เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Plaa's diary feat. APP JP LINGnamprikplaa2
Entry No.8 : 今夜いっしょに食事をしませんか นี่เขาถามหรือเขาชวน?
  • สวัสดีเป็นครั้งที่ 8 นะคะ!

    เวลาเพื่อน ๆ คุยกับคนญี่ปุ่น เพื่อน ๆ เคยเข้าใจประโยคอะไรผิดไปบ้างไหมคะ เรานี่ประจำเลยค่ะ ด้วยความที่ตัวเองอิงกับคอนเท็กซ์แบบภาษาแม่ (ไทย) เป็นหลัก เพราะฉะนั้นถ้าเขาพูดอะไรที่มันโคตรญี่ปุ๊นญี่ปุ่นขึ้นมาเรามักจะโป๊ะประจำเลยค่ะ... 

    「今夜いっしょに食事をしませんか」
    เพื่อน ๆ คิดว่าประโยคนี้ผู้พูดมีจุดประสงค์เพื่ออะไรคะ
    a. ถามเพื่อให้ตอบเยสออโน
    b. ชักชวนให้ไปทานข้าวด้วยกัน
    (ลองคิดดูกันนะคะว่าอันไหน^^)

    และบทความในวันนี้ขอเสนอเป็นเรื่องที่ชาวเอกญี่น่าจะเคยได้เรียนกันในคาบ Introduction to Japanese Linguistic นะคะ เรื่องที่ว่าก็คือ "Japanese Discourse" หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่า 談話 นั่นเองค่า


    ก่อนอื่นเลย มาดูกันว่า 談話 มันคืออะไรกันนะคะ
    談話 = การนำคำและประโยคหลาย ๆ ประโยคมารวมกันเพื่อสร้างบทสนทนา อาจเรียกได้ทั้ง Discourse หรือ Text อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดย 談話 นี้จะต่างจาก 文 (ประโยค) ทั่วไปในด้านของการใช้งาน ฟังค์ชั่น และส่วนประกอบค่ะ

    ปัจจุบันงานวิจัยทางภาษาศาสตร์ที่วิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะมี 談話分析 aka. Discourse Analysis ซึ่งมีเป้าหมายในการค้นคว้าเพื่อไขข้อสงสัยว่า 談話 นั้นต่างกับ 文 อย่างไรค่ะ แนวโน้มในการวิจัยก็มีอยู่หลัก ๆ สองประการนะคะ อย่างแรกก็คือ การเน้นไปที่โครงสร้างของเนื้อหาใน 談話 (談話の情報構造)โดยที่เราจะค้นคว้าว่าในบทสนทนา ๆ หนึ่งนี่เขาเอาประโยคที่เป็นโครงสร้างหนึ่งของบทสนทนานัั้นและคำต่าง ๆ มาใช้รวมกันอย่างไร พูดง่าย ๆ ตามความเข้าใจเราก็คือออกแนวศึกษาวิธีการประยุกต์ใช้คำและประโยคในการนำมาสร้างบทสนทนาค่ะ ส่วนอีกแบบก็คือ  対人関係の言語運用 (ไม่แน่ใจว่าภาษาไทยควรเรียกแบบไหน ขออนุญาตทับศัพท์นะคะT_T) ซึ่งจะเน้นศึกษาวิธีการถ่ายทอดสารของผู้พูดและเกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาภาษาศาสตร์ในด้าน Pragmatics  หรือวัจนปฏิบัติศาสตร์ นั่นเองค่ะ

    มาถึงตรงนี้เราก็ขอเฉลยคำถามชวนไปกินข้าวข้างบนเลยนะคะ555
    ถ้าเราดูตามรูปประโยคก็จะเข้าใจว่าควรตอบ a แต่ถ้าหากประโยคนี้ปรากฏในบทสนทนาหรือสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม ก็อาจจะพิจารณาได้ว่าเป็นข้อ b ค่ะ (ก็คือถามว่าเตง ๆ ไปข้าวกันไหม)
    โดยที่แบบ a เรียกว่า 「否定疑問文」ส่วนแบบ b เรียกว่า「勧誘」
    ทีนี้เราก็เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าประโยค ๆ หนึ่งเนี่ยมันอาจจะไม่ได้หมายความตามรูปประโยคมัน แต่ต้องอาศัยสถานการณ์ (ในเอกสารที่เราอ้างอิงมาจะใช้คำว่า 場 ส่วนภาษาไทยน่าจะตรงกับคำว่าคอนเท็กซ์) เพื่อตีความจุดประสงค์ของผู้พูดด้วยค่ะ เพื่อให้เพื่อน ๆ เข้าใจมากขึ้น เดี๋ยวเราขอหยิบยกเรื่องต่อไปนี้ขึ้นมาเชื่อมโยงนิดนึงนะคะ


