“วรรณคดีไทยอมตะที่เเต่งจากเรื่องจริง
และเป็นเรื่องราวของชาวบ้าน ที่ทำให้เรารู้ว่า คนสมัยอยุธยาใช้ชีวิตอย่างไร
บ้านเรือนเป็นอย่างไร”
เสภาขุนช้างขุนแผนตกทอดมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เหลือเพียงแค่บางส่วน
เพราะส่วนใหญ่ถูกเผาไปแล้ว
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
จึงโปรดให้เหล่ากวีแต่งขึ้นใหม่
เสภาขุนช้างขุนแผนมีหลากหลายคนที่ร่วมกันแต่งขึ้นมา แต่หากทุกคนได้อ่านจะพบว่า ทุกอย่างลงตัวมากทั้งคำกลอน ศิลปะ และวรรณศิลป์อย่างกับว่า คนเดียวเป็นผู้แต่ง เรามีเกล็ดน่ารู้มาบอกเพื่อนๆค่ะ ที่เราสามารถค้นข้อมูลได้ว่า ผู้ใดแต่งบ้าง จะมีประการต่างๆตามนี้ค่ะ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ทรงพระราชนิพนธ์ ตอน “พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม"
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงพระราชนิพนธ์ตอน “ขุนช้างตามวันทอง"
สุนทรภู่แต่งตอน “กำเนิดพลายงาม”
และ ครูแจ้ง (กวีในรัชกาลที่ ๔) แต่งสองตอน ได้แก่ ตอน "ขุนแผน พลายงามแก้พระท้ายน้ำ" และตอน "ขุนแผน พลายงามสะกดเจ้าเมืองเชียงใหม่”
ซึ่งจะพบว่า เป็นวรรณคดีที่มีในหลวงถึงสองรัชกาลร่วมพระราชนิพนธ์และคนที่เป็นกวีชื่อดังของยุคร่วมแต่ง เพื่อให้ชนรุ่นหลังอ่านและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
-1-
ช่วงวัยเด็กถึงวัยรุ่น
ขุนช้าง ขุนแผนและนางพิมพิลาไลย เป็นเพื่อนเล่นกันตั้งแต่เด็ก ขุนช้างแอบรักนางพิมมานานแล้ว แต่นางพิมกลับมีใจรักขุนแผนซึ่งทั้งสองใจตรงกัน พอขุนแผนเป็นพระและขึ้นกัณฑ์เทศน์ นางพิมเปลื้องผ้าสไบของตนให้พระแผน และขุนช้างเปลื้องด้วยอธิษฐานจิตว่าขอให้นางเป็นภรรยา ขุนแผนสึกออกมา และขอให้มารดาไปสู่ขอนางพิมมาเป็นภรรยา
เมื่อขุนแผนต้องไปออกศึกสงคราม ทำให้นางพิมไม่สบายหนัก เลยต้องเปลี่ยนชื่อเป็นนางวันทองแล้วถึงหายเจ็บไข้ และขุนช้างก็วางแผนอุบายหลอกว่า ขุนแผนตายโดยเอาน้ำร้อนไปราดต้นไม้ที่ขุนแผนบอกว่า ถ้าเหี่ยวย่อมหมายความว่าตัวเองตาย แม่ของวันทองกลัวนางเป็นหม้ายหลวง เลยตัดสินใจให้แต่งงานกับขุนช้าง ซึ่งนางวันทองไม่ยอมแต่งด้วยประการใด
พอขุนแผนกลับมาพร้อมกับนางลาวทอง ทำให้วันทองรู้สึกโกรธขุนแผนเป็นอย่างมาก โดยที่จริงๆแล้ว พี่เลี้ยงของวันทองเป็นเมียขุนแผนก่อนนางวันทอง และเมื่อทะเลาะกัน เรื่องราวก็ไปถึงหูของกษัตริย์ เพ็จทูลกันไปกันมา จนในไม่ช้านางวันทองก็ต้องมาอยู่กับขุนช้าง
