เปรียบราศีธนู - คนยิงธนู
นักรบที่ปกป้องประเทศอย่างกองเสือป่าและลูกเสือนั้นเปรียบดั่งคนยิงธนู เพื่อปกป้องตนเองและบ้านเมือง หากแม้นบ้านเมืองไร้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์แล้วไซร้ ความทุกข์ระทมตรมย่อมเกิดแก่ปวงประชาเพียงผู้เดียว เเต่ถ้าหากนักปกครองย่อมเป็นมนุษย์ที่ดีและประเสริฐ เช่นเดียวกับนักรบย่อมเป็นคนซื่อตรงและจงรักภักดี เมื่อมีทั้งสองสิ่งนี้ครบแล้ว ปวงประชาก็ย่อมผาสุก
เรื่องราวเรื่องนี้เริ่มต้นที่ว่า พระภิรมย์วรากร ท่านทรงเป็นข้าราชการบำนาญที่เมืองหัสดินบุรี เขารู้สึกชังทั้งกองเสือป่าและลูกเสืออย่างยิ่ง เพราะไม่เห็นประโยชน์อันใดจากทั้งสองสิ่งนี้ แต่ส่วนคนในครอบครัวเขาส่วนใหญ่จะเห็นชอบกับสองสิ่งนี้ ยกเว้นลูกชายคนกลาง
๑. นายสวัสดิ์ (ลูกชายคนเล็ก) เตรียมตัวจะไปสมัครเป็นลูกเสือ
๒. อุไร (ธิดา) คบค้าสมาคมกับหลวงมณีราษฎร์บำรุง ผู้เป็นผู้บังคับหมวดเสือป่า
๓. นายสวิง (ลูกชายคนโต) ไปเป็นกองเสือป่าอย่างภาคภูมิใจ
ยกเว้นลูกชายคนกลางคนนี้ที่พระยาภิรมย์วราการรักเป็นพิเศษ นั้นก็คือ
๔. นายสวาย (ลูกชายคนกลาง) ผู้อ่อนแอ รักความสบาย และเป็นชู้กับแม้เน้ย อนุภรรยาของพ่อตัวเอง ที่ไม่สนใจทั้งกองเสือป่าและลูกเสือ
พระภิรมย์วรากรคบค้ากับนายซุ่นเบ๋ง หลอกเขียนจดหมายเรียกให้สวิงกลับมา และสวิงเลยต้องกลับมา เพราะคิดว่า พ่อเป็นโรคหัวใจ ดังนั้น สวิงกลายเป็นบุคคลหนีทหาร
อยู่ดีๆวันหนึ่ง ข้าศึกยกกำลังเข้ามารุกรานเมืองหัสดินบุรี และหลวงมณีราษฎร์บำรุง ผู้บังคับหมวดเสือป่าจึงต้องคุมกำลังไปป้องกันรักษาสะพานข้ามลำน้ำ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญต่อการทำลายของข้าศึก
และนายสวิง เมื่อรู้ว่า ตนถูกหลอก จึงขออาสาที่จะนำข่าวไปแจ้งกับกองทหารเพื่อทำดีไถ่โทษเรื่องหนีทหาร แต่ก่อนที่สวิงจะส่งข่าวไป ดันมาตายเพราะข้าศึกเสียก่อน ดังนั้น พระยาภิรมย์วรากรจึงตัดสินใจหยิบปืนมาสู่ศึกเพื่อหัสดินบุรี แต่พระยาภิรมย์วรากรถูกจับในข้อหาที่ไม่ได้เป็นเสือป่า จึงใช้ปืนยิงข้าศึกไม่ได้ แต่เมื่อพระยาภิรมย์วรากรได้ชี้แจ้งข้อเท็จจริง ตัวเขาก็ถูกปล่อยออกมา
ในไม่ช้า นายสวัสดิ์ บุตรชายคนเล็กก็ได้นำพาข้อมูลเท็จจริงไปบอกกับกองทหารสำคัญในที่สุด และส่วนบุตรคนกลางอย่างนายสวาย ผู้คบคิดชั่วกับนายชุ่นเบ๋งที่ไปบอกความลับและเป็นไส้ศึกทุกอย่างกับทหารฝั่งตรงข้ามที่เป็นข้าศึกศัตรู ก่อนที่จะนำมาสู่การยิงนายสวิง พี่ชายของตนจนตาย และสุดท้าย ผลกรรมก็คือถูกโทษประหารชีวิต
