(Yes to Life
in spite of everything)
การแลกเปลี่ยนความทรงจำ
เมื่อผมเข้าสู่วัยชรา ผมเดินทางมาพบกับร้านนี้โดยบังเอิญ ผมตัดสินใจแลกเปลี่ยนความทรงจำในปัจจุบัน กับจานหนึ่งใบเพื่อไปยังอดีตในวัยทำงาน และก่อนเดินทางไป เจ้าของร้านพาผมไปยังโต๊ะอาหารเพื่อทานอาหารก่อนที่จะเดินทางไปยังที่หนึ่ง
ความหวังที่ยังมีอยู่
เราไม่ได้อ่านหนังสือเล่มที่ดีต่อชีวิตแบบนี้มานานมาก มุมมองของเขาต่างจากทุกนักเขียนที่ผ่านมา เขาทำให้เราเห็นคุณค่าของคนที่ไม่มีงานทำ ป่วยเป็นจิตเวช และคนที่กำลังทุกข์จนสุดขีด ได้อย่างชัดเจน
[เมื่อชีวิตยังมีลมหายใจก็ต้องดิ้นต่อไป]
เพราะใครเป็นคนตัดสินว่า คนเหล่านี้ไม่มีคุณค่า หากไม่ใช่มนุษย์ด้วยกัน ที่มองสิ่งที่เล็กน้อยเหล่านั้นเป็นสิ่งไร้ค่า โดยที่จริงๆ ทำไม เราถึงไม่มองว่า เขาใช้ชีวิตเหล่านั้นอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไรต่างหากที่สำคัญกว่ามาก
ความหมายของชีวิตคือความหวังที่มีอยู่
ณ สถานที่แห่งความหมาย
ย้อนกลับไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่นาซีกวาดล้างยิวอย่างให้หมดไปจากโลกนี้ และจิตแพทย์ท่านนี้ที่เป็นยิวก็ถูกกักกันด้วย และเมื่อพอถูกปล่อยตัวออกมา หนังสือเล่มนี้จึงเกิดขึ้น
[อย่าสูญสิ้นความหวัง แม้ยังมีลมหายใจอยู่]
เรื่องราวในเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามภาค ได้แก่
๑. ภาคแรก คือว่าด้วยความหมายและคุณค่าของชีวิตที่เกี่ยวกับความหมายของชีวิตว่า แต่ละคนมีความหมายของชีวิตที่แตกต่างกันไป คนเราทุกข์ที่แตกต่างกันไปและคนเราไม่ควรตัดสินชีวิตของคนอื่นด้วยสิ่งที่เรายังไม่เคยประสบ
๒. ภาคสอง ได้แก่ ว่าด้วยความหมายและคุณค่าของชีวิตที่เกี่ยวกับผู้ป่วยทางจิตเวชว่า ความเป็นจริงแล้วของผู้ป่วยจิตเวชเหล่านี้เป็นคนที่ไม่มีความหมายหรือคุณค่าจริงหรือเปล่า เพราะความเป็นจริงของคนทุกคนล้วนมีการดำเนินชีวิตที่มีความหมายในตัวเองทั้งนั้น แต่เราขอออกตัวว่า ไม่ค่อยชอบที่คนเดี๋ยวนี้ ทำอะไรผิด ก็อ้างตัวป่วยจิตเวชกันหมด ถ้าอ่านเล่มนี้ จะพบว่า ผู้ป่วยทางจิตเวชไม่อยากให้ตัวเองเป็นข่าวแต่ด้วยประการใด และพยายามรักษาตัวให้อยู่ในโลกนี้ได้อย่างพยายามมีสติ ดังนั้น ความจริงแล้ว คนป่วยจริงมักไม่อยากบอกว่า ป่วย และไม่อยากแสดงออกให้เป็นข่าว
๓. ภาคสาม คือการทดลองเพื่อตัดสินชี้ขาด คือ การเล่าเรื่องในสถานที่กักกันของนาซี และพบว่า หลายคนก็อยู่ด้วยความหวังที่จะพบกับอิสระ ถึงแม้ว่า ชีวิตจะแขวนอยู่บนเส้นด้ายก็ตาม แต่ความจริงของการดำรงอยู่ของชีวิตต่างหากที่สำคัญ ดุจดั่งเพลงของชีวิตที่มีความหมาย กล่าวว่า
“ไม่ว่าวันข้างหน้าของเราเป็นเช่นไร เรายังคง “ตอบรับ” กับชีวิต ว่าจะอยู่ต่อไป เพราะวันใดวันหนึ่ง วันนั้นจะต้องมาถึง คือวันซึ่งพวกเราได้เป็นอิสระ”
ยกตัวอย่างบางตอนในหนังสือ
“… “ถ้าเช่นนั้นแล้วพวกคนว่างงานจะมีความหมายได้อย่างไร” การงานไม่ใช่เพียงพื้นที่เดียวที่เราจะให้ความหมายกับชีวิตของเรา เพียงแค่การงานเท่านั้นหรือ ที่จะทำให้ชีวิตมีความหมาย ... คนว่างงานที่มีเวลาว่างล้นเหลือ จึงมีโอกาสที่จะสร้างชีวิตของพวกเขาให้มีความหมายเช่นกัน ...”
