เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Look a Breathe (Series 1 - 2)nimon
คำอธิบายปริศนาธรรมไทย ชุดกายนคร (หนังสือหายาก)
  • การเเลกเปลี่ยนความทรงจำ



         ผมนำอารมณ์อันปวดร้าวของผมในอดีตมาแลกเปลี่ยนกับสมุดโน้ตในปัจจุบัน โดยครั้งก่อน ผมเลือกมาเก็บความทรงจำ และครั้งนี้ ผมได้สมุดโน้ตพร้อมหนังสือเล่มหนึ่งกลับบ้าน


    ปริศนาคืออะไร



    ณ ห้องแห่งปริศนา


         ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ย่อมไหลไปตามกระแสอารมณ์ ทั้งอารมณ์ดีและอารมณ์ร้าย ซึ่งคนสมัยก่อนรับรู้เรื่องราวเหล่านี้อย่างดี โดยตัดสินใจวาดภาพปริศนาธรรมเพื่อชนรุ่นหลังจะได้มาศึกษาและเรียนรู้เจ้าของของตนอย่างถี่ถ้วนและละเอียดลึกซึ้ง และท่านพุทธทาสทำหน้าที่ในการอธิบายภาพเหล่านั้น อย่างแจ่มแจ้ง


    [กระแสอารมณ์ เปรียบดั่ง 

    กระแสน้ำที่ไหลนิ่งและไหลเชี่ยว]


         ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่า “อีกส่วนหนึ่งขอให้ทราบไว้ด้วยกันทุกคนว่า ผู้เป็นเจ้าของหนังสือเล่มนี้ทุกท่าน ล้วนเเต่เป็นผู้มีส่วนช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนา”


    ยกตัวอย่างบางตอนในหนังสือ



    “ให้ชาติเกิดซากซ้ำ        ฤซา

    ตาย,แก่,เจ็บ                เกิดมา ไม่รู้

    สิ้นจบสร่างภพพา          เพราะโง่

    หลงยักษ์หลงอวิชชาอู้     อกโอ้อนิจจา”

    จาก อวิชชา


    [หลงในอวิชชา ภพ ชาติ ก็เกิดไม่มีที่สิ้นสุด]


         ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “แสดงถึงความหลงในการมีตัวตน ยึดมั่นถือมั่นเลี้ยงไก่ชนของตนเพื่อเอาชนะ นี้เป็นเรื่องตัวกู หลงหล่อเลี้ยงตัวกู” หลงสมัครเป็นทาสของสิ่งที่ตนรัก ตนชอบ เพื่อตัวกู ของกู ยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง ความหลงเหล่านี้รวมกันเป็นยักษ์ใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องตัดให้ขาด คือฆ่าให้เสียด้วยปัญญา สรุปแล้วต้องกำจัดอวิชชา ความโง่หลงงงมงายให้หมดไป จึงจะพ้นทุกขภัยในวัฏฏสงสารอันเกิดจากความโง่ ความหลงได้



    “นับน่าชมแบบสร้าง      สมบูรณ์

    เหตุปัจจัยเพิ่มพูน          พรั่งพร้อม

    วางว่างทุกสิ่งสูญ           แสนสงบ

    เสมือนภาพครั้งนบน้อม    ท่านี้สีหไสยา”

    จาก นิพพาน


    [เลิกยึด เลิกถือ เลิกแบก

    ก็ละทุกสิ่ง เพื่อนิพพาน]


         ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “ภาพพระนอนครั้งนี้เป็นอุปมาของนิพพาน” ที่บรรลุเป็นมรรคผล เป็นพระอรหันต์ บัดนี้ไม่เกี่ยวกับการพบแก้ว ได้แก้วหรืออะไรทำนองนั้นอีกแล้ว เลิกยึดถือแก้วกันเสียที เอาแก้วไปทิ้งเสียที่ไหนก็ได้ เพราะไม่มีความยึดถือในสิ่งใดเลย



    “ความหมายสองเรื่องเค้า  คล้ายคลึง กันนอ

    ที่กล่าวโจรไล่จับถึง          ฝั่งน้ำ

    ศพลอยอืดผ่านจึง            โดดคร่อม ขี่นา

    รีบเร่งเร็วพุ้ยจ้ำ                จะจับข้ามไป”

    จาก พ้นจากอุปาทาน


    [เมื่อไร้ซึ่งอุปาทาน ขันธ์ทั้งห้าแล้ว 

    ก็ย่อมพบทางพ้นทุกข์]


         ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “ถ้ายังมีอุปาทานไม่หลุดพ้น” ยังติดอยู่ในทุกข์ ในวัฏฏสงสาร ในกิเลส ก็เหมือนคนตกน้ำหรือจมน้ำ เขาต้องว่ายน้ำอ้อกแอ้ก อยู่ในคนดั่งภาพในมุมล่างซ้าย ถ้าเขาตัดอุปาทานได้ ชนะกิเลส เขาสบาย รำฟ้ออยู่ ดังภาพ พระโยควจร ทางมุมล่างขวา


    “ความจริงของ สองสิ่ง คือกายจิต

    ชีวิตสิ้น ทุกข์สุข คำนึงหมาย

    อุปาทาน หายยึด ถือและว่าย

    ไม่มีได้ ในใจ คนพ้นทุกข์”


         หากแม้นเมื่อกายกับใจไร้ที่ยึดไว้แล้วอย่างถูกต้อง ก็พ้นทุกข์ได้ฉันใด และหากแม้นเมื่อกายกับใจไร้ที่ยึดไว้อย่างไม่ถูกต้องก็ย่อมทุกข์มากฉันนั้น



    [อิสรภาพเกิดจากการวางซึ่งตัวตน]   


    LOOK A BREATHE




Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in