รีวิวเว้ย (313) การเข้ามามีบทบาทของทหารในสนามการเมือง ดูจะเป็นเรื่องปกติสำหรับคนไทยและดูจะเป็นเรื่องอปกติสำหรับประเทศหลายประเทศในยุโรป รัฐบาลทหารเข้ามามีบทบาทในหลากหลายด้านและใช้อำนาจบางอย่างของความเป็นทหารในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรัฐประหาร การขึ้นมามีบทบาทของผู้นำทางทหารในทางการเมือง การกำจัดศัตรูทางการเมือง และการใช้ความรุนแรงรวมถึงอำนาจมืดของตนเองในการปกปิด ปิดบัง บังคับขืนใจคนในชาติให้เชื่อฟังและทำตาม ซึ่งที้งหมดนี้ไม่ได้พูดถึงประเทศไทย แต่เรากำลังพูดถึงอุดมการณ์ทหารในลาตินอเมริกา ในช่วงเวลาของลอยต่อระหว่าง ค.ศ.18xx - 19xx ที่อุดมการณ์ทางทหารเป็นสิ่งที่เติบโตเหมือนเห็ดป่าในช่วงหน้าฝน ในพื้นที่ของลาตินอเมริกา และบทบาทของกองทัพได้มีการใช้อำนาจในแทบทุกทางเพื่อควบคุมรัฐและประชาชนให้ขับเคลื่อนไปตามแนวทางที่พวกเขา (ทหาร) เชื่อว่าดี โดยชูรูปแบบของ "เผด็จการผู้ทรงธรรม" ขึ้นมาเป็นตัวขับเคลื่อนระบบ ถึงแม้ว่าจะใช้ความรุนแรงบ้าง เสียงดังบ้าง โกงบ้างแต่ก็ทำเพื่อชาติบ้านเมื่อ (ย้ำอีกครั้งว่าทั้งหมดที่พูดมา คือเรื่องของ "ลาตินอเมริกา" ทั้งสิ้น)
หนังสือ : รัฐและอุดมการณ์ทหารในลาตินอเมริกา
โดย : สุรชาติ บำรุงสุข
จำนวน : 158 หน้า
ราคา : 160 บาท
"รัฐและอุดมการณ์ทหารในลาตินอเมริกา" เป็นผลงายของ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ผู้เชี่ยวชาญเรื่องของกองทัพ การทหาร การก่อการร้าย จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ได้พูดถึงเรื่องราวความเป็นมา (และเป็นไป) ของแนวคิดอุดมการณ์ทหารในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ที่ถูกสร้างขึ้นและปรากฎชัดเจนในช่วงหลังสงครามโลก และแพร่ขยายแนวคิดของอุดมการณ์ดังกล่าวอย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียงไม่นาน แนวคิดและอุดมการณ์ทางทหารก็กลายเป็นภาพแทนของรับบการปกครองในพื้นที่ลาตินอเมริกา อาจจะมีประเทศที่รอดจากอุดมการณ์ดังกล่าวไปได้บ้าง ก็จะเป็นประเทศอย่างคิวบา
"รัฐและอุดมการณ์ทหารในลาตินอเมริกา" ได้แสดงให้เห็นถึงการกำเนิดขึ้นของแนวคิดและอุดมการณ์ทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในเรื่องของ "เผด็จการผู้ทรงธรรม" แนวคิดในเรื่องของ "การเป็นผู้พิทักษ์ประชาชน" และแนวคิดในเรื่องของ "ทหารคือผู้เข้ามาแก้ปัญหาของประเทศชาติ (ตามแบบของอัศวินม้าลายพลาง)" โดยแนวคิดแต่ละรูปแบบล้วนถูกสร้างขึ้นจากข้อโจมตีของกลุ่มอุดมการณ์ทหารว่า "การเมืองมันเป็นเรื่องของคนเลว ทำให้ประเทศล่มจม เมื่อนั้นทหารจึงเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาและกอบกู้สถานการณ์" (แม่งคุ้น ๆ นะ)
ซึ่งนอกจากการเกิดขึ้นของอุดมการณ์ทหารที่เกิดจากข้อคิดเห็นในเรื่องของระบบการเมืองของคนเลวแล้ว ในหนังสือยังพูดถึงเรื่องของการเข้ามามีบทบาทในการแซกแทรงของชาติมหาอำนาจอย่าง "สหรัฐอเมริกา" ที่พยายามดึงเอาแนวร่วมของอุดมการณ์ทหารในลาตินอเมริกา เข้ามาเป็นแนวต้านในเรื่องของการต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ โดยสหรัฐเองได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลทหารในลาตินอเมริกาในหลากหลายด้าน ตัวอย่างที่ชัดเจนในหนังสือเล่มนี้ คือ เรื่องของการให้ความช่วยเหลือผ่านระบบกองทัพ ทั้งการให้การศึกษาและการฝึกร่วม
นอกจากนี้ "รัฐและอุดมการณ์ทหารในลาตินอเมริกา" ยังพูดถึงจุดเปลี่ยนที่นำพามาสู่จุดจบของรัฐบาลทหารในลาตินอเมริกา ที่หลายครั้งเกิดขึ้นจากความชั่วช้าของพรรคการเมืองทหารเอง ทั้งเรื่องของการโกงกิน การไม่สามารถตรวจสอบได้ การกำจัดศัตรูในทางการเมือง การใช้อำนาจมืดในการจัดการปัญหาของรัฐโดยทหาร สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ยังผลให้อุดมการณ์ทหารในลาตินอเมริกาลดลงและค่อย ๆ หายไปจากภูมิภาคดังกล่าว
ในหนังสือ "รัฐและอุดมการณ์ทหารในลาตินอเมริกา" ยังได้แถมบทวิเคราะห์ในเรื่องของรัฐบาลทหารของ "ไทย" เอาไว้ด้วย ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าหลายประเทศในโลกเปลี่ยนแปลงจากระบอบเผด็จการสู่ประชาธิปไตย แต่เหตุใดประเทศไทยจึงขยับตัวจาก เกือบจะประชาธิปไตยกลับไปหา "เผด็จการ" ซึ่งหลายคนโหยหาความเป็นเผด็จการคนดี (เผด็จการผู้ทรงธรรม) น่าแปลใจว่าเพราะอะไร เรา (คนไทย) จึงยังเชื่อมั่นว่ารัฐบาลทหารดีกว่ารัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่ นาฬิกาก็ยืมพื้น ขายที่ได้ตั้งหลายร้อยล้าน เข้าทำงานปีละไม่ถึง 1 เดือน แถมพูดจากเหมือนหมาสำรอกขี้ใส่ประชาชนเจ้าของประเทศอยู่แทบตลอดเวลา
น่าสนใจว่า "อุดมการณ์ทหารไทย" มันอยู่ได้เพราะอะไร และด้วยเหตุใดคนหลายกลุ่มจึงพร้อมใจกันเป่านกหวีดเรียกเอาทหารออกมา ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องยืนยัน ว่าคนพวกนี้ (ทหาร) จะดีไปกว่านักการเมืองในสภา หลายปีที่ผ่านมาอาจจะแสดงให้คนเหล่านั้นเห็นแล้วว่า คนพวกนี้ (ทหาร) อาจจะเลวร้ายกว่านักการเมืองในระบบก็เป็นได้
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in