ช่วงนี้ขอตามเทรนกันบ้างที่เห็นหลายๆคนเอาคำถามสัมภาษณ์งานเรื่องจุดแข็ง จุดอ่อนมาเล่น พอเราอ่านนี่ก็ขำ นั้นก็ขำ ถือว่า คลายเครียดมากอยู่
รูปภาพนี้ คำถามข้อแรกเกี่ยวกับจุดแข็ง
เราเคยผ่านการสัมภาษณ์งานมาก่อน และสมัยก่อนก็เคยสัมภาษณ์งานตามความคิดของตัวเอง เมื่อเราคิดอะไรก็ตอบตามนั้น แต่แล้ววันหนึ่ง มีพี่ใจดีท่านหนึ่งที่เป็นคนรับเข้าทำงาน มาบอกกับเราบอกว่า
“น้องยังไม่เข้าใจใช่ไหมว่า
ทำไมต้องมีคำถามพวกนี้
คือ เขาต้องการดูทัศนคติของน้องว่า
ตรงกันไหม และเขาเริ่มต้นอธิบายให้ฟัง”
รูปภาพนี้ คำถามข้อที่สองคือ จุดอ่อน
คำถามจุดแข็ง จุดอ่อน เป็นคำถามวัดทัศนคติและความซื่อสัตย์ จริงใจว่า แต่ละครั้งที่เรียกไปสัมภาษณ์ เราตอบแบบเดิมไหม และไม่เพียงเท่านั้น ถึงตอบเพิ่ม เรามีไหวพริบอย่างไร และวัดดูว่า เราเป็นคนแบบไหนอีกด้วย
“แล้วจุดแข็ง จุดอ่อนของคุณเป็นอย่างไร”
เปรียบดั่ง
“ต้องยอมรับความจริงในครั้งนี้
ยอมให้ดีว่าเราเป็นแบบไหน
เหมาะกับเขาหรือเหมาะกับใคร
สุดท้ายใจเจอคำตอบจริง”
รูปภาพนี้ คำถามข้อสามคือ ห้าปีข้างหน้า คุณจะอยู่บริษัทไหม
นี่คือเคล็ดที่เราได้เรียนรู้จากพี่ใจดีคนนั้น ซึ่งเขายังกรุณาบอกเรา ตอนแรก เราตอบเขาไปตามใจจริงเลยว่า จุดแข็งคือเข้ากับคนง่าย ส่วนจุดอ่อนคือใจอ่อน เขาบอกเคล็ดมาว่า ถ้าเราเปลี่ยนคำตอบพร้อมหาคำอธิบาย คำตอบก็ดูดีทันที อย่างเช่น
จุดแข็งเราคือเข้ากับคนง่าย ยกตัวอย่างเช่น เราเข้าไปทักทายเพื่อนร่วมงานได้โดยไม่เขินอาย และรับฟังเขาจนรู้ว่า เขาเป็นคนประเภทไหน ซึ่งนี้ทำให้เราพูดคุยเป็นกันเองโดยไม่เก้อเขิน
และจุดอ่อนของเราคือ ไม่กล้าตัดสินใจ (เปลี่ยนจากใจอ่อน) ซึ่งเราไม่กล้าตัดสินใจในบางเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น พอมีโปรเจคต์ใหญ่เข้ามา และต้องรอคนหมู่มาก เราไม่กล้าตัดสินใจ เพราะเรามั่นใจว่า ต้องรับฟังคนอื่นก่อนประกอบการตัดสินใจ
ตอนแรกเราเจอคำถามที่สามนี้ เราตอบไปเลยตามความจริงว่า เป็นเรื่องอนาคต ไม่สามารถตอบได้ค่ะ ซึ่งพี่ใจดีคนนี้บอกว่า เราต้องดูคนที่เปิดคำถามเราว่า เขาใจกว้างหรือใจแคบเพียงใด ถ้าใจแคบก็ห้ามตอบเรื่องอนาคต แต่ถ้าใจกว้างก็ให้ตอบได้ แต่เพิ่มเติมกว่านี้ คือ ขอบคุณสำหรับคำถามค่ะ เรื่อง 5 ปีข้างหน้าคือเรื่องของอนาคต เราตอบแทนอนาคตได้คงไม่ดีเท่าที่ควร แต่เราขอตอบในปัจจุบันนี้ ในเวลานี้ว่า เรามั่นใจค่ะว่า ใน 5 ปีข้างหน้านี้ เรายังทำงานอยู่ที่บริษัทนี้ ได้เรียนรู้งานมากขึ้น และได้ทำงานให้ดี จนสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้บริษัทก้าวหน้า เมื่อบริษัทก้าวหน้า เราก้าวหน้าในหน้าที่การงานด้วย เราจะก้าวหน้าไปพร้อมกันค่ะ
รูปภาพนี้ คำถามที่สี่คือแนะนำตัวเอง
เราแนะนำตัวเองตามปกติว่า เรียนที่ไหนและจบที่ไหน พี่เขาให้คำแนะนำว่า เราไม่ควรพูดในสิ่งที่อยู่ในเรซูเม่ เราควรพูดในสิ่งที่ไม่อยู่ในเรซูเม่ อย่างเช่น ในขณะที่เราเรียนอยู่ที่ ... นี้ เราได้ร่วมกิจกรรมกับมหาลัยคือ .... และได้อะไรจากกิจกรรมนี้ หรือถ้าหากเราทำงาน เราเคยทำอะไรสำเร็จได้ด้วยวิธีใด หรือผิดพลาดและแก้ไขอย่างไร
รูปภาพนี้ คำถามที่ห้าคือถ้าไม่ได้บริษัทนี้ล่ะ
คำถามสุดท้ายนี้ เราตอบตามจริงเลยว่า คงหางานใหม่ แต่พี่ที่ใจดีให้คำแนะนำว่า เขาดักเราด้วยคำถามนี้ ดูว่า เราจริงจังกับบริษัทเขาขนาดไหน โดยที่เราต้องตอบว่า เราพยายามต่อไปที่จะสมัครงานที่นี้ต่ออีกค่ะ เพราะเรารู้สึกเชื่อมั่นและมั่นใจว่า ถ้าเราได้ทำงานที่บริษัทนี้ เราสามารถช่วยเหลือให้บริษัทก้าวหน้าได้อีกไกล
ความเป็นจริงของการสัมภาษณ์งานคงไม่ใช่เรื่องเล่นๆขำๆกันเหมือนเทรนในตอนนี้ แต่เป็นเรื่องจริงจังและจริงใจอย่างที่พี่ใจดีคนนั้นบอก ตั้งแต่นั้นมา เราพยายามยึดตามคำพี่ใจดีคนนั้น และพี่เขายังบอกต้องลองหาแนวทางว่า ส่วนใหญ่ คนแบบไหนที่ตอบสัมภาษณ์ตรงใจคนบริษัทนี้ก็ควรทำ ถึงแม้เราไม่ได้ทำงานบริษัทนั้น แต่เรายังรู้สึกขอบคุณความเมตตาที่เขามีต่อเด็กเพิ่งเรียนจบคนหนึ่งในวันนั้น ที่สละเวลามาสอนค่ะ ขอบคุณค่ะ
“วันนี้ขอปลีกตัวจากเขียนบทความซีรีย์ญี่ปุ่นและจีน
มาเขียนบทความที่เกี่ยวกับเรื่องงานบ้างค่ะ
เราหวังว่า บทความนี้จะมีประโยชน์
ต่อทุกคนที่สัมภาษณ์งานค่ะ”
Look A Breathe
(LAB)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in