เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
My Echo, My Shadow and Me By a book × Conne(x)t KlongToey
  • รีวิวเว้ย (370) เวลาที่ได้ยินคำว่า "คลองเตย" เรามักจะคิดถึงอะไร (?) ถ้าให้คิดเร็ว ๆ สำหรับเรา "คลองเตย" ทำให้เรานึกถึง (1) หนู คลองเตย; ตลกที่เสียชีวิตไปแล้ว (2) สลัมคลองเตย; ชุมชนแออัดที่มีชื่อเสีย(ง) มากที่สุดในประเทศไทย และ (3) ท่าเรือคลองเตย -- เอาเข้าจริงแล้ว "คลองเตย" ในความรับรู้ของใครหลายคนก็อาจจะไม่ต่างไปจากความรับรู้ของเราที่มีกับคลองเตย โดยเฉพาะความรับรู้ในเรื่องของ "คนคลองเตย" อาจจะไม่เป็นที่สนใจรับรู้ของใครเลยก็เป็นได้ หากแต่ถ้าคนคลองเตยอยู่ในความรับรู้ของใครสักคน เขาคงคิดถึงคนของเตยในลักษณะของ "คนร้าย" เพราะภาพของคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดคือภาพของพื้นที่แห่งอาชญากรรม ยาเสพติด การพนันและสิ่งผิดกฎหมายต่าง ๆ ที่ล้วนถูกฉายภาพผ่านสื่อเพื่อสร้างการรับรู้และแนวทางการรับรู้เกี่ยวกับ "สลัม" ให้เป็นภาพของพื้นที่และของคนที่ในทางรัฐศาสตร์เราอาจจะเรียกว่า "คนที่ไม่ถูกนับในสังคม" 
    หนังสือ : My Echo, My Shadow and Me
    โดย : a book × Conne(x)t KlongToey
    จำนวน : 152 หน้า
    ราคา : 495 บาท

    หนังสือ "My Echo, My Shadow and Me" เป็นหนังสือที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของคนในหลายภาคส่วนผ่านการทำงานในรูปแบบของกิจกรรม "Conne(x)t KlongToey" ที่ตั้งใจจะเอาความเป็น "คลองเตย" ที่ไม่ถูกรับรู้แลัไม่ถูกผลิตโดยสื่อกระแสหลักออกสู่สังคม เพื่อเป็นการเปิดภาพการรับรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับ "สลัมคลองเตย" ว่าแท้จริงแล้วพื้นที่ที่ทั้งภาครัฐหรือใคร ๆ ก็ตามที่ขนานนามพื้นที่แห่งนี้ว่า "สลัม" นั้น แท้จริงแล้วพื้นที่ดังกล่าวก็นับเป็น "ชุมชน" ชุมชนหนึ่งในกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับชุมชนอื่น ๆ หากแต่กลุ่มของผู้อาศัยอยู่ในชุมชน เป็นฐานของผู้อยู่อาศัยที่อาจจะเรียกได้ว่าชีวิตของพวกเขาไม่มีสิทธิที่จะเลือก หรือถ้ามีทางเลือกก็อาจจะเป็นทางเลือกที่บีบบังคับให้พวกเขาต้องเลือก ให้พวกเขาต้องใช้ชีวิตที่ถูกฉายภาพความเวทนาและน่าสมเพชผ่านการผลิตซ้ำของสื่อกระแสหลักต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้ภาพรับรู้เกี่ยวกับ "คลองเตย" ในสายตาของคนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่คนดี ๆ ไม่ควรย่างกายเข้าไปแม้ดพียงเล็กน้อย

    "My Echo, My Shadow and Me" เป็นหนังสือที่ต่อยอดออกมาจากการทำกิจกรรม Conne(x)t KlongToey โดยคัดเลือกเอาภาพถ่ายที่เป็นฝีมือของเด็ก ๆ ในชุมชนคลองเตย 3 คนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมในโครงการ มาจัดนิทัศการเพื่อนำเสนอภาพของคลองเตยผ่านภาพถ่ายฝีมือเด็ก ๆ พร้อมทั้งคำบรรยายกำกับภาพที่เกิดจากการกำหนดคำบรรยายและเขียนมันออกมาด้วยลายมือของเด็ก ๆ เหล่านั้นเอง

    ภาพและคำบรรยายภาพในหนังสือ "My Echo, My Shadow and Me" ช่วยแสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วภาพคลองเตยในความรับรู้ของพวกเรานั้น อาจจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ถูกให้ความสำคัญมากจนเกินไป ทั้ง ๆ ที่ในพื้นที่ของชุมชนคลองเตย ยังคงมีเรื่องราวหรือกิจกรรมดี ๆ อีกมากที่รอให้ใครหลาย ๆ คนเข้าไปช่วยกันสนับสนุนและก่อให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างกรณีของภาพถ่ายเหล่านี้ ช่วยบอกกล่าวถึง "คนคลองเตย" (รุ่นใหม่) ที่ทุกคนล้วนมีคสามหวังและความฝันเป็นของตัวเอง และพวกเขา (เด็ก ๆ) เหล่านั้นมีศักยภาพเพียงพอที่จะ "ทำตามความฝัน" นั้นได้ หากแต่เพียงพวกเขาขาดการสนับสนุนจากครอบครัว (บางครับครัว) เพียวเพราะพวกเขาขาดการสนับสนุนจากสังคม และขาดการหยิบยื่นโอกาสให้กับพวกเขาในการพัฒนาศักยภาพที่ตัวเองมี เพื่อไล่ตามความฝันให้ได้ในวันข้างหน้า

    หากถามว่าหนังสือ "My Echo, My Shadow and Me" ในฐานะของหนังสือภาพถ่ายฝีมือเด็กคลองเตย ให้อะไรกับเราบ้าง ในหน้าที่เขียน "10 ข้อของความฝัน" ที่เกิดจากการเขียนบรรยายของเด็กน้อย ช่วยฉายภาพให้เราได้รับรู้ว่าพวกเขา "มีความฝัน" และ "พร้อมทำตามความฝัน" เพียงแค่ขอให้พวกเขามีโอกาส เราเชื่อเหล่าเกินว่าพวกเขาจะต้องทำได้เหมือกันข้อความลำดับที่ 9 ของความฝันที่ถูกเขียนเอาไว้ว่า "9. ต่อให้เราทำจนสุดความสามารถ แล้วไม่ประสบความสำเร็จ เราก้อจะไม่เสียใจเท่าที่มีความฝันแต่ไม่ได้ลงมือทำ" (คงการสะกดและการเว้นวรรคไว้ตามต้นฉบับ) 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in