เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ตระกูลการเมืองกับการเลือกตั้ง By สติธร ธนานิธิโชติ
  • รีวิวเว้ย (515) ตั้งแต่หลังการเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นเมื่อปี 2562 เกิดขึ้น เราจะได้ยินสกุลของใครบางคนอย่าง "ไกรคุปต์" ปรากฎขึ้นในหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อหลายแขนงอยู่เป็นระยะ นับจากวันที่ กกต. ประกาศสูตรคำนวนคะแนน และสมาชิกสภาผู้แทนได้เกิดขึ้น ชื่อของ ปารีณา ไกรคุปต์ ก็โผลขึ้นมาบนหน้าฝีดบ่อยพอ ๆ กับเห็นป่าในหน้าฝน ทั้ง "อีช่อ" และเรื่องราวของความมะเทิงต่าง ๆ ปรากฎขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมื่อ "ปารีณา" ขยับตัว หลังจากกระแสข่าวของครอบครัว "ไกรคุปต์" ปรากฎขึ้นบ่อยครั้ง ใครหลายคนเริ่มตั้งคำถามว่า "ครอบครัวนี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนกันมาได้อย่างไรหนอ (?)" ซึ่งหลายคนอาจจะตั้งคำถามเฉย ๆ ไม่ได้ต้องการคำตอบแบบจริงจังอะไร หรือหลาบคนกลับต้องการแสวงหาคำตอบจริง ๆ ว่าคนเหล่านี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างไร ในส่วนของพ่อของปารีณา (ทวี ไกรคุปต์) ถ้าใครอยากรู้ว่าเขาเป็น ส.ส. ได้อย่างไรอาจจะต้องลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเอาเอง แต่สำหรับเคสของ "ปารีณา ไกรคุปต์" เราพอจะมีหนังสือที่อยากจะแนะนำให้ทุกคนได้ลองอ่านดู แล้วมันอาจจะช่วยตอบคำถามได้ว่า "ปารีณา" เข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างไรกัน
    หนังสือ : ตระกูลการเมืองกับการเลือกตั้ง "มนตร์ขลัง" หรือ (แค่) พลังที่ "ถดถอย"
    โดย : สติธร ธนานิธิโชติ
    จำนวน : 196 หน้า
    ราคา : 260 บาท

    ตระกูลการเมืองกับการเลือกตั้ง "มนตร์ขลัง" หรือ (แค่) พลังที่ "ถดถอย" หนังสือที่ปรับปรุงมาจากงานวิจัย (คิดว่าคงชื่อเดียวกันกับชื่อหนังสือ) ที่ว่าด้วยเรื่องของการศึกษา "ตระกูลการเมือง" หรือที่หลาย ๆ คนรอาจจะรู้จักในชื่อของ บ้านใหญ่, เจ้าพ่อ, ผู้มีอิทธิพล ของแต่ละพื้นที่ ที่สืบทอดอำนาจของการถือครองคะแนนเสียงในพื้นที่ต่าง ๆ ภายใต้การดูแลปกปักรักษาและปกป้องของกลุ่มตระกูลของตนมาอย่างยาวนาน กระทั่งกลายเป็นเจ้าที่เจ้าทางประจำพื้นที่ต่าง ๆ เหล่านั้นไปโดยปริยาย 

    ตระกูลการเมืองกับการเลือกตั้ง "มนตร์ขลัง" หรือ (แค่) พลังที่ "ถดถอย" บอกเล่าเรื่องราวของการส่งผ่านตำแหน่งทางการเมืองของคนภายใน "ตระกูล" เดียวกัน จากรุ่นสู่รุ่น จากพื้นที่สู่พื้นที่ และจากพื้นที่สู่นอกพื้นที่ ว่าตระกูลการเมืองเหล่านี้สามารถดำเนินกลไกของการส่งผ่ายอำนาจแบบนามธรรม (ที่ทำให้คนไปเลือก) ได้อย่างไร เพราะจากข้อมูลของงานศึกษาชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าตระกูลการเมืองในไทย เป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งของระบบการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยของไทย ที่ตระกูลการเมืองเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยสร้างในเกิดนักการเมืองรุ่นใหม่ภายใต้สกุลเดิม และเป็นที่แน่นอนว่านักการเมืองรุ่นใหม่บางคนก็สืบทอดเจตจำนงค์ของตระกูลมาได้อย่างดีเยี่ยม 

    นอกจากนี้ ตระกูลการเมืองกับการเลือกตั้ง "มนตร์ขลัง" หรือ (แค่) พลังที่ "ถดถอย" ยังได้แสดงให้เห็นถึงพลวัตของตระกูลการเมืองในการเมืองไทย ว่านับแต่ครั้งอดีตตั้งแต่มีการเลือกตั้งครั้งแรก (2476) กระทั่งปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงในทางสถิติของตระกูลการเมืองเป็นอย่างไร และเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด 

    ที่สำคัญ ตระกูลการเมืองกับการเลือกตั้ง "มนตร์ขลัง" หรือ (แค่) พลังที่ "ถดถอย" ยังชวนให้เราลองตั้งคำถามว่า "ตระกูลการเมืองในปัจจุบัน ยังสามารถใช้เป็นเครื่องยืนยันถึงการส่งทอดอำนาจแบบนามธรรมจากรุ่นสู่รุ่นได้จริง ๆ หรือ (?)" และ "ถ้ามันส่งผ่านได้จริง ๆ มันมีกลไกของการส่งผ่านที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร (?)" แล้วอะไรที่จะช่วยยืนยันว่ากลไกเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปแล้วและยังสามารถทำงานได้ในปัจจุบัน 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in