เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
CAMBODIAN CULTURE JOURNALlinwawrites
สัปดาห์ที่ 14: วิทยากร session - ดนตรีกัมพูชา สายสัมพันธ์ร่วมชาติอาเซียน

  •  เพลงไทยเดิมหลายเพลงมีชื่อขึ้นต้นด้วยชนชาติเพื่อนบ้าน

    เช่น มอญรำดาบ พม่าเห่ ลาวดวงเดือน เขมรไทรโยค เป็นต้น

     

    จากชื่อเพลงเหล่านี้ทำให้เราพอจะเห็นสายสัมพันธ์ระหว่างดนตรีไทยกับทำนองเพลงของชนชาติอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างชัดเจน แล้วดนตรีกัมพูชาล่ะ

     

    อาจารย์ ดร. มิตต ทรัพย์ผุด จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับดนตรีกัมพูชาในรายวิชาปริทัศน์วัฒนธรรมเขมร อาจารย์ได้กล่าวว่า “เพลง” ในภาษาเขมรนั้นหมายถึง ดนตรี ซึ่งรับวัฒนธรรมมาจากอินเดียเพื่อใช้ในพิธีกรรม ทั้งพิธีทางศาสนาและราชสำนัก โดยหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ “กลองมโหระทึก” ซึ่งใช้ในพิธีกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีขอฝน ซึ่งเป็นไปเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชผล

    หรือภาพสลักในปราสาทนครวัด ซึ่งดนตรีเหล่านี้ไม่ได้นำมาใช้เพียงพิธีกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแสดงด้วย ดังจะเห็นในภาพดังกล่าวที่มีการ “จีบนิ้ว” ทั้งยังมีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกถึงการจัดวงดนตรีที่ประกอบไปด้วยปี่ แตรงอน กลองมโหระทึก และฆ้องชัย เป็นต้น

     

    เครื่องดนตรีกัมพูชาสามารถแบ่งออกเป็น ประเภท คือ เครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย ปี่ อ็องกูจ (เครื่องเป่ามีลิ้น)เครื่องสาย เช่น ซอ กระจับปี่ พิณ และเครื่องตี เช่น ฆ้อง ระนาด ฉิ่ง เป็นต้น ซึ่งฆ้องของกัมพูชานั้นมีลักษณะคล้ายกับฆ้องของไทยเป็นอย่างมากจนอาจเชื่อได้ว่า ฆ้องไทยได้รับอิทธิพลมาจากฆ้องกัมพูชา อย่างไรก็ดี คนไทยสันนิษฐานว่า เราได้รับฆ้องมาจากวัฒนธรรมอินโดนีเซีย เครื่องดนตรีเหล่านี้ เมื่อประสมวงแล้ว สามารถจัดได้หลายประเภท โดยก่อนสมัยเขมรแดง สามารถจัดวงดนตรีได้ วง ส่วนในปัจจุบัน สามารถแบ่งประเภทการประสมวงได้ ประเภทใหญ่ ๆ คือ วงพิณเพียต (พิณพาทย์) วงมโหรี วงเพลงเขมร วงปี่กลอง และวงเพลง ฆ้อง กลอง เป็นต้น โดยเครื่องดนตรีของเขมรกับไทยหลายเครื่องมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่บางอย่างก็ไม่มีใช้ในดนตรีไทย ส่วนเพลงที่เล่นนั้น มีเพลงจำนวนมากที่ใช้ร่วมกัน และเพลงบางส่วนของกัมพูชาเป็นเพลงที่แต่งขึ้นในสมัยปฏิวัติด้วย

     

    ดนตรีกัมพูชาใช้เล่นในงานต่าง ๆ  เช่นเดียวกับไทย เช่นบรรเลงประกอบในพิธีบุณย์ (พิธีต่าง ๆ ในกัมพูชา)  ใช้ในการละเล่นต่าง ๆ รวมถึงในการแสดงด้วย เช่น โขน เป็นต้น ซึ่งดนตรีพื้นบ้านเขมรถิ่นไทยนั้นเหลืออยู่ด้วยกัน วง คือ วงปี่พาทย์พื้นบ้านเขมร  ซึ่งมีวิธีการเล่นคล้ายกับทางกัมพูชามากกว่า วงมโหรี และวงกันตรึม ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะวงดนตรีที่มีชื่อเสียงในจังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับกัมพูชา โดยมีลักษณะเด่น คือ การใช้ปี่แบบเขมร หรือ สราลัย และเมื่อมาเปรียบเทียบแล้ว ดนตรีของไทย กัมพูชา และลาว ซึ่งเป็นประเทศร่วมภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เครื่องดนตรีไทยและลาวมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก โดยมีบันทึกว่าเจ้าอนุวงศ์ได้ขอพระราชทานวงดนตรีและละครในจากราชสำนักรัชกาลที่ แต่ไม่ได้ปรากฏว่าได้พระราชทานไปหรือไม่ จึงอาจอนุมานได้ว่าความสัมพันธ์ทางศิลปวัฒนธรรมระหว่างไทยกับลาวนั้นใกล้ชิดกันมาก อาทิ การใช้เพลง “ขับทุ้มหลวงพระบาง” เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ทำนองเพลงของทั้งสามประเทศ (พิจารณาจากเพลง “สาธุการ”) พบว่า ทำนองของลาวนั้นคล้ายคลึงกับกัมพูชามากกว่า โดยอาจสันนิษฐานได้ว่า อาจได้รับอิทธิพลผ่านราชสำนักกัมพูชา โดยการเสกสมรสของเจ้านาย หรือเมื่อมีงานบุญ ก็จะใช้วงดนตรีแตกต่างกันไป เช่น ในไทยใช้วงปี่พาทย์ แต่ในลาวใช้วงหมอลำ รวมถึงวิธีการร้องที่ชาวกัมพูชาและชาวลาวใช้การ "ร้องเต็ม" โดยร้องเต็มเสียง และเป็นอุดมคติในการแสดง  ต่างจากไทยที่ผสมผสานเทคนิคต่าง ๆ  ในการร้องมากขึ้นด้วย

    น่าสนใจว่า ในการเรียนการสอนวิชาดนตรี – นาฏศิลป์ของไทย ได้รวมเอาวงต่าง ๆ ในท้องถิ่นที่ใกล้เคียงกับกัมพูชาเป็นวงดนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวงดนตรีพื้นบ้านเหล่านี้เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ในวงดนตรีต่าง ๆ เหล่านั้น หากพิจารณาดูดี ๆ แล้ว การสอนให้เด็กได้เข้าใจ “ความหลากหลาย” ทางวัฒนธรรมอย่างชัดแจ้งว่าประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากประเทศข้างเคียงมาอย่างมากทีเดียว จะช่วยให้เด็กและเยาวชนได้เข้าใจ “ราก” ความคิดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างชัดเจนมากขึ้นด้วย

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in