รีวิวเว้ย (506) สมัยที่เข้ามาเรียนวิชารัฐศาสตร์ ในรั้วธรรมศาสตร์แรก ๆ (2554) นั้นเรามักจะได้ยินคำพูดที่พูดถึงบริบทบาทการเมืองไทยอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคำว่า "ต้นไม้พิษมักให้ผลออกมาเป็นผลไม้พิษ" ซึ่งในตรรกะแบบนี้หลายครั้งมันก็ทำให้เรายอมรับโดยที่ไม่ตัคำถามว่า มันเสมอไปจริง ๆ หรือ (?) ที่ผลของต้นไม้พิษจะต้องเป็นผลไม้ที่มีพิษในทุกครั้งไป มันอาจจะมีบางครั้งก็เป็นได้ที่ผลไม้ที่เกิดจากต้นไม้พิษ "ไม่มีพิษ" เพราะขนาดสัตว์เผือกที่เกิดจากการผิดปกติทางพันธุกรรมยังมีปรากฎให้เราเห็นอยู่บ่อย ๆ อีกข้อความหนึ่งที่เกี่ยวกับไม้ ๆ ผล ๆ ก็คงหนีไม่พ้นสำนวนอย่าง "ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น" แน่นอนว่าสำนวนนี้ย่มหมายถึง การสืบทอดลักษณะสำคัญของต้นสายวงตระกูล อาจจะนิยามได้ว่ามันคือการสืบทอดเอาเจตจำนงค์และลักษณะสำคัญบางประการผู้ให้กำเนิดเอาไว้ แต่จริง ๆ แล้วมันมีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ที่ "ลูกไม้จะไม่สืบทอดสิ่งใด ๆ จากต้นสายของตนเองเลย" (?) อย่างหนังสือเรื่อง "The Therrorist's son" ที่พูดถึงเรื่องราวของลูกชายของผู้ก่อการร้าย ที่หลาย ๆ คนมักมองและตัดสินเขาเสมอด้วยทัศนคติทั้ง 2 แบบ คือ (1) ต้นไม้พิษมักให้ผลออกมาเป็นผลไม้พิษ และ (2) ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ในกรณีของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ เขาถูกมองด้วยทัศนคติดังกล่าวมาแทบตลอดชีวิต ว่าในเมื่อ "พ่อเป็นผู้ก่อการร้าย ลูกก็ย่อมหนี้ไม่พ้นที่จะรับเอาแนวคิดดังกล่าวมาใช้ และกลายไปเป็นผู้ก่อการร้ายเช่นพ่อของตน" แต่ความสนุกของหนังสือเล่มนี้อยู่ตรงที่ผู้เขียนท้าทายและทลายทัศนะของใครหลาย ๆ คนทิ้งจนสิ้นซาก ซึ่งรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ FBI ที่ทำคดีของพ่อเขาในสมัยที่เขายังเป็นเด็กอายุเพียงไม่กี่ขวบ คำตอบของเขาที่ให้กับเจ้าหน้าที่ในตอนเป็นผู้ใหญ่ คือการปติเสธให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว เราจะเป็นใคร เราจะเป็นอะไร และเราจะเป็นอย่างไร มันขึ้นอยู่ที่ตัวเรา มิใช่ว่าเรา "เป็นลูกของใคร" ความตอนหนึ่งของหนังสือบอกเอาไว้ว่า ..."เพราะเราปฏิเสธความคิดหัวรุนแรงของพ่อ เราจึงมีชีวิตอยู่ได้ และชีวิตเราควรค่าที่จะอยู่"... (น.147)
หนังสือ : The Therrorist's son
โดย : Zak Ebrahim & Jeff Giles แปล พลากร เจียมธีระนาถ
จำนวน : 162 หน้า
ราคา : 220 บาท
