เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
รุกตะวันออก By สุเจน กรรพฤทธิ์
  • รีวิวเว้ย (516) เวลาที่เราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยในชั้นประถมถึงมัธยมศึกษา "ตัวราย" ในวิชาประวัติศาสตร์ตามแบบเรียนของไทยก็คือ "พม่า" ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจว่านี้ขนาดเราเปิดประชาคมอาเซียนแล้วก็ตามแต่แต่ตัวร้ายในประวัติศาสตร์ก็ยังคงเป็น "พม่า" อยู่เช่นเคย ความแปลกประหลาดของแบบเรียนไทยในวิชาประวัติศาสตร์คงหนี้ไม่พ้นเรื่องของ "การสร้างความรักชาติ" ด้วยการสร้าง "ศัตรูร่วม" ในความทรงจำของคนทั้งสังคมขึ้นมา และแน่นอนว่าศัตรูตัวสำคัญที่ถูกใช้และปลูกฝังมาไม่รู้กี่รึ่นต่อกี่รุ่น ทำให้คนไทยทีทัศนคติต่อการมองเพื่อนบ้านเหล่านั้นเป็นศัตรูและเป็นทาสผู้ต้องมา "ชดใช้กรรม ที่พวกมันเคยทำเอาไว้กับกรุงศรีอยุทธยา" แต่เราก็เปิดอาเซียนแล้วนะ ความน่าประหลาดยังไม่หมดลงเพียงเท่านี้เพราะถ้าเราย้อนกลับไปดูในแบบเรียนสมัยที่เราเป็นเด็กเราจะพบว่า ศรัตรูของสยามในช่วงเวลานั้นดันมีถูกพูดถึงอยู่เพียง 1 ตัวแสดงเท่านั้นเอง แล้วในช่วงเวลานั้นเราไม่มีปฏิสัมพันธ์หรือดินแดนโดยรอบนี้ไม่มีใครอยู่เลยหรือนอกจาก "สยาม" กับ "พม่า" แล้วอาณาจักรที่มีความเข้มแข็งหลาย ๆ แห่งโดยรอบข้างเราหายไปไหนหมดจากหน้าหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ของเรา เอาอย่างง่าย ๆ และใกล้ตัวที่สุดอย่างอาณาจักรเขมรและอาณาจักรเวียดนาม สองอาณาจักรนี้แทบจะมีปรากฏในหนังสือแบบเรียนของไทยน้อยมากทั้ง ๆ ที่ตัวแสดงทั้งสองมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของไทยอย่างชัดเจน โดยเฉพาะช่วงเวลาของ "กรุงธนบุรี" ที่เวียดนามกลายมาเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ประวัติศาสตร์ของสยาม (ไทย) เดินมาถึงปัจจุบันนี้ แต่ช่วงเวลาดังกล่าวกับขาดหายไปจากแบบเรียนของกระทรวงศึกษาอย่างน่าประหลาดใจ 
    หนังสือ : รุกตะวันออก
    โดย : สุเจน กรรพฤทธิ์
    จำนวน : 296 หน้า
    ราคา : 280 บาท

    "รุกตะวันออก" ว่าด้วยเรื่องของประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่าง "สยามกับเวียดนาม" ที่ถูกศึกษาผ่านเอกสาร บันทึก และหลักฐานต่าง ๆ ของทั้งพงศาวดารสยาม เวียดนาม บันทึกของจีน บันทึกของพ่อค้าชาวต่างชาติ ที่ระบุถึงเรื่องของ "สยาม" และ "เวียดนาม" ที่ทั้งสองอาณาจักรต่างมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน นับตั้งแต่เรื่องของการให้ความช่วยเหลือ การแข่งขันขับเขี้ยว หรือแม้กระทั่งเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงราชธานีจากกรุงธนบุรี มาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ที่หลักฐานของเวียดนามได้มีการบันทึกข้อมูลที่น่าสนใจในห้วงเวลาของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

    เนื้อหาใน "รุกตะวันออก" บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของสยามกับเวียดนาม โดยแบ่งเป็นความสัมพันธ์ตามช่วงเวลาอย่างช่วงของกรุงธนบุรี ช่วงของการเปลี่ยนแปลง ช่วงของรัชการที่ 1 กระทั่งถึงช่วงเวลาของการก่อตัวทางด้านความขัดแย้งระหว่างสยามและเวียดนามในช่วงรัชการที่ 2 ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นสงครามที่ถูกเรียกว่า "อานานสยามยุทธ" ที่มีบันทุกอยู่ติ่งหนึ่งในแบบเรียนประวัติศาสตร์ของกระทรงศึกษาธิการ

    ความน่าสนใจของ "รุกตะวันออก" คือการเปิดเผยหลักฐานในเรื่องของความสัมพันธ์ของสยามและเวียดนามที่ขาดหายไป และช่วงเวลาที่ขาดหายไปนี้เองที่มันทำให้ความสมเหตุสมผลบางประการของพงศาวดารของไทยขาดความต่อเนื่องบางประการไป อาจจะเรียกได้ว่า "รุกตะวันออก" ช่วยเติมเต็มประวัติศาสตร์อีกด้านอีกมุมหนึ่งของสยามที่ขาดหาย ให้มีภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์ในพงศาวดารสยามและแบบเรียนของกระทรวงศึกษายังคงมีอีกหลายส่วนหลายตอนที่ขาดหาย และอีกหลายส่วนหลายตอนที่มันขสดความสมเหตุสมผลไปอย่างสิ้นเชิง เป็นที่น่าเชื่อถือว่าอีกไม่นานนี้ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ คงถูกชำระไปทีละเรื่องื่ละตอน เพียงแค่ทุกสิ่งอย่างต้องรอคอยเวลาของมันก็เท่านั้นเอง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in