เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Plaa's diary feat. APP JP LINGnamprikplaa2
Entry No.2: FLA & SLA
  •  เย้ สบายดีกันไหมคะทุกคนนน

    สำหรับคาบที่ผ่านมาเราก็ได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ เรื่องเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของภาษาญี่ปุ่น-ไทย หรือจะเป็นเรื่องอักษร IPA(ชวนให้นึกถึงตอนเรียนอินโทรแลงสมัยปี 1 เลยค่ะ?) แต่สำหรับเอนทรี่นี้เราอยากหยิบเรื่อง ๆ หนึ่งที่เราคิดว่าน่าสนใจมานำเสนอทุก ๆ คนค่ะ

    FLA & SLA คือ?

      •   FLA   (First Language Acquisition) หรือ 母語習得 ตามความเข้าใจของเราหมายถึงภาษาแม่ หรือภาษาที่ผู้ปากได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับการเจริญเติบโต และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ทำให้กระบวนการเรียนรู้ระดับนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และผู้พูดจะสามารถใช้ภาษาแม่ของตนได้ 100 % เทียบกับคนไทยอย่างเราก็ภาษาไทยนี่แหละค่ะ
      •    SLA   (Second Language Acquisition) หรือ 第二言語習得 พูดง่าย ๆ ก็คือภาษาที่สองนั่นเองค่ะ การเรียนรู้ในระดับนี้จะเป็นไปอย่างค่อย ๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือข้อกำหนดของผู้เรียนด้วย แต่ต่างกับภาษาแม่ตรงที่เราสามารถเลือกภาษาเรียนได้ และเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จในการเรียนภาษาจะน้อยกว่าภาษาแม่ 
         อธิบายแบบนี้แล้วน่าจะเข้าใจคอนเซปต์กันนะคะ ทีนี้เรามาดูปัจจัยที่ทำให้การเรียนรู้ภาษาแม่และภาษาที่สองแตกต่างกันดีกว่าค่ะ
    1. อายุ - ช่วงอายุที่เราเรียนรู้ภาษาแม่นั้นเริ่มตั้งแต่ตอนที่เราเกิดมาเป็นทารกเบบี๋ และเมื่อเข้าสู่อายุ 6 ขวบ เราก็สามารถใช้ภาษาแม่ของเราได้แบบnative speaker อย่างสมบูรณ์แบบ (เราเรียกช่วงวัยนี้ว่า 臨界期) ในขณะที่เรามักจะได้เรียนภาษาที่สอง (หรือสาม) กันเอาตอนเข้าช่วงวัยรุ่นไปแล้ว ทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ไม่มากเท่าตอนเรียนค่ะ
    2. ลักษณะนิสัย - ปัจจัยนี้จะมีผลกับภาษาที่สองค่ะ เช่น คนที่เป็น extrovert มีแนวโน้มที่จะมีพนาการในการเรียนภาษาที่สองได้ไวกว่าคนที่เป็น introvert แต่จะไม่มีผลกับการเรียนภาษาแม่เลย
    3. วัฒนธรรม - ภาษาแม่ถือเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมในสังคมที่สำคัญของเจ้าของภาษา ในขณะที่ภาษาที่สองเป็นเพียงอีกหนึ่งตัวเลือกในการเรียนรู้มุมมองใหม่ ๆ เพียงเท่านั้น
    4. แรงขับเคลื่อนในการเรียน - ผู้เรียนที่มีแรงขับเคลื่อนจะพัฒนาการใช้ภาษาที่สองได้ดีกว่า ข้อนี้เราน่าจะรู้กันดีนะคะ5555
    5. ภาษาแม่ของผู้เรียน - ข้อนี้คิดว่าสำคัญมากค่ะ หากภาษาแม่ของเรามีจุดที่คล้ายกับภาษาที่สองก็จะทำให้การเรียนของเราไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น เช่น คนเกาหลีมาเรียนญี่ปุ่นก็จะไปได้ไวกว่าคนไทยมาเรียนญี่ปุ่นเพราะทั้งไวยากรณ์และคำศัพท์บางคำมีส่วนที่คล้ายกัน ซึ่งจะตรงกับแนวคิดเรื่องการถ่ายโอนภาษา (Language transfer) ของอ็อดลินที่ได้กล่าวไว้ว่าการถ่ายโอนจะเป็นตัวกำหนดระดับความยากง่ายในการเรียนรู้ภาษาที่สอง ยิ่งภาษาแม่กับภาษาที่เราอยากเรียนแตกต่างก็จะยิ่งทำให้การเรียนรู้ยากมากขึ้น
     (อ้างอิง: https://www.basic-concept.com/c/difference-between-first-language-second-language              https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=joechou&month=10-2009&date=26&group=4&gblog=7)
     
        **ข้อคิดเห็น** สำหรับเรื่องนี้เราไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกันไหม แต่เราคิดว่าการที่ภาษาแม่กับภาษาที่สองมีจุดคล้ายกันนั้นก็อาจจะมีข้อเสียอยู่ค่ะ อย่างเช่นคนญี่ปุ่นจะเขียนบทความภาษาเกาหลี แต่บางครั้งก็พึ่งพาความเหมือนกันของภาษามากเกินไปจนละเลยข้อแตกต่างทางภาษาบางข้อ ทำให้ภาษาที่เขาใช้อาจดูไม่ธรรมชาติก็ได้ค่ะ

    ....มาถึงตรงนี้มีใครสงสัยเหมือนเราไหมคะว่าถ้าอ้างอิงจากแนวคิด FLA SLA แล้ว งี้ก็หมายความว่าเราไม่มีวันเก่งเทียบเท่าพวกเนทีฟได้เลยเหรอ????

        ตอบ: เท่าที่เราไปอ่านหลาย ๆ บทความมา เขาจะบอกเลยว่า ไม่มีทาง ค่ะ? 

        ซึ่งเราก็ว่าคงจะจริงนะ แต่เราคิดว่าถึงเราจะไม่เก่งเท่าเนทีฟ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราล้มเหลวกับการเรียนภาษาที่สองนะคะ มันขึ้นกับว่าเราเรียนไปทำไม เพื่ออะไร ความสำเร็จของเรามันคืออะไร ส่วนตัวเราอยากเรียนเพื่อให้สื่อสารได้ เข้าใจได้ สามารถนำความรู้ที่เรามีไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อต่อยอดในการทำงานได้ก็พอค่ะ คือถ้าเราเก่งได้เท่าเนทีฟก็คงจะดีใจมากเลยค่ะ แต่ตอนนี้เราตั้งเป้าไว้เท่านี้ก่อน ณ จุด ๆ นี้แค่เล่นเกมฉบับญี่ปุ่นได้รู้เรื่องไม่ต้องรอฉบับแปลอังกฤษเข้าสตีมไรงี้ก็รู้สึกคุ้มค่าที่ได้เรียนแล้วค่ะ55555 

     

    สำหรับเอนทรี่ก็มีเพียงเท่านี้นะคะ  ถึงจะฉีดวัคซีนไปแล้วแต่ช่วงนี้ก็ยังมีโอมิครอนระบาดอยู่ อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพด้วยน้าาา แล้วเจอเอนทรี่หน้าค่า<3





Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in