เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ร่ายรัฐธรรมนูญ: ที่มา หลักการและความสำคัญ By อรรถสิทธิ์ และ วรศักดิ์
  • รีวิวเว้ย (210) หลายคนเคยเชื่อว่าเรื่องของ (1) การเมือง (2) กฎหมาย (3) รัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่ "ยาก" ต่อการทำความเข้าใจ โดยหลายครั้งความยากเหล่านั้นเริ่มต้นตั้งแต่ (1) การทำความเข้าใจภาษาที่ใช้ (2) การทำความเข้าใจบริบท และ (3) การเข้าถึงข้อมูล ที่ล้วนแล้วแต่ยากเย็นแสนเข็ญสำหรับการทำความเข้าใจในเรื่องที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น 
    หนังสือ : ร่ายรัฐธรรมนูญ: ที่มา หลักการและความสำคัญ
    โดย : อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และ วรศักดิ์ จันทร์ภักดี
    จำนวน : 380 หน้า
    ราคา : 260 บาท

    นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา คนสยาม/ไทย ได้รู้จักกับประดิษฐกรรมทางการปกครองที่มีชื่อเรียกว่า "รัฐธรรมนูญ" และดูแล้วคนสยาม/ไทย จะเป็นไม่กี่ชนชาติมนโลกกลม ๆ ใบนี้ ที่มีรัฐธรรมนูญเป็นของตัวเองมาแล้วกว่า 20 ฉบับ ภายในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี เรียกได้ว่าเราเปลี่ยนรัฐธรรมนูญแทบจะทุก ๆ 4.6 ปี/ฉบับ เสียด้วยซ้ำ

    หลายสาเหตุที่ส่งผลให้เราต้องเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในทุก ๆ 4.6 ปีตามค่าเฉลีย ทั้งเรื่องของการเมือง ความไม่มั่นคงของผู้ทรงไว้ซึ้งอำนาจ การรัฐประหาร การต่อรองระหว่างกลุ่มคนในสังคม หรือแม้กระทั่งเรื่องของ "ความไม่เข้าใจในรัฐธรรมนูญ" ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่อาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของ สยาม/ไทย มากว่า 20 ฉบับ

    ตลอดระยะเวลาของระบอบประชาธิปไตย คนสยาม/ไทย ได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง แต่อย่างหนึ่งที่เราละเลย และส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ทำความเข้าใจและเรียนรู้ คือเรื่องของ "รัฐธรรมนูญ" อาจจะด้วยเหตุผลที่กล่าวไปในกาลก่อนว่า (1) การเมือง (2) กฎหมาย (3) รัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่ "ยาก" ต่อการทำความเข้าใจ และเรามีหนังสือหรือผู้ที่จะช่วยอรรถาธิบายให้เข้าใจเรื่องเหล่านี้อยู่น้อยกระทั่งนับนิ้วได้ในสังคม นั่นจึงส่งผลให้หล่ยครั้งเราเลือกที่จะหลับหูหลับตาและอยู่กับรัฐธรรมนูญไปตลอดอายุเฉลี่ยของมันโดยไม่ทำอะไรเลย

    แต่สำหรับ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560" เราจะมองมันเปลี่ยนไป และเราสามารถที่จะเลือกไม่ละเลยมันได้เหมือนกับรัฐธรรมนูญ 19 ฉบับก่อนหน้าที่ผ่านไปแล้ว

    เพราะ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560" ได้ถูกนำมาชำแหละ ชำระแชะชำเรา เพื่อถอดเอา "ความ" และ "คำ" ที่ซ่อนอยู่ในรัฐธรรมนูญออกมาให้เราทำความเข้าใจได้อย่างง่ายดาย ผ่านการ "ร่ายรัฐธรรมนูญ" ที่เปรียบประหนึ่งการร่ายมนต์ให้สิ่งที่เคยยาก กลายเป็นสิ่งที่ง่ายด้วยการอรรถาธิบายเพียงไม่กี่หน้ากระดาษ ผ่านหนังสืออย่าง "ร่ายรัฐธรรมนูญ: ที่มา หลักการและความสำคัญ" ของ "อาจารย์อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และ วรศักดิ์ จันทร์"

    โดยหนังสือ "ร่ายรัฐธรรมนูญ: ที่มา หลักการและความสำคัญ" ได้เลือกเอาคำสำคัญที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ 2560 และรัฐธรรมนูญหลาย ๆ ฉบับ มาถอดความ ทำความเข้าใจและลงลายละเอียดเกี่ยวกับ (1) ที่มา (2) ที่ไป (3) การบังคับใช้ และ (4) ความสำคัญ ของคำเหล่านั้น ที่หลายครั้งเรามักพบมันผ่านหู ผ่านตา ตามสื่อต่าง ๆ อยู่แทบทุกเมื่อเชื่อวัน

    อย่างคำว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" แท้จริงแล้ว ความหมายของมันคืออะไร (?) มันเริ่มต้อนขึ้นเมื่อไหร่ (?) และมันถูกฉวยใช้ในทางการเมืองอย่างไร (?) นี่เป็นสิ่งที่น้อยคนจะหาคำตอบ แต่มากคนที่ "ตั้งคำถาม" และเลือกที่จะ "ปล่อยผ่าน" มันไป

    แต่ครานี้ "ร่ายรัฐธรรมนูญ: ที่มา หลักการและความสำคัญ" ได้หาคำตอบ และร้อยเรียงเรื่องราวของคำต่าง ๆ ที่คนไทยควรเข้าใจ ในเรื่องของรัฐธรรมนูญเอาไว้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ (คหสต.) และหนังสือเล่มนี้ยังเป็นหนังสือที่อ่านสนุก อ่านง่าย ได้ความรู้ และที่สำคัญมันอ่านเมื่อไหร่และที่ไหนก็ได้ (ถ้าแบกไปอ่านด้วย)

    นอกจากความรู้ที่จะได้รับ อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะได้จากหนังสือเล่มนี้ คือ เราจะเข้าใจว่า หลายครั้งรัฐธรรมนูญหลายฉบับก็แอบมีนัยยะบางอย่างสำหรับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ๆ เอาไว้ ซึ่งมันอยู่ที่ว่าใครจะหาเจอ การที่จะหามันเจอได้บางครั้งมันอาจจะต้องเริ่มจากการเปิดอ่านหน้าที่ 1 ของ "ร่ายรัฐธรรมนูญ: ที่มา หลักการและความสำคัญ"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in