วันนั้น ขุนแผนจะเข้ามาหานางวันทอง เพื่อพานางวันทองหนี แต่แล้วดันเข้าห้องผิดไปได้นางแก้วกิริยาที่ขุนช้างเลี้ยงดูเหมือนน้องสาว ได้เป็นเมีย แต่ถ้าเปรียบนางแก้วกิริยากับนางวันทอง จะพบว่า ทั้งสองคนมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก เพราะนางเเก้วกิริยาเจียมเนื้อเจียมตัว และอยู่กับขุนแผนไม่ว่าจะมีหรือจนจวบจนชีวิตสุดท้ายกันทีเดียว แถมคลอดบุตรที่ดีออกมาอย่างพลายชุมพลอีกด้วย
-2-
ช่วงวัยรุ่นถึงกลางคน
ขุนแผน ตามหาดาบฟ้าฟื้นกับม้าสีหมอก และต้องทำกุมารทอง โดยตัดสินใจทำกุมารทอง ซึ่งฆ่าลูกของเมียตัวเองมาทำกุมารทอง และเมื่อมีทั้งสามอย่างครบ ทำให้ขุนแผนยิ่งมีพละอำนาจในการสู้รบได้ดี และสามารถใช้เล่ห์วางแผนเอาตัวรอดได้อีกด้วย
ขุนช้าง วางแผนกำจัดลูกของนางวันทองกับขุนแผน ซึ่งคือพลายงาม แต่กุมารทองและผีพรายของขุนแผนมาช่วยไว้ ไม่เพียงเท่านั้น ทั้งขุนช้าง ขุนแผนก็ใช้ผีโหงพรายของตัวเองสู้กันไป และ ทั้งสองคนมาถึงต้องลุยไฟ หรือ แม้กระทั่งลูกของนางวันทองก็ต้องมาบุกน้ำเพื่อพิสูจน์ตัวเองอีก แต่ขุนช้างใช้เล่ห์รอดได้ทุกครั้ง
ในไม่ช้า ถึงจุดที่พระพันวษาต้องตัดสินใจเรียกนางวันทองมาเลือก แต่นางวันทองไม่สามารถเลือกได้ ท่านเลยตัดสินใจให้มีการประหารชีวิต และเมื่อพรายงามคือลูกของนางไปขอให้ความเมตตาแม่ด้วย ซึ่งท่านเมตตาอยู่แล้ว ก็ยอมเป็นคนกลับคำพูด โดยอภัยโทษให้ แต่พลายงามไปไม่ทัน นางวันทองถูกประหารชีวิตแล้ว และตายไปด้วยความห่วงลูกเลยกลายเป็นเปรต
-3-
ช่วงบั้นปลาย
หลังจากนั้น ขุนช้างก็สำนึกผิดในความผิดตนว่า ตนผิดที่ทำให้ทุกอย่างเป็นแบบนี้ เลยมาขอบวชกับพลายงาม และพลายงามกับขุนแผนก็ให้อภัยด้วย เพราะไม่รู้จะโกรธกันไปอีกทำไมแล้ว
พลายงามรักกับนางศรีมาลา เป็นเมียที่ได้หลังนางสร้อยฟ้า และสร้อยฟ้าไม่พอใจเลยทำไสยใส่พระไวยหรือพลายงาม และขุนแผนมาบอกพระไวย ว่าลูกโดนไสย ก็ไม่ยอมเชื่อ ดังนั้น พลายชุมพลกับขุนแผนวางแผนกัน เพื่อจะให้พระไวยเชื่อให้ได้
เมื่อพระไวยจับได้ พระพันวษาท่านก็ตัดสินโทษประหารให้กับนางสร้อยฟ้าแต่มีคนห้ามปราม ท่านเลยขับไล่กลับเชียงใหม่ และนางพบกับคนที่ทำไสยให้ ทั้งสองคนกลับไปพร้อมกัน แต่คนที่ทำไสยคือเถรขวาดไม่ยอมเลยปลอมเป็นจระเข้ฆ่าคนและพลายชุมพลอาสาปราบจระเข้สำเร็จ และเอาตัวมาประหารชีวิต ก่อนที่ทุกคนจะใช้ชีวิตกันอย่างสงบสุข
