รีวิวเว้ย (505) สังคมไทยเป็นสังคมแบบ "นิยมชาย" หรือที่หลาย ๆ คนเรียกขานกันว่าเป็นสังคม "ชายเป็นใหญ่" หลายครมีกรอบคิดแบบนี้เสมอมาว่าสังคมไทยแบ่งแยกคนออกเป็น 2 เพศหลัก ๆ คือ (1) เพศชาย และ (2) เพศหญิง โดยที่หน้าที่ของทั้ง 2 เพศต่างก็แบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน นั้นคือหน้าที่ของการเป็นหัวหน้าครอบครัวของ (1) และการทำหน้าที่เป็นหลังบ้านที่ดีในฐานะของแม่และเมียของ (2) แต่เอาเข้าจริงแล้วกรอบคิดในเรื่องของสังคมชายเป็นใหญ่ของไทย ถูกท้าทายและทำให้สั่นคลอนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เพราะหลายครั้งในสังคมไทยมักมีคำพูดติดตลอกแต่แฝงความจริงเอาไว้อย่าง "ชายที่เคารพเมียคือชายผู้เจริญ" และ "สมาคมคนบูชาเมีย" เป็นสิ่งที่เราจะพบเห็นได้ตามการสนทนาต่าง ๆ เมืองชายไทยเรื่มพูดเรื่องของเมีย (แฟน) นั่นจึงเป็นสิ่งที่น่ากลับมาคิดใหม่ว่าแท้จริงแล้วในสังคมไทย คั้งแต่ครั้งโบราณกาลมา "ใครกันแน่ที่เป็นใหญ่ในสังคมนี้ (?)"
หนังสือ : 108 เรื่องที่หญิงไทยควรรู้ (แต่ไม่เคยรู้ เพราะหลงนึกว่ารู้ ๆ ดีกันอยู่แล้ว)
โดย : ธาวิต สุขพานิช
จำนวน : 200 หน้า
ราคา : 280 บาท
"108 เรื่องที่หญิงไทยควรรู้ (แต่ไม่เคยรู้ เพราะหลงนึกว่ารู้ ๆ ดีกันอยู่แล้ว)" หนังสือที่ชวนให้ราตั้งคำถามต่อค่านืยมและความหมายของสังคมแบบชายเป็นใหญ่ในสังคมไทย ว่าแท้จริงแล้วสังคมไทยเป็นสังคมแบบชายเป็นใหญ่จริง ๆ เช่นนั้นหรือ แล้วสิทธิหรือบทบาทของสตรีไทยที่เรียกร้องกันอยู่ในปัจจุบันนี้ มันเคยกำเนิดเกิดมีมาอยู่แล้วตั้งแต่แรกก่อนที่วัฒนธรรมครอบครัวแบบ "จีน" และ "ตะวันตก" จะเข้ามาสั่นคลอนและทำให้คติของสังคมนิยมชายเริ่มปรากฎชัดในสังคมไทย
"108 เรื่องที่หญิงไทยควรรู้ (แต่ไม่เคยรู้ เพราะหลงนึกว่ารู้ ๆ ดีกันอยู่แล้ว)" ชวนเรากลับไปทำความเข้าใจถึงบทบาทของหญิงไทยผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่าแท้จริงแล้วในสังคมไทยมันไม่ได้เป็นสั่งคมนิยมชายในแบบที่หลาย ๆ คนคิด เพราะในสังคมไทยเองบทบาทของผู้หญิง (แม่เจ้าเรือน) นั้นมีอยู่มาก มากเสียจนน่าแปลกใจว่าทำอย่างไรมัยถึกถูกปกปิดโดยแนวคิดของสังคมนิยมชายในโลกภายนอก แต่ในบ้าน "แม่เจ้าเรือน" ยังเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติที่สำคัญของสังคมไทย โดยเฉพาะครอบครัวไทยที่ไม่ได้ถูกเจือด้วยคติจีนและตะวันตก
นอกจากนี้ "108 เรื่องที่หญิงไทยควรรู้ (แต่ไม่เคยรู้ เพราะหลงนึกว่ารู้ ๆ ดีกันอยู่แล้ว)" ได้ช่วยให้เราลองตั้งคำถามและเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการมองสังคมครอลครัวและสังคมนิยมชายของไทยเสียใหม่ เพื่อจัดลำดับของความสัมพันธุ์และความซับซ้อนของระบบสังคมไทย เหมือนกับที่ "108 เรื่องที่หญิงไทยควรรู้ (แต่ไม่เคยรู้ เพราะหลงนึกว่ารู้ ๆ ดีกันอยู่แล้ว)" ตั้งคำถามชวนคิดไว้ในตอนหนึ่งที่ว่า สำนวน "ช้างเท้าหน้า" อาจจะไม่สามารถอธิบายรูปแบบของครอบครัวไทยได้ดีเท่าไหร่นัก เพราะครอบครัวแบบไทยปกครองโดยระบบชนชั้น คือ จุดสูงสุดของบ้านหรือครอบครัวคือเมีย/แม่ และที่สำคัญไปกว่านั้นในช้างโขลงหนึ่ง ๆ มีแต่ช้างตัวเมีย (รวมถึงหัวหน้าโขลง) และช้างเด็ก ๆ ในโขลงเท่านั้น ช้างตัวผู้ถูกกำจัดออกไปจากสารบทของโขลงช้างมาแต่ไหนแต่ไรมา เช่นนั้น ถ้าสังคมไทยยังคงเปรียบด้วยคำว่า "ช้างเท้าหน้า" มันดูจะแปลกประหลาดไปเสียหน่อยกับแนวคิดของ "สังคมนิยมชาย"
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in