รีวิวเว้ย (442) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี" ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ คนไทยหรือคนต่างด้าวไม่ว่ากระทำในหรือนอกราชอาณาจักรก็ต้องรับโทษ ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับเรื่อยมามีข้อที่กล่าวว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้" ย้อนกลับไปหลังการรัฐประหารเมืองเวลา 16.30 น. ของวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 กฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้าและธำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของคณะรัฐประหาร โดยดูได้จากภายหลังการรัฐประหารครั้งนั้น ม.112 ถูกใช้ในฐานะของเครื่องมือในการเบียดขับฝ่ายตรงข้ามของคณะรัฐประหาร ผู้คนหลากหลายคนที่แสดงตนว่าเป็นปฏิปักษ์หรือยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับคณะรัฐประหาร ล้วนถูกกระบวนการอันไม่เป็นธรรมเล่นงานอย่างมิได้หยุดหย่อน บางคนถูกเรียกเข้าค่ายปรับทัศนคติ บางคนถูกติดตาม บางคนถูกทำร้าย และหลายคนถูกโจมตีด้วย ม.112 ในช่วงเวลานั้นอาจจะเรียกได้ว่าเราแทบจะเห็นข่าวในเรื่องของ ม.112 และคดีความมั่นคงอื่น ๆ แทบตลอดเวลา บ่อยครั้งถึงขนาดที่ว่าบางทีเราก็เผลอตัวให้กับสิ่งเหล่านั้นว่ามันคล้ายเป็น "ความเคยชินไปเสียแล้ว" แต่ทุกคราที่คิดเช่นนั้นเราต้องคอยเตือนตัวเองว่า "ความเลวร้ายเหล่านั้นมิควรค่าที่จะถูกยกระดับให้เป็นสิ่งปกติในสังคม" หากเรามองมันเป็นเรื่องปกติของสังคมเสียแล้ว ก็เป็นไปได้ว่าสังคมที่เราอาศัยอยู่นั้น มันผิดรูปผิดร่างกระทั่งกลายเป็นแดนมิคสัญญีไปเสียแล้ว (ยุคมิคสัญญี หมายถึง ยุคที่ผู้คนฆ่าฟันกัน เพราะต่างฝ่ายต่างมองว่าผู้อื่นเป็นสัตว์ซึ่งต้องล่า คือไม่เห็นว่าผู้อื่นเป็นคน เมื่อต่างฝ่ายต่างมองแบบเดียวกัน จึงเกิดการฆ่าฟันโดยไม่ปรานีต่อกัน ผู้คนจึงล้มตายเป็นจำนวนมาก - ราชบัณฑิตยสภา)
หนังสือ : มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ
โดย : ภรณ์ทิพย์ มั่นคง
จำนวน : 896 หน้า
ราคา : 550 บาท
"มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ" หนังสือขนาดยาวที่ว่าด้วยเรื่องราวของ "เจ้าสาวหมาป่า" ที่ถูกจองจำด้วยข้อหาจาก ม.112 อันเกิดจากการแสดงละครและเนื้อหาของละครมีส่วนที่ไปพาดพิงกับสิ่งที่ฝ่ายคสามมั่นคงเรียกว่าการ "หมิ่นพระบรมเดชานะภาพ" เอาเข้าจริงคดีนี้อยู่ในความรับรู้ของใครหลาย ๆ คน เพราะคดีดังกล่าวถูกให้ความสำคัญและติดตามจากหลายภาคส่วนทั้งจากองค์กรในประเทศและระหว่างประเทศ
"มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ" ถูกเขียนขึ้นในลักษณะของบันทึกความทรงจำประจำวัน ที่ผู้เขียนพูดถึงเรื่องราวของการใช้ชีวิตในเรือนจำ ทั้งจากในฐานะของผู้ถูกคุมขังแบบผู้การฝากขังและการถูกขุมขังในฐานะของนักโทษเด็ดขาด "มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ" ได้ช่วยฉายภาพของคุกในฐานะของสถานที่ที่ไม่มีใครอยากก้าวล่วง แต่เมื่กก้าวล่วงเข้าไปแล้วจะให้ทำเช่นไรได้ นอกจากทำใจและปรับตัวเองให้กับสถานที่ที่จองจำตัวเราเอาไว้
"มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ" บอกเล่าเรื่องราวของคุกและความรู้สึกของผู้แต่งได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องของกิจกรรมประจำวัน วิถีคสามเป็นอยู่ของคนคุกและผู้คุม อีกทั้งหนังสือเล่มนี้ยังบอกเล่าถึงความเปราะบางและความแข็งแกร่ง เปราะบางในที่นี้ย่อมหมายถึงความรู้สึกของผู้ที่ถูกจองจำ และคสามเปราะบางของ "รัฐและฝ่ายความมั่นคง" และความแข็งแกร่งของบุคคลทั้งของตัวผู้เขียนและตัวนักโทษคนอื่น ๆ ที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าสถาบันที่เปราะบางอย่าง "รัฐไทย"
นอกจากที่ "มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ" จะบอกเล่าถึงความรู้สึกนึกคิดของบุคคลแล้ว หนังสือเล่มนี้ยังบรรยายถึงคุกหรือสถานที่คุมขังได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องราวของสถานที่ ผู้คน กฎระเบียบและการใช้ชีวิต เป็นที่น่าสนใจเมื่ออ่านหยังสือเล่มนี้จบลงว่าคติความเชื่อที่ว่าการขังคุกเพื่อชดใช้ความผิดนั้นจะช่วยให้ผู้กระทำผิดสำนึกผิดและสามารถคืนคนดีกลับสู่สังคมได้ หากเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ทำไมในคุกจึงยังคงมีคำว่า "เด็กรอบ" และที่น่าฉงนสนเท่ห์ไปกว่านั้นคือ "ระบบยุติธรรมของรัฐไทย" เหล่าคนที่ถูกจับได้นั้นเขาทำผิดจริง ๆ หรือเพียงเพราะว่าหน่วยที่เปราะบางอย่างรัฐชาติจงใจให้เขาผิด
เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบลง มันช่วยให้เราเข้าใจอะไรได้หลากหลาย โดยเฉพาะกับโลกที่เปราะบางและรัฐไทยที่แสนบอบบาง หนังสือบอกกับเราว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นจากอะไรก็ตามแน่ "มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ"
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in