“สกุณาซ่อนวิหคเหินฟ้า
อาทิตยาซ่อนแสงบนเวหา
อสูรซ่อนความชั่วในกายา
มัจฉาซ่อนตัวบงกชในนที
อย่าตัดสินคนที่ภายนอก
มองให้ออกจะพบความดี
ซ่อนคุณธรรมไว้ภายในนี้
คนมีตาใจดีจึงมองเห็น”
หนังสือนิทานเล่มนี้อ่านได้ดีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อเตือนใจตนเองและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงยังจะมีการบอกว่า อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็นแค่ภายนอก เพราะภายในอาจซ่อนสิ่งที่มีคุณค่าไว้
พระนางจันทร์เทวีให้กำเนิดหอยสังข์ ซึ่งสร้างความอับอายให้กับท้าวยศวิมลมาก จึงทนยั่วยุของสนมเอกไม่ไหวเลยขับไล่เมียกับลูกออกไป ในความเป็นจริง สังข์นั้นมีลูกอยู่ แต่ลูกซ่อนตัวอยู่ในสังข์
“สังข์เปรียบเหมือน
อย่าตัดสินจากสิ่งที่เราเห็นด้วยตาแต่ไม่เห็นด้วยใจ
หรือสังข์เปรียบเหมือนกิเลสภายนอกและภายในได้”
วันหนึ่ง ลูกออกมาจากสังข์ทำให้พระนางจันทร์เทวีดีใจและทำลายสังข์นั้นทิ้งซะ พระสังข์ร้องไห้แต่แม่ก็ปลอบใจ เมื่อพระสังข์เริ่มโตขึ้น จึงถูกกลอุบายของสนมเอกที่เล่นไสย์ใส่ท้าวยศวิมล ทำให้พระสังข์ถูกถ่วงน้ำลงไป และไปพบกับพญานาคที่พาพระสังข์ไปฝากไว้กับนางยักษ์ผ่านเรือลงเวทย์
“การทำลายสังข์ หมายความว่า
ทำลายตัวหลงหรือกิเลสออกไป”
นางยักษ์รักพระสังข์ดุจดั่งลูกในอุทรจริงๆ และในวันหนึ่ง พระสังข์พบความจริงว่า แม่เลี้ยงเป็นยักษ์ เลยตัดสินใจชุบตัวเองด้วยทองคำและขโมยเงาะป่าหนีไป เมื่อนางยักษ์ตามมาถึง ขอร้องให้กลับพร้อมตนแต่พระสังข์ไม่ยอมกลับ นางเสียใจมาก จนตรอมใจตาย และก่อนที่นางตายก็ได้ร่ายมหาจินดามนต์ ซึ่งพระสังข์ลงมามากราบลาแม่เลี้ยงก่อนจำมนต์นี้ได้ขึ้นใจ
พระสังข์ในคราบเงาะป่าเดินทางตามคำขอให้ไปงานที่มีการเสี่ยงท้ายเลือกคู่ของนางรจนา เมื่อนางรจนา พระธิดาคนเล็กของท้าวสามนต์และมเหสีมณฑาเห็นเงาะป่าก็พบถึงรูปลักษณ์ภายในที่แท้จริงและเสี่ยงพวงมาลัยให้ ซึ่งทั้งคู่ใจตรงกัน รักกัน แต่สร้างความอับอายให้กับพ่อแม่มาก เลยขับไล่ทั้งสองออกไป
“รูปเงาะป่าเหมือนกับ
รูปภายนอกที่ใครมองแค่ภายนอกก็หลง
โดยลืมมองไปถึงภายใน
จิตใจที่ซ่อนคุณธรรมและความดีไว้”
ท้าวสามนต์วางแผนฆ่าลูกเขยซึ่งคือเงาะป่าหรือพระสังข์ถึงสองครั้ง โดยออกอุบายว่า ถ้าหากใครไม่สามารถจับปลาได้ ๑๐๐ ตัว และเนื้อทราย ๒๐ ตัว จะถูกประหารชีวิต และด้วยมหาจินดามนต์ที่พระสังข์ร่ายไว้จึงทำให้ตัวเองรอดจากการถูกประหาร
และพระอินทร์วางแผนจะให้พระสังข์ถอดรูป เลยชวนท้าวสามนต์เล่นเกมส์และทุกคนแพ้หมด มเหสีมณฑาเลยขอร้องให้เงาะป่ามาช่วย
เงาะป่ายอมทำตามคำขอร้องนี้เพราะใจอ่อนเห็นแก่รจนาจึงตัดสินใจมาช่วยเหลือ โดยที่ถอดรูปออกมาและพระอินทร์ยอมให้เงาะป่าชนะ พอเหตุการณ์นี้ ทั้งสองสามารถกลับมายังเมืองนี้
ส่วนพ่อแม่ของฝ่ายพระสังข์ก็ออกตามหาลูก และแม่วางอุบายแกะสลักเรื่องราวผ่านฟักไปให้ลูกเห็น เมื่อลูกเห็นเรื่องราวพบว่าพ่อแม่มาตามลูกกลับเมืองแล้ว
“จึงเอาน้ำมาล้างแล้ววางราย
เห็นเป็นเรื่องนิยายหอยสังข์
พระมารดามาตามแล้วกระมัง
คนอื่นทั้งเมืองเราไม่เข้าใจ”
พระสังข์พร้อมนางรจนาเลยลาท้าวสามนต์และมเหสีมณฑากลับเมืองของตัวเอง
เรื่องราวนี้เน้นความสนุกสนานที่เกิดจากคำถามว่า ทำไม พระสังข์ต้องซ่อนรูปในสังข์หรือเงาะป่า วางแผน ใช้อุบาย เอาตัวรอด และมีการสอนถึงการทำความดีเป็นนัยๆด้วยว่า หากคนเราเมื่อทำความดีแล้ว ย่อมได้ดีอย่างแน่นอน ไม่มีสิ่งใดหรือการกระทำใดจะมาทำร้ายคนดีที่มากคุณธรรมนี้ได้ และเมื่อเราทำดี จงเชื่อมั่นในความดีนั้น ว่าจะส่งผลต่อการกระทำของเราอย่างแน่นอน
“คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
Look a Breathe
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in