เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
CAMBODIAN CULTURE JOURNALlinwawrites
สัปดาห์ที่ 13: วิทยากร session - ผีในวรรณกรรมเยาวชน
  • แม่นาคพระโขนง บ้านผีปอบ กระสือ กระหัง และอีกสารพัดเรื่องผีเป็นเรื่องเล่าที่เราคุ้นเคย

    เรื่องราวเหล่านี้สร้างความหลอน สะท้อนความกลัว ฟังหรือดูหนังผีบางเรื่องก็อาจนอนไม่หลับได้

     

    แล้วกัมพูชามีเรื่องผีขนหัวลุกรึเปล่า

     

    ในรายวิชาปริทัศน์วัฒนธรรมเขมร ได้เชิญวิทยากรมาทั้งสิ้น ท่าน ใน 2 หัวข้อ

    สัปดาห์แรก รศ. ดร. ชาญชัย คงเพียรธรรม จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้บรรยายเรื่อง “ผีในวรรณกรรมเยาวชนเขมร” ซึ่งก็ให้คำตอบของคำถามด้านบนได้เป็นอย่างดี

     

    กัมพูชานับถือ “ผี” (ขโมจ) มากมาย ตั้งแต่ “เนียะตา” ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษของแต่ละครอบครัว หมู่บ้าน ตลอดจนประเทศ อาจารย์ได้เล่าถึงเนียะตาที่สำคัญของกรุงพนมเปญอย่าง “ยายเพ็ญ” ซึ่งเป็นเศรษฐินีแห่งริมแม่น้ำจตุมุข ผู้ถมดินหลังบ้านของตนเป็นวัดสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปที่ลอยมาในต้นตะเคียน ซึ่งปัจจุบันคือ วัดพนม ในกรุงพนมเปญนั่นเอง 

     

    ในวรรณกรรมกัมพูชา “ผี” เป็นองค์ประกอบสำคัญของเรื่อง โดยเฉพาะในวรรณกรรมเยาวชนที่มีเรื่อง “ผี” มากมาย เช่น เรื่อง “ผีในป่าช้า” หรือ “ผีต้นหางนกยูง” เป็นต้น การตั้งชื่อเรื่องผีเหล่านี้สามารถจำแนกได้เป็น แบบ คือ 


    1)     ตั้งตามประเภทของผี อาทิ ผีกระสือ กระหัง 

    2)     ตั้งตามชื่อผี เช่น ผีชื่อ “ตาเจก” ก็ตั้งชื่อเรื่องว่า “ผีตาเจก” เป็นต้น

    3)     ตั้งตามชื่อสถานที่ที่ปรากฏผี เช่น เรื่อง “ผีในป่าช้า”

    4)     ตั้งตามสิ่งของที่สำคัญของเรื่อง เช่น ตะเกียงส่องผี

    5)     นำอนุภาคที่สำคัญของเรื่องมาเป็นชื่อเรื่อง

    แต่ไม่ว่าจะตั้งชื่อเรื่องอย่างไรก็ตาม การเล่าเรื่องจะเป็นลักษณะการเล่าเรื่องโดยมุมมองของบุคคลที่ 3 ที่รู้ทุกอย่าง ที่มีฉากเป็นสถานที่ทั้งที่ที่ควรเจอผี เช่น วัด ป่าช้า บ้านร้าง หรือที่ที่ไม่ควรเจอผี อย่างในช่องแอร์ ในตู้เย็น เป็นต้น ผีเหล่านี้มักแสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ โดยมักทำให้คนป่วยหรือคนตาย 

     

    สาเหตุที่วิญญาณเหล่านี้ไม่ไปผุดไปเกิดอาจมีความสอดคล้องกับหลักการทางพระพุทธศาสนา คือ มีจิตผูกพันอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน เป็นต้น รวมถึงยังสอดคล้องกับความเชื่อของคนในสังคม คือ การตายผิดธรรมชาติ การหลอกหลอนของผีเหล่านี้จึงเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขาผูกพันนั้นเอง

                ผีและการหลอกหลอนในวรรณกรรมอาจเป็นตัวแทนของ “คุณค่า” ทางสังคมบางประการที่สืบเนื่องจากวัฒนธรรมจารีต ซึ่งเห็นได้ชัดในวรรณกรรมเยาวชนกัมพูชาที่ใช้ “ผี” เป็นเครื่องมือในการควบคุมและหล่อหลอมพฤติกรรมของคนในสังคมให้เป็นไปตามทำนองคลองธรรม อาทิ ไม่ประพฤติผิดในกาม ตั้งมั่นในความกตัญญู เลี้ยงดูบิดามารดา เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาในสังคมสมัยใหม่ที่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเข้ามาแทนที่คุณค่าดั้งเดิม ผีเหล่านี้จึงควบคุมให้คนที่ถูกหลอกหลอนปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคม ผีจึงสิ้นสภาพของตนไป นอกจากนี้ ผีในวรรณกรรมกัมพูชายังเป็นตัวแทนของประวัติศาสตร์บาดแผลของคนกัมพูชาด้วย ดังจะเห็นได้จากเรื่องผีบางส่วนมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ “เขมรแดง” ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเจ็บปวดของชาวกัมพูชาจากการถูกสังหารหมู่และบ่อนทำลายอารยธรรมของตนไปจนเกือบสิ้นเชิงด้วย

                ผีในวรรณกรรมเยาวชนกัมพูชาจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ “ผี” เท่านั้น แต่ยังเป็นภาพแทนของคุณค่าดั้งเดิมที่ยังเป็นคุณค่าหลักของสังคม การหลอกหลอนคือการจัดระเบียบและรักษาคุณค่าเหล่านั้นไว้ ทั้งยังเตือนใจให้คนในสมัยใหม่ใส่ใจคุณค่าแบบเดิม 

                และเรื่องผีจะยังคงอยู่ในสังคมต่าง ๆ เสมอไป ไม่ว่าจะเพราะความบันเทิง จารีต หรือธำรงสังคมก็ตาม

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in