สวัสดีครับ
ผมยำนาเบะ ผู้ชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐบาลธรรมดา ๆ ที่หาได้ทั่วไป
วันนี้ผมจะมานำในหัวข้อที่ค่อนข้างไกลตัวแต่เป็นพาร์ทต่อจากบทความอันก่อนครับ
เดากันได้ไหมครับว่าเป็นหัวข้ออะไร
หัวข้อนั้นก็คือ...
.
..
...
.....
.......
.........
------------
การสมัครงานของคนญี่ปุ่น (พาร์ท 2) นั่นเอง
//แรงจูงใจคือผมแค่อยากรู้เฉย ๆ (ฮา)
และก็เผื่อว่าจะมีท่านไหนอยากรู้เหมือมที่ผมอยากเลยว่าจะนำมาเล่าต่อสู่กันฟังครับ
เอาล่ะครับ เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
ในวันนี้ผมจะเจาะประเด็นไปที่ระบบการจ้างงานของประเทศญี่ปุ่นครับ
อันนี้ต้องขอท้าวความตั้งแต่ชีวิตมหาลัยของคนญี่ปุ่นกันก่อนครับ
โดยพื้นฐานแล้วคนญี่ปุ่นจะเริ่มฝึกงานกันตอนปี 3 เหมือนมหาวิทยาลัยในประเทศไทยหลาย ๆ แห่งครับ
พอช่วงปลายปี 2 ทุกคนก็จะเริ่มหาที่ฝึกงานเป็นของตัวเอง พอขึ้นปี 3 ก็ฝึกงานเก็บเกี่ยวประสบการณ์กันครับ แล้วปี4 (ประมาณช่วงเดือนมิถุนายน) ทุกคนก็จะเริ่มสมัครงานกันแล้วทีนี้ก็จะได้ทำสัญญาเริ่มงานกันช่วงเดือนเมษายน
*อันนี้เกร็ดความรู้เล็กน้อยนะครับ ปกติแล้วบริษัทต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นจะรับพนักงานใหม่เข้ามาทำงานในเดือนเมษายนเท่านั้นไม่เหมือนกับของประเทศเราที่จะรับพนักงานใหม่เมื่อบริษัทเปิดรับ
------------------
ฟังดูเป็นระบบที่ดูรัดกุมดีไหมครับ
ตอนแรกผมก็คิดว่า เออทุกอย่างมันดูมีระเบียบดีนะ คงไม่มีปัญหาอะไร
แต่พอผมได้ลองค้นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนี้ พบว่ามีปัญหากองเป็นภูเขาเลย
อันดับแรก คุณต้องเริ่มหาที่ฝึกงานกันตั้งแต่ช่วงปี 2
โห ตอนผมอยู่ปี 2 ผมยังไม่ค่อยประสีประสาอะไรเท่าไรเลย
อยู่วัยที่กำลังปรับตัวเข้ากับสังคมผู้ใหญ่ เริ่มใช้ชีวิตคนเดียว นี่ผมต้องเริ่มหาที่ฝึกงานแล้วเหรอ
เนี่ย
อันนี้ยังไม่เท่าไรครับ
ปัญหาที่ 2 ก็คือ ตอนช่วงปี 4 คุณอาจจะต้องไปสัมภาษณ์งาน ไปติดต่อบริษัทหลาย ๆ แห่ง แล้วคุณต้องหยุดเรียน
แน่นอนครับว่าหยุดเรียนในช่วงปี 4 มันอาจจะฟังดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ
แต่อย่าลืมครับว่าการเรียนมหาวิทยาลัยจะมีสิ่งที่เรียกว่า 卒論 อยู่นะ !!
