เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ดาวัยรัสเซีย เจอกันสักทีหมีขาว By กั้ง อมรา
  • รีวิวเว้ย (371) รัสเซียเป็นเอเชียหรือเป็นยุโรป ? นี่น่าจะเป็นคำถามที่สมัยมัธยมต้นเรามักถูกถามในวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม (ปัจจุบันเรียกแบบนี้อยู่รึเปล่าวะ) นอกจากเรื่องราวของความใหญ่ของประเทศที่คร่อมอยู่ระหว่างเอเชียและยุโรปแล้ว พอโตขึ้นมาหน่อยเราก็จะได้เรียนเรื่องของสงครามเย็นที่เป็นเรื่องของความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ระหว่าง 2 ค่าย คือ (1) คอมมินิสต์ที่มีโซเวียต (รัสเซีย) เป็นตัวนำและ (2) ประชาธิปไตยที่มีสหรัฐอเมริการเป็นตัวนำ และตามมาด้วนความมะเทิ่งของการต่อสู้กันของขั่วอำขาจทั้ง 2 ที่แสดงออกมาทั้งในรูปแบบของการต่อสู้กันทางอุดมการณ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การใช้สายลับ การใช้โครงการอวกาศ การแข่งขันกันทางด้านเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งการต่อสู้กันด้วยรูปแบบของ "สงครามตัวแทน" ยังผลให้ช่วงเวลานับตั้งแต่หลัง 1945s - 1991s โลกเราเผชิญความมะเทิ่งของการขับเขี้ยวทางด้านอุดมการณ์จาก 2 ตัวแสดงหลัก ภายหลังการดำเนินนโยบายเปิด-ปรับ (กลัสนอร์-เปเรสตรอยก้า) ของประธานาธิบดี "กอร์บาชอฟ" นำมาซึ่งการล่มสลายลงของสหภาพโซเวียตและพัฒนามาสู่การเป็นรัสเซียกระทั่งปัจจุบัน 
    หนังสือ : ดาวัยรัสเซีย เจอกันสักทีหมีขาว
    โดย : กั้ง อมรา
    จำนวน : 432 หน้า
    ราคา : 395 บาท

    เมื่อพูดถึงหนังสือที่พูดถึงเรื่องของรัสเซีย เรามักจะพบหนังสือ 2 ประเภทที่พูดถึงเรื่องดังกล่าว อันได้แก่ (1) หนังสือที่พูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์รัสเซียเป็นธีมหลัก และ (2) หนังสือท่องเที่ยวรัสเซียที่พูดถึงเรื่องของรถไฟเป็นธีมหลัก ซึ่ง "ดาวัยรัสเซีย เจอกันสักทีหมีขาว" ก็เป็นหนึ่งในหนังสือที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มของหนังสือที่พูดเรื่องรถไฟเป็นทีมหลัก แต่ความแตกต่างของหนังสือเล่มนี้ต่อการเดินทางโดยรถไฟ จะแตกต่างกันตรงที่หนังสือส่วนใหญ่มักพูดถึงการเดินทางของรถไฟสายทรานไซบีเรีย ที่บอกเล่าเรื่องราวของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน (บนรถไฟ) คนกับสถานที่ (ในปัจจุบัน) และคนกับคนและสถานที่ (ในประวัติศาสตร์) ซึ่งเป็นการฉายภาพของรัสเซียและทางรถไฟสายทรานไซบีเรีย ผ่านบริบทที่แตกต่างออกไปจากหนังสือหลาย ๆ เล่ม อาจจะเนื่องด้วยผู้เขียนเรียยจบทางด้านรัสเซียศึกษา ทำให้สามารถฉายภาพความสัมพันธ์ของทางรถไฟสายทรานไซบีเรีย ผ่านมุมมองที่มีคสามแปลกและแตกต่างไปจากหนังสือหลายเล่มในครั้งอดีต

    ความสนุกอีกอย่างของหนังสือเล่มนี้ คือ ชื่อของหนังสือที่ชื่อว่า "ดาวัยรัสเซีย เจอกันสักทีหมีขาว" ซึ่งช่วยฉายภาพของรัสเซียผ่านภาษารัสเซียแบบเข้าใจได้ง่าย ๆ ในแทบตลอดทั้งเล่ม โดยเฉพาะความหมายของคำว่า "ดาวัย" ที่ตรงกับคำในภาษาอังกฤษที่ว่า "Let's go" ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วการเริ่มต้นทำอะไรในชีวิตของคนเรา ถ้าเราคิดและทบทวนมาดีแล้ว ในท้ายที่สุดเราก็แค่บอกตัวเองดัง ๆ ว่า "ดาวัย" เหมือนกับที่ "ดาวัยรัสเซีย เจอกันสักทีหมีขาว" บอกกับเราเอาไว้ก็เท่านั้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in