เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Plaa's diary feat. APP JP LINGnamprikplaa2
Entry No.6:ยาซาชี่นิฮงโกะ... มันยาซาชี่จริงไหมนะ
  • สวัสดีค่ะพบกันเป็นรอบที่ 6 แล้วนะคะ ชีวิตเราช่วงนี้คือแบบว่า ในที่สุดก็หมดมิดเทอมซักทีดีใจจังเลยค่ะ เย้ๆๆๆๆ (...แต่ก็ต้องมาตกใจกับกองงานที่รอเราอยู่ในอีกครึ่งเทอม ร้องไห้ได้ไหม555)

     สำหรับเนื้อหาในวันนี้ก็อยากจะนำเสนอเกี่ยวกับประเด็นๆ หนึ่งนั่นก็คือ “ภาษาญี่ปุ่นอย่างง่าย” หรือก็คือ やさしいにほんご นั่นเองค่ะ งั้นเรามาเกริ่น ๆ เกี่ยวกับที่มาของไอ้เจ้ายาซาชี่นิฮงโกะกันเลยละกันค่ะ

    คือญี่ปุ่นในปัจจุบันเนี่ยเป็นประเทศที่มีชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากจุดประสงค์ส่วนมากของพวกเขาก็มีทั้งเข้ามาเพื่อแสวงหาประสบการณ์และความรู้ aka. เรียนต่อ บางคนก็เข้ามาทำงานหาเลี้ยงชีพย้ายมาอยู่ตามเพราะว่าแต่งงานกับคนญี่ปุ่นและอีกมากมายเรียกได้ว่าเราสามารถพบเจอคนต่างชาติได้แทบทุกมุมเลยก็ว่าได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามานี้แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถพูดหรือเข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้อย่างคล่องแคล่วอีกทั้งประเทศญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่โดนภัยพิบัติรุมเร้าเป็นประจำอยู่แล้ว คนต่างชาติที่เขาอ่านญี่ปุ่นไม่ออกเขาอาจจะลำบากเวลาภัยพิบัติมาจ๊ะเอ๋แบบว่าฟังประกาศหรืออ่านป้ายเตือนภัยไม่ออกไรงี้ เพราะงั้นประเทศญี่ปุ่นเขาจึงได้คิดค้นเจ้าやさしいにほんごขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาในส่วนนี้นั่นเองค่า (แต่คิดว่าทุกคนก็น่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้วแต่ขอเกริ่นไว้ให้เข้าใจถึงที่มาของมันนะคะ555)

    ทีนี้เราก็มาดูลักษณะของรูปแบบภาษาแบบยาซาชี่นิฮงโกะกันค่ะ

    -            ทำประโยคให้สั้นลง

    -            เลี่ยงใช้คำเชื่อมและคำขยาย

    -            ทำท้ายประโยคให้เข้าใจง่าย

    -            เลี่ยงการใช้ประโยคปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ

    -            ใช้คำง่ายๆ แทน

    -            ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับอุบัติภัย(เช่น余震、給水車 ฯลฯ)ร่วมกับคำที่สามารถนำมาใช้แทนได้

    -            เลี่ยงการใช้คาตาคานะ

    -            ใส่ฟุริงานะหรือคำอ่านคันจิ

     

    อย่างไรก็ตามเจ้ายาซาชี่นิฮงโกะนั้นก็ไม่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์หรอกค่ะ เพราะว่าการทำให้ภาษานั้นง่ายขึ้นก็มีผลพวงมาคือทำให้สารเพี้ยนไปสื่อสารไม่ครบครบความเดิม และอีกมากมาย วันนี้ก็จะหยิบยกปัญหามาพูดคร่าว ๆ นะคะ

     

    1.   ใช้คำง่ายเกินไปจนสื่อผิดความหมาย

    -เนื่องจากยาซาชี่นิฮงโกะใช้วิธีเปลี่ยนคำยากเป็นคำง่ายโดยอ้างอิงจากคำศัพท์ระดับ 3-4 เป็นหลัก ซึ่งมีประมาณ 1500 คำแม้ว่าจะเข้าใจง่ายขึ้นแต่ก็อาจจะทำให้สารคลาดเคลื่อนได้ค่ะ

    ยกตัวอย่างเช่นคำว่า「とる (取る)แม้จะฟังดูเป็นคำง่าย ๆ แต่สำหรับชาวต่างชาติที่มีความรู้ภาษญี่ปุ่นเพียงแค่ระดับ3 ก็จะรู้จักแค่ในความหมายว่า「手に持つ แล้วสมมติชาวต่างชาติคนนั้นไปเห็นคำว่า「野菜をとる (摂取する)」「新聞をとる (定期講読する)」「場所をとる (塞ぐ)ก็จะเข้าใจความหมายผิดไปเป็นอีกแบบกลายเป็นว่าไปอ่านในความหมาย「手に持つไปแทนนั่นเองค่ะ