จาก ภาคแรก
[งานไม่ใช่สิ่งสุดท้ายใน
ความหมายของการดำรงชีวิตอยู่]
ฉันเคยตกงงานและทุกข์มาก และฉันก็พยายามแทบตายที่อยากมีงานทำ เพื่อจะสร้างความหมายให้กับชีวิต แต่มีวันหนึ่ง ที่ฉันได้ยิน
หลวงพ่อถามฉันว่า “ยังมีเงินอยู่ไหม ถ้ามีอยู่ก็ช่างมันไปก่อน” ฉันแปลกใจมากที่ท่านมองฉันเป็นคนปกติ มองฉันเป็นคนมีความหมาย และท่านก็พูดต่อว่า “ยึดอะไรก็ทุกข์อย่างงั้น”
ทำให้ฉันเข้าใจชีวิตมากขึ้นว่า ไม่ใช่ เราไม่อยากทำงาน แต่เพราะว่า งานยังไม่มีมาให้เราทำต่างหาก และงานที่เราช่วยแม่อยู่ที่บ้าน ชวนแม่พูดคุย นี้ก็คืองานเหมือนกัน งานที่สร้างคุณค่าให้กับเราได้เช่นกัน และเมื่อฉันมาอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ฉันยิ่งเข้าใจมากขึ้นว่า “ความหมายของชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับการงาน”
“ความเจ็บป่วยไม่จำเป็นจะต้องทำให้สูญเสียความหมาย หรือทำให้การดำรงอยู่ของเราไร้ซึ่งความหมาย แต่ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ทั้งหลายในชีวิตของเราซึ่งเป็นสิ่งที่มีความหมายเสมอ”
จาก ภาคสอง
[ความเจ็บป่วยทางใจไม่ใช่คนไร้ค่าเสมอไป]
เราเห็นคนป่วยจิตเวชจำนวนมากมายก็สามารถมีชีวิตอยู่อย่างคนปกติได้ ทำงานได้ และหลายครั้งก็ยังทำงานเก่งกว่าคนปกติ เพราะคนเหล่านั้นมีความเห็นอกเห็นใจและความใส่ใจที่มากกว่า ดังนั้น จุดไหนล่ะ ที่เราจะวัดว่า “เขาไร้ค่ากว่าเรา” เพราะคนจิตเวชทุกคนก็มีหัวใจ มีร่างกายที่เป็นคนเช่นเดียวกับเรา มีการกระทำที่เป็นทั้งทุกข์และสุขเช่นกัน แล้วทำไม เราถึงไปตัดสินได้ว่า “เขาเหล่านั้นไร้ค่า”
“ความแตกต่างที่สำคัญจริงๆ คือ ระหว่างความทุกข์ที่มีความหมายกับความทุกข์ที่ไร้ความหมาย ... ว่าความแตกต่างนี้ล้วนขึ้นอยู่กับมนุษย์ผู้เป็นปัจเจกชนทั้งสิ้น”
จาก ภาคสาม
[ทุกข์บางอย่างก็ไร้สาระเกินกว่าจะทุกข์]
หากความเป็นจริงแล้วที่คนเราเหล่านี้มีมุมมองที่แตกต่างกันไป และมีการมองทุกข์ที่แตกต่างกันไปเช่นกัน ทุกข์ของแต่ละคนต่างกัน บางคนทุกข์น้อยแต่ก็ถือว่าเป็นทุกข์ใหญ่หลวงได้ เพราะทุกอย่างนั้นอยู่ที่มุมมองของทุกข์
“ทุกข์และสุข คือสิ่ง น่าค้นหา
ค้นเจอว่า ความจริง คือความหมาย
ชีวิตนี้ ล้วนแต่ มีหลากหลาย
ให้คิดว่าย ข้ามพ้น กระแสกรรม”
กรรมคือการกระทำ เรากระทำดีก็ได้ดี เรากระทำชั่วก็ได้ชั่ว เฉกเช่นเดียวกับความคิดของเราต่อมุมมองของเเต่ละคนเหล่านั้นก็ย่อมเป็นการกระทำที่ทำให้เราพบสุขและทุกข์ได้เช่นกัน
[ทุกสิ่งทุกการกระทำ
ล้วนมีความหมายทั้งสิ้น]
LOOK A BREATHE
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in