นั่นแหละครับปัญหา
(ถ้าเป็นในไทย บางที่จะไม่ต้องทำ ไม่ก็บางที่จะทำเป็นหน่วยกิตมากน้อยเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับที่)
คือ 卒論 ที่ญี่ปุ่นเนี่ยค่อนข้างจะทำกันแบบจริงจังมากเลยนะครับ มีการวางแผนหัวข้อกันอย่างดีแถมต้องนัดคุยกับอาจารย์อยู่เรื่อย ๆ ด้วย (โดยมากจะเป็นการนำเสนอความคืบหน้า อาทิตย์ไหนไม่คืบหน้าก็จะเขิน ๆ หน่อย //ฮา)
ซึ่งการที่ต้องนัดคุยกับอาจารย์ตรงนี้แหละครับที่สำคัญมาก ถ้าคุณไม่ได้คุยกับอาจารย์วันนั้นบางทีงานอาจจะไม่คืบหน้า จะขอเลื่อนเวลานัดก็ไม่รู้ว่าจะทำได้ไหมเพราะอาจารย์ก็คือมนุษย์คนหนึ่งในวัยทำงาน บางทีเขาอาจจะไม่ได้มีเวลาขนาดนั้นก็ได้ และในกรณีเลวร้ายที่สุดนั่นก็คือส่ง 卒論 ไม่ทัน
เพราะฉะนั้นมันเลยมีไอเดียนึงผุดขึ้นมา
นั่นก็คือ ทำไมเราไม่เริ่มฝึกงานกันตอนปี 2 ล่ะ? เราจะได้สัมภาษณ์งานตอนปี 3
พอขึ้นปี 4 ก็ทำ 卒論 ยาว ๆ ไปเลย
ไอ้ไอเดียนี้เนี่ย ตอนแรก ๆ ก็ไม่ค่อยมีใครทำหรอกครับ แต่ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น ดูเหมือนว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้จะมีคนที่ใช้ไอเดียนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ครับ
อาจจะเป็นเพราะเขามองว่าถึงจะหาที่ฝึกงานพลาดตอนปี 2 ตอนขึ้นปี 3 ก็ยังมีโอกาสอยู่ อะไรประมาณนี้รึเปล่านะ (?) เพราะถ้าจะหาบริษัทที่เขาจะทำสัญญาจ้างงานหลังเรียนจบ การหาที่ฝึกงานไว้แต่เนิ่น ๆ ย่อมส่งผลดีกว่าอยู่แล้ว
แน่นอนครับ พอเริ่มมีคนใช้ไอเดียนี้มันก็เริ่มส่งอิทธิต่อคนรอบข้าง
สำหรับบางคน เขารับอิทธิพลของแนวคิดนี้จนเริ่มกดดันตัวเองเกินควร
(ให้นึกภาพว่ามีคนในห้องตัวเองมีสัญญาจ้างงานแล้วในขณะที่ตัวเองยังไม่มีแพลนในอนาคตที่ชัดเจน)
คงจะกดดันน่าดูเลยนะครับ
พอเริ่มมีแรงกดดันแบบนั้นเกิดขึ้นในสังคม ทุกคนก็เลยทยอยทำตาม ๆ กันเสมือนว่าเป็นกระแสสังคมไปแล้ว
ทำให้เกิดปัญหาอีกว่าเด็กมหาลัยปี 1 ปี 2 รับแรงกดดันหาที่ฝึกงานมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา
(แหงแหละ ปี 1 ปี 2 คือเพิ่งเรียนจบม.ปลายมาเองนะ!)
—------------------------------------------
อ้าวแล้วพี่ท้าวความมายาวขนาดนี้มันเกี่ยวอะไรกับการสมัครงานของคนญี่ปุ่นละครับ?
—-----------------------------------------
แฮ่ เรื่องนั้นขออนุญาตอุบไว้ก่อนนะ (ฮา)
คือผมเนี่ย ตั้งใจไว้ว่าในทุกบทความที่เขียนมา ผมจะไม่เขียนให้ยาวจนทุกคนเบื่อ
เพราะฉะนั้นแล้วผมเลยว่าจะพักครั้งแรกไว้ ณ ที่นี้ครับ
อนึ่ง บทความครึ่งหลังผมตั้งเป้าไว้ว่าจะเขียนให้เสร็จภายในอาทิตย์หน้าครับ ไม่ต้องกังวลไป
ระหว่างที่ทุกคนกำลังรอ (หรือไม่รอนะ 55) ลองคิดดูเล่น ๆ ก็ได้ครับว่าทำไมผมถึงพูดเรื่องการฝึกงาน หรือการหาสัญญาจ้างงานตั้งแต่ช่วงมหาลัยกันนะ ใบ้ให้ว่าคราวหน้าจะพูดเกี่ยวกับปัญหาของระบบการจ้างงานของประเทศญี่ปุ่นครับ
ถ้าอย่างนั้นแล้ว
ไว้พบกันใหม่นะครับ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in