"The Therrorist's son" หนังสือที่ปรับมาจาก TED ของชายที่เกิดมาเป็นลูกของผู้ก่อการร้าย และตลอดทั้งชีวิตของเขาในช่วงวัยเด็กสิ่งต่าง ๆ เขาได้รับมา คือ สิ่งที่เขาได้รับในฐานะของลูกชายผู้ก่อการร้าย นับตั้งแต่วันที่พ่อของเขาถูกจับโลกของเด็กคนหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปตลอดการ เขาเติบโตขึ้นมาในสังคมที่เต็มไปด้วยความเกียจชังต่อผู้ก่อการร้าย และเขาในฐานะของลูกชายของผู้ก่อการร้ายก็ได้รับผลของความเกลียดชังดังกล่าวไปเต็ม ๆ ทั้งการถูกกลั่นแกล้ง การถูกเกลียด การถูกเหยียดหยามและความยากลำบางในการดำเนินชีวิตเมื่อต้องถือนามสกุลของผู้ก่อการร้าย อาจจะเรียกได้ว่าโลกนี้เล่นตลอกกับเขาต่าง ๆ นา ๆ เพื่อหาหนทางให้เขากลายไปเป็นในสิ่งที่เขาไม่ได้อยากจะเป็น การปลูกฟังและถ่ายทอดความเกลียดชังโดยไม่จำเป็น โดยสังคมและคนรอบข้าง ในหลายครั้งมันบ่มเพาะให้เด็กคนหนึ่งโตขึ้นมาเป็นคนในแบบที่ตัวเขาไม่ได้ต้องการ แต่เขาเป็นเพราะสังคมบังคับให้เขาต้องเป็น สถานะของการเป็นลูกชายของผู้ก่อการร้ายคนสำคัญก็เช่นกัน
"The Therrorist's son" บอกเล่าเรื่องราวของความยากลำบากของการเป็นลูกชายของผู้ก่อการร้าย ที่ในชีวิตวัน ๆ เขาต้องเจอแต่ข้อครหาของใครหลาย ๆ คนเพียงเพราะเขาเป็นลูกชายของผู้ก่อการร้าย บางคนก่นด่า ดูถูกเหยียดหยามเขาเพียงเพราะคิดว่าเขาจะเป็น "ลูกไม้ที่หล่นไม่ไกลต้น" และกลายเป็นผู้ก่อการร้ายแบบพ่อของเขา บางคนเอาใจช่วยคอยสนับสนุนและส่งเสริมเขาให้เขากลายเป็นแบบพ่อของเขาเพราะเชื่อว่าเขาจะเป็น "ลูกไม้ที่หล่นไม่ไกลต้น"
แต่ในท้ายที่สุดแล้ว "The Therrorist's son" ได้ฉายให้เห็นคงามพยายามของลูกชายของผู้ก่อการร้ายที่เติบโตขึ้นมาในสังคมที่บิดเบี้ยว แต่ตัวเขาเองในท้ายที่สุดก็เลือกเดินบนเส้นทางที่แตกต่างออกไป จากลูกชายของผู้ก่อการร้ายคนสำคัญ กลายมาเป็นกำลังสำคัญในการต่อต้านการใช้ความรุนแรง และรณรงค์ให้คนหันมาในวิธีการมุ่งสันติในการแก้ไขปัญหา เรียกได้ว่าการกระทำของเขาคือการลบข้อครหาในฐานะของ "ลูกชายผู้ก่อการร้าย" กับ "ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น" ได้อย่างชัดเจน ข้อความเกือบสุดท้ายในเล่มของ "The Therrorist's son" ที่กล่าวเอาไว้ว่า ..."เพราะเราปฏิเสธความคิดหัวรุนแรงของพ่อ เราจึงมีชีวิตอยู่ได้ และชีวิตเราควรค่าที่จะอยู่"... (น.147) คือการตอกย้ำให้เห็นว่า "ชีวิตของคนหนึ่งคน คนคนนั้นคือผู้เลือกและกำหนดชีวิตของตัวเอง"
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in