับที่มีอยู่ในประเทศไทย ทั้งการสืบหาที่มาที่ไปทั้งในทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ อากาศพลศาสตร์ วัสดุศาสตร์ และอีกหลากหลายศาสตร์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับอาหารแต่ละชนิดแต่ละสำรับ อาจจะเรียกได้ว่า "ต้นสายปลายจวัก" ได้ช่วยให้เราได้เห็นภาพของอาหารแต่ละจานที่ถูกแปะป้ายให้เป็นอาหารไทย ว่ามันมีที่มาที่ไป พัฒนาการทางรสชาติ หรือแม้กระทั่งตัวของมันมีความแตกต่างกันอย่างไรในแต่ละพื้นที่และครัวเรือน

    "ต้นสายปลายจวัก" ช่วยให้เรามองเห็นถึงการทำงานของกลไลชาตินิยมทางประวัติศาสตร์ ว่ามันดำเนินการอย่างไรเมื่อมาอยู่ร่วมกับอาหารและทำให้อาหารไทยกลายเป็นหนึ่งในเรื่องชาตินิยมไปได้ในท้ายที่สุด และนอกจากนั้น "ต้นสายปลายจวัก" ยังช่วยให้เราได้สอบทวนถึงความเป็นอนุรักษ์นิยมทางรสชาติของเราว่าแท้จริงแล้วรสอาหารในแต่ละจานแต่ละแบบที่เราบริโภคอยู่นั้น มันมีความแตกต่างออกไปอย่างไรในระดับสำรับของแต่ละภูมิภาค และมันจะไม่แตกต่างได้อย่างไรถ้าเราขยับระดับของรสชาติขึ้นไปเป็นระดับโลก เป็นที่แน่นอนว่ารสชาติของแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างออกไปตามความพึงใจและวัตถุดิบ เช่นนั้นรสชาติของอาหารและความแท้จริงของอาหารตามที่เราแต่ละคนเถียง ๆ กันอยู่นั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีมาตรฐานใดชี้วัดว่ารสชาติลักษณะไหนถูก รสชาติแบบใดผิด หากแต่มันขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้กิน เช่นนั้น ผัดกระเพราจะใส่ถั่วฝักยาว หรือไม่ใส่ ความพึงใจย่อมขึ้นกับผู้บริโภคเสมอ 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in