    場 นั้นสำคัญไฉน?
    สำคัญสุด ตัดไม่ออก ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะภาษาญี่ปุ่นเวลาถ่ายทอดข้อมูลสารต่าง ๆ การสนทนาใด ๆ ก็ตามจะต้องพึ่งสิ่งนี้เป็นอย่างมาก ดังนั้น 談話(Discourse)จึงเป็นที่ ๆ มีการกำหนดใช้คำหรือประโยคแตกต่างไปตาม 場 มากที่สุด
    ในแต่ละ 談話 นั้นจะถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้มุมมองของผู้พูดหรือแบบ Subjective เป็นหลัก ไม่ใช่ Objective  โดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดและผู้ฟังก็เป็นอีกหนึ่ง 場 สำคัญที่กำหนดการใช้คำหรือประโยคใน 談話ของภาษาญี่ปุ่น เช่น ภาษาสุภาพ(敬語)สามัญสำนึกเรื่อง 目下・目上 หรือ 内・外 ของคนญี่ปุ่น ในเรื่องนี้ แม้ภาษาอังกฤษจะมีคำสุภาพซึ่งมักใช้ในโอกาสทางธุรกิจแต่ก็ยังมีเซ้นส์ทางภาษาที่ถือว่าต่างจาก 敬語 ของภาษาญี่ปุ่นพอสมควร โดยข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ได้กล่าวขึ้นมาเมื่อกี้นี้ก็จะเป็นตัวกำหนดว่าผู้พูดควรใช้คำแบบไหน ต้องเลี่ยงคำไหนถึงจะสร้างบทสนทนาที่ถูกต้องได้ ต่อมาจึงกลายเป็น「場のルール」ที่ไม่ใช่ข้อกำหนดทางไวยากรณ์แต่เป็นข้อกำหนดทางสังคมไปนั่นเองค่ะ ถึงเราจะพูดถูกไวยากรณ์มากแค่ไหน แต่ถ้าไม่ถูกต้องตามกฏเกณฑ์ของสังคมก็จะถูกปัดว่าผิด ...รู้สึกยุ่งยากเนอะคะ แต่ก็จริงของเขานั่นแหละ5555555

    เอาละ เรามาวกกลับเข้าเรื่องของเราต่อ
    ในเมื่อ 談話 ในภาษาญี่ปุ่นมันไม่ได้เข้าใจง่าย  ๆ ขนาดนั้น แล้วเราที่เป็นคนไทยจะเข้าใจมันได้ไหมเนี่ย??
    อ่ามม... เราก็... คิดว่าได้นะคะ555 แบบว่าถ้าเรารู้จักว่ามันมีลักษณะเด่นยังไง อย่างน้อยก็จะพอจะเข้าถึงได้ค่ะ
    ขอหยิบยกเป็นงานวิจัยของท่าน ๆ อันโด่งดังจำนวนสามท่านนะคะ เขาได้สรุปออกมาตามนี้เลยค่ะ
    1) Senko K. Maynard (1993) - บทสนทนาในภาษาญี่ปุ่นจัดว่าเป็นภาษาที่มี「自己コンテクスト化」มาก โดยยกตัวอย่างว่าในบทสนทนาภาษาญี่ปุ่นนั้นมีการใช้ あいづち และคำลงท้ายซึ่งชี้ไปที่คู่สนทนาเยอะ ทั้งนี้「自己コンテクスト化」ที่เขาได้ยกขึ้นมานั้นหมายถึงการที่ผู้พูดเลี่ยงการออกตัว(อาจจะความคิดเห็น หรือแสดงความเป็นตัวเอง) ให้มากที่สุด และใส่ใจสถานการณ์รอบตัวเวลาสนทนากับผู้อื่น
    2) John Hinds (1976) - บทสนทนาในภาษาญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะไปในทางเลี่ยงการพูดปะทะอีกฝ่ายหรือความคิดเห็นที่อาจจะทำลายบทสนทนา
    3) Polly Szatrowski(1993) - จากการวิเคราะห์บทสนทนาในโทรศัพท์ของคนญี่ปุ่น พบว่ามีการสังเกตท่าทีของคู่สนทนาและใช้คำพูดที่แสดงความใส่ใจอีกฝ่าย

    กล่าวโดยสรุปก็คือ ภาษาญี่ปุ่นนั้น นอกจากจะต้องการ 場 เพื่อสร้างบทสนทนาที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องใส่ใจคู่สนทนาอยู่เป็นเนือง ๆ และไม่ทำลายบรรยากาศ (หรือที่รู้จักกันในคำแสลงว่า KY) ด้วยเพื่อให้บทสนทนาต่อไปได้อย่างราบรื่น มองในแง่ดีก็คือเป็นการเอาใจเขามาใส่ใจเรา สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่กัน แต่มองอีกแง่ก็คือถ้าเรา extreme เกินไปจะกลายเป็นว่าเราคิดมากไปก็ได้นะคะ... 555555

    วันนี้ก็มีเท่านี้ค่ะ ไว้พบกันใหม่นะคะ!

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    https://www.jpf.go.jp/j/project/japanese/teach/tsushin/reserch/pdf/tushin29_p14-15.pdf
    http://www.u-gakugei.ac.jp/~gangzhi/wp-content/uploads/2013/09/JCLA2013予稿集(大塚).pdf
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
padumpalm (@padumpalm)
ส่วนตัวตอนเรียนเรื่อง 談話ครั้งแรกเราไม่ค่อยเข้าใจเลย แต่พอทำความเข้าใจว่าคือการที่มีการกำหนดใช้คำหรือประโยคแตกต่างไปตามสถานการณ์ก็เห็นภาพมากขึ้นเลยค่ะ ตัวอย่างประโยคที่คุณปลายกมาทำให้เห็นถึงความซับซ้อนของคนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
iroha (@iroha)
เรื่องนี้น่าสนใจมากเลยค่ะ ถึงจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ที่มีคำเฉพาะและค่อนข้างเข้าใจยาก แต่ก็สรุปได้ดี เข้าใจง่ายมาก ๆ เลยค่ะ
k.l.k (@k.l.k)
เป็นการสรุป 談話 ทบทวนวิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้นอย่างดีเลย ลักษณะการสนทนาของญี่ปุ่นสนใจสถานการณ์และผู้ฟังจริงๆ จึงเกิดคำว่า KY อย่างที่เขียน