5 เหตุผลที่เลือกอ่านหนังสือเล่มนี้
1. การสร้างตนด้วยความขยันหมั่นเพียร
เราจะพบว่า ขุนแผนเป็นคนยากจนที่ใช้ความอดทน ความตั้งใจทำงานในหน้าที่ของตน ความซื่อสัตย์และความขยันหมั่นเพียรในหน้าที่การงาน และถึงแม้ใช้พวกไสยศาสตร์ที่ตัวเองเรียนไปในทางที่สู้เพื่อประเทศชาติหรือปกป้องชาติบ้านเมือง ทำให้คนๆหนึ่งที่ยากจนสามารถค่อยๆก้าวเป็นลำดับขั้น จนพระมหากษัตริย์ก็เมตตา ผิดกับขุนช้างที่รวยก็ใช้เล่ห์กลซื้อตำแหน่ง เป็นใหญ่เป็นโตเพราะเงินตรา ท่านได้ทำการเปรียบเทียบให้ดูว่า คนสองคนนี้มีความแตกต่างกัน ใครกันแน่ที่จะภาคภูมิใจกว่ากัน ในการดำเนินชีวิตของตน
“การสร้างคุณงามความดีในหน้าที่การงานมันใช้เวลา
เหมือนกับการสร้างคนที่ให้เป็นคนนั้นก็ยากเช่นกัน”
2. เล่ห์กลเพทุบาย
ขุนช้างใช้เล่ห์กลหลายอย่างเพื่อให้ได้วันทอง ทั้งสองคน ไม่ว่าจะเป็นขุนช้างและขุนแผน ต้องต่อสู้กัน ทั้งสองก็เพลี่ยงพล้ำเพราะเล่ห์เพทุบายของกันและกัน แต่นำพาให้ผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกลากไปลากมาต้องจบชีวิตด้วยการประหารชีวิตและยังตนเป็นเปรตวิสัยอีก ซึ่งถ้าหากศึกษาจริงจะพบว่า มีการเปรียบเทียบให้เราแยกแยะให้ออกว่า สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด และไม่เพียงแต่วันทองที่เป็นเปรตก็เพราะว่าตัดกังวลเรื่องลูกไม่ได้ ซึ่งหลายครั้ง อ่านแล้วก็อดที่จะโกรธผู้ชายไม่ได้ แต่ถ้าหากว่า เราลองใช้ใจอ่านอีกมุมก็จะพบว่า ชีวิตของวันทองน่าสงสารจริงๆและสอนให้เราอย่ามีห่วงหากจะถึงตายด้วยความไม่ประมาท
“เล่ห์กลเพทุบายทั้งหลาย
ถ้าใช้ในทางที่ถูก มันก็ถูก
แต่ถ้าใช้ในทางที่ผิด
มันก็นำพาความเดือนร้อนมาสู่ตนและผู้อื่น”
3. ความซื่อสัตย์สุจริต
ทั้งขุนแผน ขุนช้างและนางวันทอง มีสิ่งนี้เหมือนกันคือความซื่อสัตย์ที่ยากจะมีใครเทียบเท่ากันได้เลย ขุนแผนซื่อสัตย์ต่อองค์เหนือหัวอย่างมาก คือ ทำงานให้องค์เหนือหัวอย่างดีและเชื่อฟังองค์เหนือหัวทุกอย่าง ขุนช้างซื่อสัตย์ต่อนางวันทองเพียงคนเดียว คือ รักเดียวใจเดียว และนางวันทอง อาจถูกจับไปอยู่กับขุนช้างแต่ก็ซื่อสัตย์ต่อขุนแผนเพียงคนเดียว คือแนวตัวอยู่กับขุนช้าง แต่ใจก็อยู่กับขุนแผน
