เล่มที่สองเป็นเล่มที่ต่อเนื่องจากการที่ท่านกล่าวถึงพินัยกรรมต่อเนื่อง และท่านยังกล่าวถึงความสำคัญของโลกและคนในเล่มนี้ว่า โลกแบบไหน คนแบบใด ที่นำพาทุกอย่างให้เป็นแบบนี้
เรื่องราวเล่มสองเป็นเรื่องราวต่อเนื่อง ที่กำลังจะบอกเล่าถึงเรื่องราวทั้งหมด และปรากฎ อยู่ทั้งหมด ๑๓ ตอน ได้แก่
๑. พินัยกรรม
๒. คำปรารภและข้อคิดอิสระ
๓. ธรรมะกับชีวิต
๔. ชุดหนทางรอดของมนุษย์เรา
๕. ชุดสัจจสาร
๖. พระพุทธศาสนาและระหว่างศาสนา
๗. ปรมัตถธรรมและศีลธรรมกลับมา
๘. โลกนิติ - ธรรมนิติ
๙. ศรัทธา - ปัญญา - สติ
๑๐. ปรมัตถธรรม (อนัตตา สู่ อตัมมยตา)
๑๑. การศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรม
๑๒. เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสันติภาพ
๑๓. ชุดความอยู่รอดของประเทศไทย
พินัยกรรมต่อจากที่ท่านเขียนและดำเนินมาถึงจนกระทั่งพินัยกรรม ฉบับล่าสุด และคำสอนของท่านยังนำพาให้เราเข้าใจถึงโลกที่ไร้คนเห็นแก่ตัวเป็นแบบไหน และควรทำอย่างไร ให้โลกเต็มไปด้วยความไม่เห็นแก่ตัว
พินัยกรรม
“ทำบุญเอาหน้า มากกว่าเพื่อล้างบาป เลยต้องมีการสมโภชครึกครื้นให้รู้กันหัวบ้าน ท้ายบ้าน แฝงการทำบาปไว้เบื้องหลัง และทำบาปมากขึ้น ควรถือคำสอนพระเยซูที่ว่า ทำบุญไม่ต้องเป่าแตร ทำบุญด้วยมือขวา อย่าให้มื้อซ้ายรู้ ไม่ต้องรับเกียรติเพราะทำบุญ มันจะไม่ได้บุญ เพราะมันเพิ่มกิเลสหรือความเห็นแก่ตัวมากกว่าเดิม”
หลายต่อหลายครั้ง เราเห็นว่า คนในปัจจุบันชอบทำบุญเอาหน้า โดยการป่าวประกาศให้คนทั้งโลกรู้ ฆ่าสัตว์ใหญ่ เพื่อมาเลี้ยงคน และทำให้คนรู้ว่า เราดูดีและรวย แต่ความจริงแล้ว การทำบุปแบบนี้ย่อมได้บาปมากกว่าบุญ
คำปรารภและข้อคิดอิสระ
“มันหนีหายไปหมด เพราะฉันเกลียดมัน ไม่ต้อนรับมัน ไม่ให้โอกาสแก่มัน ไม่ให้อาหารแก่มัน”
การไม่เลี้ยงอาหารให้กับกิเลส กิเลสก็เกิดไม่ได้ แล้วความสุขทุกข์จะมาจากไหน ในเมื่อไม่มีอะไรไปหล่อเลี้ยงและให้อาหารได้
ธรรมะกับชีวิต
“แก้ปัญหาโลกุตระ : จิตปรกติ เพราะเห็น : ตถาตา : ไม่ยินดี - ยินร้าย ไม่เกิดกิเลส - ปฏิจจ - ตัวกู สุญญาตา : ไม่มีตัวอันเป็นที่ตั้งของทุกข์ (ยังจะค่อยพูด” จิตรหลุดพ้น : เเยกจากกาย - เหนืออารมณ์ - เหนือโลก”
เราเคยทำได้ครั้งหนึ่ง ที่มันเป็นสภาวะของการไม่ยินดี ยินร้าย และใจก็พบกับความสุขอีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นสุขแบบไม่ใช่สุขทางโลก ตอนนั้น เรายิ่งศรัทธาในคำสอนของท่านพุทธทาส ครูบาอาจารย์ทุกพระองค์ และพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง
ชุดหนทางรอดของมนุษย์เรา
“บ่อเกิดแห่งความเห็นแก่ตัวคือตัวตน”
“หน้าที่นั่นแหละ คือ ธรรม”
คนเรามีหน้าที่สำคัญในการดำเนินชีวิตอยู่หนึ่งอย่างที่ต้องทำประจำและทำตลอดไป ก็คือ การปฏิบัติธรรม เพื่อลดความเห็นแก่ตัว (ตัวตน) นั้นจนหมดสิ้นไปจากตัวเรา
ชุดสัจจสาร
“การศึกษาโลกยิ่งผิด ยิ่งฉลาด ยิ่งเห็นแก่ตัว ยิงเจริญ ยิ่งเห็นแก่ตัว”
เพราะเรากำลังศึกษาโลกที่ไม่ใช่โลก ก็ยิ่งทำให้หลงผิด และยิ่งทำให้เพิ่มกิเลส คือ การเพิ่มความเห็นแก่ตัวให้มากขึ้นกว่าเดิม