    2. ใช้คำกริยาที่เป็นตัวฮิรางานะหรือตัวญี่ปุ่นจนทำให้สารคลาดเคลื่อน

    โดยทั่วไปแล้วคำกริยาญี่ปุ่นฟังดูเข้าใจง่ายกว่ากริยาที่เป็นตัวคันจิ แต่อันที่จริงแล้วคำกริยาญี่ปุ่นนั้นสามารถใช้ได้หลากหลายความหมายและการใช้กริยาญี่ปุ่นก็มีโอกาสที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะเข้าใจความหมายกันคนละแบบได้ผิดกับคันจิที่มีความหมายเดียวและจบในตัว ไม่สามารถแปรเป็นความหมายอื่นได้นั่นเอง

    3. ใช้คำที่มีความยากต่างระดับปะปนกัน

    การพยายามเขียนสารให้มีความ具体的มากเกินไปมีโอกาสที่จะผู้รับสารจะไม่เข้าใจเนื่องจากใช้คำที่ยากเกินขอบเขตความรู้ของผู้รับสารโดยทั่วไปแล้วหากมีคำยากปนอยู่ในข้อความ คนเรามักจะละเลยคำข้างหลังคำนั้น เช่น 手を触れないでください เราก็จะไม่ทันสังเกตตรงないで  ท้ายที่สุดแล้วก็จะนำไปสู่การคาดเดาความหมายแทน เนื่องจากผู้รับสารไม่เข้าใจความหมายของคำในข้อความซึ่งหากเดาถูกก็ดีไป แต่ถ้าไม่ก็ลำบากหน่อยค่ะ5555

    4. การทำแบบ具体化มีโอกาสที่จะทำให้ความหมายของสารเพี้ยนไป

    ยกตัวอย่างเช่น 「火の元を確認してください」เมื่อเขียนให้ชัดเจนว่าผู้รับสารจะต้องทำอย่างไรก็จะกลายเป็น「ガスやストーブの火を消してください」ซึ่งจะหมายถึงเพียงแค่ให้ผู้รับสารไป “ปิดไฟหรือแก๊สที่เตา”แต่จะเสียความหมายในส่วนที่บอกว่า “ให้ตรวจสอบบริเวณเตาว่ามีกลิ่นแปลก ๆ อันจะนำไปสู่อุบัติเหตุได้หรือไม่”นั่นเองค่ะ

    อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ「避難路を確保してください」= โปรดเตรียมเส้นทางสำหรับลี้ภัยเมื่อเขียนให้ชัดเจนมากขึ้นก็จะกลายเป็น「ドアを開けてください」

    ในส่วนนี้มันจะมีปัญหาตรงที่เราเข้าใจว่าเราต้องเปิดประตูแต่ไม่ได้สื่อพ้อยต์ว่าที่เปิดประตูเนี่ยก็เพื่อเตรียมเป็นเส้นทางลี้ภัยเวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันอะไรอย่างนี้นะ


    โดยทั่วไปแล้วการใช้ยาซาชี่นิฮงโกะเพื่อถ่ายทอดสารในช่วงภัยพิบัตินี้เขาก็มักจะใช้ข้อความแนว“ให้ทำอย่างงี้ ทำอย่างงู้น ทำแบบนี้นะ” หรือก็คือเป็นการเขียนข้อควรปฏิบัติต่าง ๆแต่พอสารมันคลาดเคลื่อน หรือผู้รับสารไม่สามารถเข้าใจจุดประสงค์ของสารได้ก็จะมีโอกาสที่ผู้รับสารจะไม่ทำตามข้อควรปฏิบัติยามเกิดเหตุภัยอันตรายต่างๆ อันจะนำไปสู่ความสูญเสียนั่นเองค่ะ

    นี่ก็เป็นอีกเรื่องราวที่เราคิดว่าน่าสนใจเพราะปกติเรามักคิดว่ายาซษชี่นิฮงโกะมันน่าจะเข้าใจง่ายด้วยรูปภาษาของมัน แต่จริงๆ ก็มีอีกแง่มุมปัญหาที่เราคาดไม่ถึงด้วยเช่นกันค่ะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ เย้^___^


    อ้างอิง

    植木正裕(2006)「外国人への災害時情報伝達における「わかりやすさ」とその問題点」『国立国語研究所』https://www.anlp.jp/proceedings/annual_meeting/2006/pdf_dir/S1-5.pdf2022/03/15アクセス)

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
k.l.k (@k.l.k)
พอเข้าใจง่ายเกินไป ข้อเสียคือมันก็เลยไม่ตรงประเด็นเท่าไหร่ ถ้ามีงานวิจัยวิจัยว่าง่ายแค่นี้แล้วพอรับได้ไม่เกิดความเข้าใจผิด คงจะดีไม่น้อย