ส่วนพระยาภิรมย์วรากรจึงตัดสินใจไปสมัครเป็นกองเสือป่า และหลวงมณีราษฎร์บำรุงก็บอกลาแม่อุไรไปทำหน้าที่กองเสือป่าต่อไป เพื่อต่อสู้กับข้าศึกอย่างหาญกล้าและเสียสละอย่างแท้จริง เพื่อเมืองหัสดินบุรีที่อยู่อย่างผาสุก
ยกตัวอย่าง บทพูดระหว่างพระยาภิรมย์วรากรกับผู้บังคับบัญชา
“ทำไม ฉันเป็นคนไทยคนหนึ่งเหมือนกัน จะไม่มีอำนาจอันชอบธรรมที่จะต่อสู้ศัตรูแห่งชาติไทยฦา ฉันไม่มีอำนาจชอบธรรมที่จะป้องกันบ้านเมืองของฉันฦา”
(คำพูดนี้จะเป็นคำพูดของพระยาภิรมย์วรากรที่คุยกับผู้บังคับบัญชา และผู้บังคับบัญชาก็ให้เหตุผลว่า ท่านทำผิด เพราะท่านเป็นประชาชนธรรมดา ไม่ใช่กองเสือป่า ที่ถูกต้อง ชอบธรรมด้วยกฎหมาย ที่จะสามารถจับอาวุธป้องกันประเทศได้ หากแม้นมีบุคคลใดที่ทำเหมือนท่าน แต่ดันไปฆ่าคนบริสุทธิ์เล่า ก็ย่อมนำพาไปในทางที่ผิดได้ ดังนั้น การกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมเป็นสิ่งสำคัญสุด ซึ่งตอนหลังพระยาภิรมย์วรากรก็เข้าใจ และเปรียบดั่งเหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบันที่กราดยิงนั้น ย่อมทำให้เห็นถึงความจริงในข้อนี้ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๖ ท่านต้องการสื่อเพื่อเตือนใจว่า คนเราต้องทำทุกอย่างชอบด้วยกฎหมาย มิฉะนั้นแล้ว ความทุกข์ย่อมบังเกิด และอีกข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงนิสัยที่แท้จริงของพระยาภิรมย์วรากรว่า เป็นคนรักชาติบ้านเมือง ยอมเสียสละ และยอมรับด้วยกับเหตุและผลที่เป็นความจริง)
หนังสือเล่มนี้อ่านฟรีอีกเช่นกันค่ะ และเป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงฝันที่ดีของประเทศ เพราะหากแม้นประเทศชาติเรามีคนกล้าหาญ รู้จักเสียสละ สามัคคี ไม่กลัวตาย ซื่อสัตย์ ซื่อตรง จงรักภักดี มีไหวพริบ และตั้งใจทำคุณเพื่อประเทศแล้วไซร้ ประเทศนั้นย่อมพ้นจากเงื้อมมือของคนคิดร้ายและคนคิดชั่วกับประเทศชาติแน่นอน ซึ่งเราชอบตรงที่ท่านเน้นเรื่องเกียวกับความสามัคคีและไหวพริบถึงที่สุด
หากแม้นชาติไร้ซึ่งคนกล้าหาญ
ชาติร้าวราญฉิบหายจนน่าดู
ประชาชนคงไร้หนทางจะสู้
ศาสนาคงถูกทำลายจนวอดวาย
ชีวิตคนคงจะหนีไม่พ้นจริง
ว่าทุกสิ่งเป็นฝันที่รอมลาย
ไม่เหลือทางพ้นจากศัตรูได้
และสุดท้ายก็ไม่เหลือชาติบ้านเมือง
LOOK A BREATHE
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in