“ความซื่อสัตย์หากผู้ใดมีด้วยสุจริตใจย่อมเป็นผลดี
แต่ต้องใช้ในทางที่ถูก ไม่นำพาคนอื่นเดือดร้อนใจด้วย”
4. ความเมตตา
พระพันวษาท่านทรงพระเมตตานางวันทองอย่างแท้จริง เพราะความเป็นจริงแล้ว ไม่มีทางที่ผู้หญิงจะสามารถเลือกทางของตนได้ เพราะผู้หญิงต้องเชื่อฟังผู้ชาย
ดังนั้นการที่ให้นางวันทองเลือก ย่อมถือว่าเป็นความเมตตาอย่างมาก แต่เราเข้าใจวันทองมากเลย เพราะเนื่องจาก ไม่เคยมีใครเมตตาแบบนี้ ก็ย่อมต้องประหม่าเป็นธรรมดาว่า เอาไงดี จะเลือกอะไรดี
แล้วเราก็เข้าใจในมุมของพระพันวษาว่า นี่ก็ให้เลือกแล้ว เเต่ก็ไม่ยอมเลือก ถ้าไม่ตัดสินความอะไรสักอย่าง ก็จะไม่มีคนปฏิบัติตามกฏระเบียบของสังคม
ซึ่งเราคิดว่า ท่านอาจจะให้ประหารวันทอง เพื่อสอนความสามัคคีให้กับคนเหล่านั้นก็ย่อมเป็นไปได้ แต่แล้วท่านก็เมตตาอภัยโทษให้แต่พลายงามมาไม่ทัน แม่เลยตายไปแล้ว
แต่ไม่ว่าด้วยเพราะอะไร นางวันทองก็ตาย แต่ก็ยังอยู่ในใจของคนที่ศึกษาทุกคนว่า เป็นนางในวรรณคดีที่น่าสงสารที่สุดในไทยและโลก
“ความเมตตา กรุณา มุฑิตาและอุเบกขา
คือ พรหมวิหาร ๔”
5. ทางออกที่ผิด
ทางออกที่ถูกไม่ใช่ทางออกที่จะเอาชนะ เพราะดูจากขุนช้าง ขุนแผน จะเอาชนะกันและกัน โดยเอาผู้หญิงที่เป็นนางวันทองมาเป็นตัวกลางในการสู้กัน โดยที่ผู้หญิงเลือกไม่ได้ เพราะพอจะเลือก อีกคนก็ไม่ยอมรับในทางเลือก ยังจะแม่อีก ยังจะลูกอีก ที่ทำให้ทางออกของคนๆหนึ่งที่ถูกทุกคนเลือกให้ สรรสร้างให้ กลายเป็นทางออกที่ผิดอยู่แบบนี้ เพราะทุกคนพบเจอกับทางที่สูญเสียเหมือนกัน
“ทุกคนสามารถเลือกทางออกให้กับชีวิตตัวเองได้
แต่ต้องมั่นใจว่าทางออกนั้นไม่ทำให้ตนและใครเดือดร้อน”
เราเรียนรู้เรื่องราวของคนทุกคนที่อีรุงตุงนังกันและทำให้ส่งผลต่อกันและกัน ทำให้เรารู้ว่า สังคมจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่การกระทำของแต่ละคน
“อย่าเอาความคิดของเราไปตัดสินชีวิตใคร”
กระเสือกกระสนพาตนไปจน
พบเจอทางที่ดีที่ควรค้น
ว่าตนนั้นเป็นดั่งคนเเบบใด
คนอื่นกล่าวหาว่าสองใจ
คงไม่มีผู้ใดที่อยากเป็น
สิ่งที่อยากเป็นนั้นยากเข็ญ
คืออยากเป็นเพียงรักเดียวเท่านั้น
“ขอบคุณสำหรับการอ่านเรื่องเล่านี้จนจบค่ะ เรามาใช้เวลาเรียนรู้คนในอดีตในวรรณคดีไทยมาปรับใช้ในชีวิตให้เราดำเนินถูกค่ะ”
Look a Breathe
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in