พระพุทธศาสนา และระหว่างศาสนา
“อายผีสางเทวดาที่แท้จริง คือ ละ อายตัวเอง”
ทุกคนควรฝึกความละอายแก่ใจ ละอายในการทำความชั่วทุกประการ เพื่อไม่ให้เราทำผิดซ้ำซาก จนสุดท้ายแล้ว ตัวเราไม่พ้นผิดเพราะตัวเรา
ปรมัตถธรรมและศีลธรรมกลับมา
“บัดนี้ หมดความเป็นสีลธรรมทุกชนิด กลายเป็นวิถีทางแห่งความบ้าสุข & โอกาสแห่งการขูดรีด คดโกง ทุกประการ”
จริงๆ ปัจจุบันนี้ หลายต่อหลายครั้ง ที่หนังสือหลายเล่มชอบพูดถึงทำอะไรก็ได้ เพื่อความสุขของตัวเอง และเน้นแต่เรื่องสุข จนกระทั่ง จริงๆแล้ว ทุกคนเผลอลืมหรือเปล่าว่า สุขก็คือทุกข์ชนิดหนึ่ง เพราะหลงสุขคือหลงในไฟเย็น ส่วนหลงทุกข์คือหลงในไฟร้อน
โลกนิติ - ธรรมนิติ
“ความเกิดแก่เจ็บตาย มิใช่ปัญหา - ชีวิต แต่เป็นธรรมดาแห่งชีวิต เห็นเป็นตถาตาแล้ว ก็ไม่เป็นปัญหาจะเฉยได้ ถ้าไม่เห็น ก็จะหาเป็นที่ตั้งแห่งปัญหา และทุกข์”
ไม่มีใครหนีพ้นความเกิด ความเเก่ ความเจ็บ และความตายได้ เพราะไม่มีใครในโลกนี้หนีพ้นปัญหาเหล่านี้
ศรัทธา - ปัญญา - สติ
“ความไม่รู้อะไรเสียเลย ไม่ทำให้เกิดปัญหายุ่งยากอย่างที่โลกกำลังได้รับอยู่ แต่เราก็ไม่ชอบ เราจึงรู้เกินที่จะควรรู้”
ยิ่งเรารู้มาก ก็ยิ่งทุกข์มาก เเละเดี๋ยวนี้อะไรก็เกินที่คนเราทุกคนควรจะรู้ และทำให้ทุกข์มากยิ่งขึ้น หากไม่รู้ ก็ไม่ทุกข์ เพราะไม่มีอะไรที่จะมายึดอะไรๆด้
ปรมัตถธรรม (อนัตตา สู่ อตัมมยตา)
“เมื่อไม่เรียนธรรม ฉันมีตัวตน พอเรียนธรรม ไม่มีตัวตน พอรู้จักธรรม ก็กลับมีตัวตน แต่อีกแบบหนึ่ง”
รู้จักธรรมก็กลับพบตัวตนที่ไร้ตัวตนอยู่ในนั้น แต่ตัวตนนั้นคืออะไรก็ตอบได้ไหม เพราะปัจจุบัน หลายคนก็ยังหลงในตัวตนทั้งนั้น
การศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรม
“ถ้าการศึกษาถูกต้องจริง จะต้องไม่มีปัญหาทางสีลธรรม หรือสันติภาพของมนุษย์”
มนุษย์ในปัจจุบัน ก็ร้องเรียกแต่สันติภาพ แต่ความจริงในโลก ไม่มีหรอก เพราะศีลธรรมยังรักษากันไม่ได้ แล้วจะไปหาอะไรกับการมีสันติภาพ
เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสันติภาพ
“ทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย
ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น”
ถ้าหากเราคิดแบบนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องทะเลาะกัน ไม่จำเป็นต้องฆ่ากัน ไม่จำเป็นต้องพ้นพิษให้กัน และไม่จำเป็นต้องนำพาความทุกข์มาสู่กัน
ชุดความอยู่รอดของประเทศไทย
“เมื่อกลัวเกิดใหม่ก็ดูที่มันเกิดอยู่เรื่อย”
เพราะว่า ยิ่งดูว่ามันเกิดมากเท่าไหร่ ความดับก็ใกล้มากขึ้นเท่านั้น และทุกคนจะพบเห็นว่า การดับในการเกิดนั้นเป็นอย่างไร
หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยธรรมะที่ลึกซึ้งยิ่งนัก และเมื่อยิ่งได้ค่อยๆอ่าน ก็ยิ่งพบว่า ใจสว่างมากเท่านั้น แล้วใจก็คลายทุกข์หลายอย่างที่เรายึดไปมากเท่าที่จำเป็น ซึ่งเมื่อยิ่งอ่าน เมื่อยิ่งทำใจ เมื่อยิ่งตั้งใจ ทุกข์ก็ย่อมมลายไปนั้นเอง
LOOK A BREATHE
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in